สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ว่า การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร (ยูเอ็นโอซี) ครั้งที่ 3 ซึ่งเริ่มต้นในวันจันทร์ (9 มิ.ย.) มีเป้าหมายที่จะพลิกวิกฤติการณ์ของท้องทะเล หลังนานาประเทศเผชิญกับความขัดแย้งในการทำเหมืองใต้ทะเล ขยะพลาสติก และการประมงเกินขนาด ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
การประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้นำประเทศราว 60 คน เข้าร่วมการประชุมที่เมืองนีซ รวมถึงประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิล และประธานาธิบดีฆาบิเอร์ มิเล ผู้นำอาร์เจนตินา
ฝรั่งเศสกระจายกำลังตำรวจ 5,000 นาย ประจำการทั่วทั้งเมืองนีซ เพื่อรักษาความปลอดภัยระดับสูงสุด ตลอดการประชุมทั้ง 5 วัน ซึ่งคาดว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์ ผู้นำธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้เข้าร่วมจากประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
???? #UNOC3 is the 3rd United Nations Ocean Conference and will be held in Nice from 9 to 13 June. It is a key moment to advance the protection of oceans and rally all actors and to promote France’s priorities for their future … Here’s how⤵️
— France Diplomacy ???????????????? (@francediplo_EN) June 8, 2025
ขณะที่รัฐบาลสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งผลักดันการขุดแร่ใต้ท้องทะเลในน่านน้ำสากล อาจไม่ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วม
For #UNOC3, France is bringing its commitment to the Ocean to life.
— France Diplomacy ???????????????? (@francediplo_EN) June 4, 2025
Come experience its beauty and understand the importance of protecting it.
????Palais des Expositions de Nice — Free admission with reservation from June 2 to 13
???? https://t.co/w7TQOLLyTz#WeAreTheOcean pic.twitter.com/K1g4UOElfw
ด้านสหราชอาณาจักรประกาศว่า พวกเขามุ่งมั่นที่จะผลักดันการห้ามประมงอวนลาก ขณะที่มาครงกล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ว่าฝรั่งเศสจะจำกัดการลากอวนในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลบางแห่ง แต่ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ไม่ดำเนินการมากพอ”
นอกจากนั้น ประเทศต่าง ๆ ถูกเรียกร้องให้ระดมเงินที่ยังขาดหายไป เพื่อปกป้องมหาสมุทร 30% ของโลกภายในปี 2573 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกือบ 200 ประเทศตกลงกัน เมื่อปี 2565 แต่จนถึงขณะนี้ มีเพียงประมาณ 8% ของมหาสมุทร ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเล และจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริงมีน้อยกว่านั้นมาก.
เครดิตภาพ : AFP