เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า รองอธิบดีกรมการแพทย์ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องการจัดสรรเตียง จึงต้องขอเน้นย้ำกับประชาชนว่าศักยภาพเตียงมีจำกัดเตียงที่อาจจะพอมีในตอนนี้ กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพฯ และถูกพื้นอยู่ที่พยายามเพิ่มศักยภาพเปิดเตียงและโรงพยาบาลสนาม แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่าการตอบโจทย์คือการแยกกับตัวที่บ้าน (home isolation) หรือการแยกกักในชุมชน (Community Isolation) โดยในกรุงเทพฯ จะต้องมีการจัดตั้งเขตละ 1 แห่ง หรือ 2 แห่ง กทม.มี 50 เขต แต่ละศูนย์รับได้ 100 เตียง ทำให้มีเตียงรองรับประชาชนผู้ติดเชื้อได้ถึง 5,000 เตียง ถ้าบางเขตจัดตั้งได้เขตละ 2 ศูนย์ รองรับได้ 10,000 เตียง หรือบางเขตที่ได้ทำไปแล้ว 200 เตียง จะรองรับได้ 20,000 เตียง ทั้งนี้ การแยกกากในชุมชนต้องเน้นย้ำว่าประชาชนที่ติดเชื้อที่มีอาการในระดับเขียว ผู้ป่วยเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์อยู่ในสีเขียว ซึ่งการแยกกักตัวที่บ้านจะตอบโจทย์ประชาชนในช่วงนี้ และกรุงเทพฯ จัดตั้งศูนย์พักคอย เพื่อการส่งต่อแล้ว 49 แห่งในพื้นที่ 47 เขต เปิดดำเนินการเรียบร้อยรับผู้ป่วยแล้ว 19 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้ 5,365 เตียง ตั้งเป้า 1 เขต 1 ศูนย์พักคอย 

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ในที่ประชุม กรมควบคุมโรค ได้เพิ่มกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกด้วย เป็นการเพิ่มกลุ่มเสี่ยงต่อจากผู้สูงอายุ และกลุ่ม 7 โรคเรื้อรังด้วย ส่วนหญิงที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนแต่ไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ ขอให้ตรวจครรภ์ก่อน ส่วนกลุ่มต่อไปหลังจากนี้จะได้รับวัคซีนคือกลุ่มชาวต่างชาติ ที่ทำงานอยู่ในบริษัทกับคนไทย เป็นคู่สมรสของคนไทย และมีที่พักอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งจะมีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มนักเรียนไทยที่จะต้องเดินทางกลับไปเรียนต่อในต่างประเทศด้วย.