เมื่อวันนี้ 19 พ.ย. ที่โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนดำ แกรนด์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผอ.กองงานคณะกรรมการควบคุบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร่วมกับ พญ.ภาวิณี วงค์ประสิทสิทธิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.บุรีรัมย์ ร่วมแถลงข่าวกรณีพบผู้ผู้ป่วยปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่เข้ารับการรักษาที่ รพ.บุรีรัมย์

พญ.ภาวิณี กล่าวว่า ผู้ป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาของหลายประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้น่าจะน่าจะมีหลายเคส เพียงแต่การวินิจฉัยค่อนข้างซับซ้อน สำหรับผู้ป่วยผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า (EVALI) ที่เข้ารักษาที่ รพ.บุรีรัมย์ นั้นเป็นชาย อายุ 23 ปี เข้ารับการรักษาที่ รพ.บุรีรัมย์ ด้วยอาการหอบเหนื่อย เหงื่อเยอะ และไอเป็นเลือด ซึ่งแพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นขีดอันตราย จากการซักประวัติพบว่า ผู้ป่วยมีประวัติสูบบุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับบุหรี่มวน และมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยละเอียดพบว่า ปอดมีฝ้าขาว ขณะที่อาการผู้ป่วยล่าสุดอาการโดยรวมดีขึ้น ไม่รุนแรง ไม่มีอาการแทรกซ้อน รวมถึงไม่พบการติดเชื้อก่อโรคใดๆ ทั้งไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย แต่สังเกตพบว่าผู้ป่วยมีลักษณะคล้ายอาการลงแดงจากการขาดนิโคติน ทั้งนี้ รพ. ได้ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบสวนโรคตามแนวทางต่อไป

นพ.ชยนันท์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคมีการเฝ้าระวังและภัยสุขภาพ สำหรับโรค  EVALI มีการรายงานตั้งแต่ปี 2562 ที่สหรัฐอเมริกา พบมีคนป่วยด้วยโรคนี้ถึง 2 พันกว่าคน โดยเฉพาะน่าสนใจอย่างยิ่ง จะเป็นเคสสอดคล้องกับบุรีรัมย์พบ คือเป็นเด็กอายุ 20 ปีขึ้นไป ในตอนนั้นมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ประมาณ 60 กว่าราย มีการสรุปสาเหตุว่า ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากน้ำมันกัญชา แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งประมาณ 20% ที่ไม่มีน้ำมันกัญชาในส่วนผสม แต่ว่าเกิดปอดอักเสบรุนแรงเช่นกัน เพราะฉะนั้นตอนนี้ สาเหตุของโรค EVALI ยังไม่สรุปชัดเจน แต่เราสรุปชัดเจนว่าเป็นจากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเคสนี้ถือเป็นรายแรกของบุรีรัมย์

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคมอบหมายให้กองระบาดวิทยา จัดทำระบบการเฝ้าระวังสอบสวนโรค และรายงานผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์พบผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า กำหนดให้สถานพยาบาลต้องซักประวัติการสูบบุหรี่ รวมถึงการสูบบุหรี่ และหากผู้ป่วยเข้าข่ายเป็นผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า ต้องรายงานในระบบและแจ้งสำนักงานจังหวัดในพื้นที่ เพื่อดำเนินการสอบสวนโรค และแจ้งต่อไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรค หรือสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองโดยทันที

บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งผิดกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยาของบุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารพิษมากมาย เช่น นิโคติน สารโลหะหนัก รวมถึงสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในการปรุงแต่งในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเสพติดได้ง่าย แต่เลิกสูบยากมากขึ้น กรมควบคุมโรคจึงขอนักสูบให้เลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การสูบอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรงและเฉียบพลันได้ เช่น ภาวะปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

“ตอนนี้ เราพยายามจะย้ำกับโรงพยาบาลทุกแห่ง เพราะตอนนี้ยังมีปัญหาเรื่องของโรงพยาบาล จำเป็นต้องซักประวัติเรื่องการสูบบุหรี่ไฟฟ้า อย่างเคสนี้เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะถ้าเกิดคนไข้ใส่ท่อช่วยหายใจแล้วพูดไม่ได้ บางอาจจะไม่ได้ข้อมูลในส่วนนี้ไป ฉะนั้นจากอุบัติการณ์ในการที่เห็นเด็กและเยาวชนในการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ขนาดนี้ คาดว่าจะมีเคสที่รายงานมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าระวัง ถ้าหากมีสถานการณ์ใด จะแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบต่อไป” นพ.ชยนันท์ กล่าว