การเปลี่ยนแปลงลำดับการกินในแต่ละมื้ออาหารเพียงเล็กน้อย สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสุขภาพของชายที่เป็นโรคเบาหวานได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ฮองไท่ซง นักโภชนาการชาวไต้หวัน เล่าว่าเพื่อนของเขาประสบความสำเร็จในการลดปริมาณฮีโมโกลบินไกลโคซิเลต (HbA1c) จาก 9% เหลือ 5.7% โดยเปลี่ยนลำดับการรับประทานอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม

นั่นคือ ให้กิน “โปรตีน” เป็นอย่างแรก แล้วค่อยกินอย่างอื่น

ทำไม “กินโปรตีนก่อน” จึงช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้?

โปรตีนและไขมันถูกย่อยช้ากว่าคาร์โบไฮเดรต เมื่อคุณกินโปรตีนเป็นอันดับแรก จะช่วยชะลอการขับถ่ายของกระเพาะ และลดความเสี่ยงที่กลูโคสจะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว เมื่อความผันผวนของน้ำตาลในเลือดลดลง ก็สามารถลดภาระการหลั่งอินซูลินได้เช่นกัน นอกจากนี้ อาหารที่มีโปรตีนสูงในระดับปานกลาง สามารถปรับปรุงความไวของอินซูลิน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งยังช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป

ฮองไท่ซง แนะนำว่าทุกมื้ออาหาร ให้เรากิน “โปรตีน” ก่อน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ เต้าหู้ และถั่ว ฯลฯ จากนั้นจึงกิน “ผักใบเขียว บรอกโคลี มะเขือยาว และอาหารอื่นๆ ที่มีเส้นใยสูง” สุดท้ายคือ “คาร์โบไฮเดรต” เช่น ข้าวกล้อง มันเทศ ควินัว และเมล็ดธัญพืชดัชนีน้ำตาลต่ำอื่นๆ เขาเสริมว่าโปรตีนควรคิดเป็น 25-30 เปอร์เซ็นต์ของอาหาร ผัก 50 เปอร์เซ็นต์ และควรควบคุมคาร์โบไฮเดรตที่ 20-25 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมากเกินไป หรืออดอาหารเป็นเวลานาน

เชื่อว่าสาเหตุที่ลำดับการกินแบบนี้ ดีต่อคนเป็นเบาหวาน อาจเป็นเพราะโปรตีนสามารถเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และไขมันถูกย่อยได้ช้ากว่าคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถลดความเร็วของกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ลดภาระอินซูลิน และทำให้น้ำตาลในเลือดมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังมื้ออาหาร

ฮองไท่ซง เชื่อว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากในการควบคุมโรคเบาหวานในบางกรณี แต่ควรสังเกตผลกระทบที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพอื่นๆ

แม้ว่ากลยุทธ์นี้จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มาก แต่ ฮองไท่ซง เชื่อว่าอาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกับปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่น การลดน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์และแป้ง เพิ่มเวลาออกกำลังกาย และรักษารูปแบบการใช้ชีวิตในระดับปานกลาง

เขายังเน้นย้ำด้วยว่า ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจะสามารถบรรลุผลลัพธ์แบบนี้ได้ เพียงแค่ “กินโปรตีนก่อน” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำงานของตับอ่อน และสถานะการเผาผลาญของแต่ละคน ขณะเดียวกัน การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไปอาจทำให้ภาระต่อไตเพิ่มขึ้นได้

เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ เขาแนะนำให้ออกกำลังกายช่วยด้วย

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ และนิสัยการใช้ชีวิตที่ดี หากผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องการลองทำดู ควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับประทานอาหารจะมีความสมดุล และเหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล.

ที่มาและภาพ: ETToday, Soha