กลายเป็นประเด็น “สั่นสะเทือน” ปานแผ่นดินไหวระดับ 7 ในโลกเทคโนโลยี เลยทีเดียว กับการมาของ “ดีปซีค” ( Deepseek ) ซึ่งเป็นสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จากเมืองหางโจว ทางตะวันออกของจีน ที่ขึ้นมาทาบรัศมีของ บริษัทเทคระดับโลกที่ทุ่มเทวิจัยและลงทุนเทคโนโลยีนี้มาก่อนหน้า ด้วยระยะเวลาและเงินทุนมหาศาล
แต่ Deepseek กับใช้เวลาพัฒนาไม่นาน ใช้งบประมาณเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 189 ล้านบาท ในการพัฒนาโมเดล และตอนนี้กลายเป็นแอปพลิเคชันดาวน์โหลดฟรีที่มีเรตติงสูงสุด บนแอปพลิเคชันสโตร์ของแอปเปิล
ไม่เพียงเท่านี้ ยังเมี แรงกระเพื่อม ส่งผลให้ หุ้นของบริษัทบิ๊กเทต ต่างร่วงกันระนาว โดยเฉพาะยิ่ง ของ บริษัท เอ็นวิเดีย ผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี AI ลดลง 17% ในช่วงหนึ่งของการซื้อขายที่วอลล์สตรีท และส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของบริษัทลดลงเกือบ 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 20.33 ล้านล้านบาท

การมาของ Deepseek จึงมีคำถามว่า การลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลก อย่าง กูเกิล ไมโครซอฟท์ และเมตา ในเรื่อง AI มันกลานเรือ่งสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นหรือไม่” ในเมื่อ Deepseek ไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเท่ากัน แต่ ประสิทธิภาพกลับสู้ได้อย่างสูสี
และเมื่อมองถึง การประกาศลงทุนของยักษ์เทค ต่างก็เตรียมทุ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนา AI จำนวนมหาศาล อย่าง ไมโครซอฟท์ประกาศ เตรียมทุ่มงบประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.71 ล้านล้านบาท ในปีนี้ ส่วนเมตา วางงบประมาณพัฒนาเอไอระหว่าง 60,000-65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.03-2.20 ล้านล้านบาท ในปีนี้เช่นกัน
วันนี้ เดลินิวส์ จะพาไปดูมุมมอง ของผู้อยู่ในวงการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อย่าง “ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์”ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ว่ามีความคิดเห็นอน่างไรในเรื่องนี้
ความต่าง DeepSeek กับ Chat GPT
โดย “ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์” บอกว่า DeepSeek เป็น AI ที่ใช้ข้อมูลเฉพาะทาง ซึ่งเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ไม่เหมือนกับ ChatGPT เป็นภาษาโมเดลข้อมูลที่เป็น OpenAI ที่เรียนรู้จากข้อมูล โลกออนไลน์ และโซเซียล เมื่อถาม คำตอบได้แบบกว้าง ๆ มีความฉลาด แต่เป็นแนว Generic AI ซึ่งตอบแบบกว้างและทั่วไป ส่วน DeepSeek AI จะเป็นโมเดล AI ที่โฟกัสไปที่ข้อมูลเชิงลึกและมีความซับซ้อนของอัลกอริธึม
ตัวอย่างเช่น ถ้าพูดเกี่ยวกับข้อมูลทางการแพทย์ ก็จะให้คำตอบที่มีความแม่นยำสูงกว่า ซึ่งต่างจาก ChatGPT ที่อาจจะให้คำตอบกว้าง ๆ
ทางจีนต้องการเอาชนะฝั่งอเมริกาโดยสร้าง AI ที่แม่นยำและเฉพาะทาง เช่น ระบบ AI ที่เน้นไปในเรื่องของ Sector-Based AI เช่น ด้านการแพทย์ การเงิน หรืออุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แต่ในขณะเดียวกัน DeepSeek อาจจะไม่ตอบทุกคำถามที่เราถาม ต่างจาก ChatGPT ที่ให้คำตอบกว้างและมีข้อมูลมากกว่า เนื่องจากฐานข้อมูลของ ChatGPT ครอบคลุมทั่วโลก ส่วน DeepSeek เป็น AI ที่มุ่งเน้นข้อมูลเฉพาะเจาะจงมากกว่า

อย่างไรก็ตามการเปิดตัว DeepSeek ส่งผลกระทบต่อ หุ้นเทคโนโลยีของอเมริกาอย่างเห็นได้ชัด เพราะต้นทุนการพัฒนาของจีนต่ำกว่าฝั่งอเมริกามาก โดยใช้เงินลงทุนเพียง 5 ล้านดอลลาร์ ก็สามารถพัฒนา AI ที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน ประเด็นนี้ ขึงมองว่า มองว่าต่อไป การลงทุนของฝั่งอเมริกา อย่าง Microsoft และ NVIDIA อาจต้องลดการลงทุนในอนาคต เพราะจีนสามารถทำ AI ที่ใช้เงินน้อยกว่า แต่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน
AI โลกตะวันตก vs ตะวันออก
ChatGPT เป็นโมเดลที่เรียนรู้จากข้อมูลทั่วโลก โดยเฉพาะจากแหล่งข้อมูลโซเชียล ส่วน DeepSeek เน้นไปที่ข้อมูลเจาะจงและเฉพาะกลุ่ม จึงมองว่าต่อไป การแข่งขันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี AI อาจเป็นเรื่องของ Sectoral AI มากขึ้น คือ AI ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์ในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น AI สำหรับการแพทย์ การเงิน หรือภาครัฐ เช่น หากต้องการใช้ AI ที่เจาะจงในเรื่องการแพทย์ ก็ใช้ DeepSeek ส่วน ChatGPT จะยังคงเป็นโมเดลที่ใช้ตอบคำถามทั่วไป เช่น ใช้ในแชทบอท หรือใช้ในงานด้านกว้าง ๆ
“ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์” บอกว่า ด้วยการลงทุนจำนวนมหาศาล ของฝั่งตะวันตก เชื่อว่า จะทำทุกทาง เพื่อให้แข่งขันกับ AI ฝั่งจีนให้ได้ DeepSeek เก่งด้านไหน ทาง ChatGPT ก็จะมีการพัฒนา AI ที่ฉลาดมีข้อมูลเชิงลึกเฉพาะด้านมาแข่งได้อย่างแน่นอน
TECH WAR ระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา
ส่วนกรณีล่าสุดที่ทาง โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาเตือนว่า สหรัฐฯ อาจตรวจสอบและแบน DeepSeek เหมือนเช่นกรณี Huawei และ TikTok จนกลายเป็น TECH WAR ระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา เข้มข้นขึ้นหรือไม่นั้น?
“ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์” มองว่า ไทยควรอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วมหาอำนาจ โดยเราสามารถใช้ ChatGPT จากฝั่งตะวันตก และใช้ DeepSeek จากฝั่งตะวันออก ได้ โดย AI ทั้งสองตัวมีเป้าหมายต่างกัน ChatGPT เหมาะสำหรับข้อมูลทั่วไป ขณะที่ DeepSeek เหมาะกับข้อมูลเฉพาะทาง ในอนาคต AI ของจีนอาจพัฒนาไปไกลขึ้น ขณะที่ฝั่งตะวันตกก็ไม่ยอมหยุดนิ่งจะต้องพัฒนา AI แข่งขันกันต่อไป

องค์กรในไทยไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือเอกชน สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์กับ ทั้งสอง เอไอได้ เช่น ใช้ DeepSeek เพื่อตอบโจทย์ในเชิงของ Sector ได้ เช่นบริการสาธารณสุข หรือแม้แต่เรื่องของ บริการทางการเงิน หรือบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล เป็นต้น ส่วน ChatGPT นำมามาใช้ได้ประโยชน์ เช่น พวกแชทบอท พูดคุยเรื่องทั่วไป ใช้หาข้อมูล ช่วยวิเคราะห์เพื่อการศึกษา หรือ การทำงาน เป็นต้น
ไทยมีโอกาสพัฒนา AI แข่ง หรือไม่?
“ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์” มองว่า การพัฒนา AI ต้องใช้ทุนสูง และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งประเทศไทยอาจไม่มีงบลงทุนสูง และยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ นอกจากนี้ต้องยอมรับว่า ประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศผลิตและพัฒนา และเป็นประเทศผู้ใช้และนำเข้า การพัฒนาเองอาจจะเป็นเรื่องที่ช้าไป เราไม่ควรเสียเงินจำนวนมากไปกับการพัฒนา AI ตั้งแต่ต้น แต่เราควรนำ AI ที่มีอยู่มาใช้และพัฒนาให้เหมาะกับประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า
สุดท้ายแล้ว คงต้องติดตามกันต่อไปว่า การมาของ DeepSeek ได้สร้างความสั่นสะเทือนไปทั้งวงการเทค แล้วก้าวต่อไปของ DeepSeek จะมีอะไรให้ว้าว! กันอีกหรือไม่ และ AI จากฝั่งตะวันตกจะมีอะไรออกมารับมือในสมรภูมิเทคโนโลยี AI ที่กำลังร้อนระอุอยู่ขณะนี้!?!
จิราวัฒน์ จารุพันธ์