เมื่อวันที่ 9 เม.ย. นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า ทางกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เรียกผู้สอบบัญชีเอกชนซึ่งทำหน้าที่ตรวจบัญชีของสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำกัด มาชี้แจงเพิ่มเติม หลังจากตรวจข้อสังเกต 3 ประเด็น คือ 1) ไม่พบหลักฐานการยืนยันยอด 2) ไม่มีรายงานที่เกี่ยวกับการประเมินผลการควบคุมภายในของสหกรณ์ และ 3) ไม่พบหลักฐานการประเมินความเสี่ยงในขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชี ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่าผู้สอบบัญชีเอกชนรายนี้บกพร่อง ซึ่งขั้นตอนต่อไปหากพบว่าผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด หน่วยงานที่รับผิดชอบจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาบทลงโทษ โดยไม่ละเว้น

โกงสหกรณ์ออมทรัพย์ ก.เกษตรฯ เสียหายพุ่ง 491 ล้าน! ชงนายกฯเซ็นคดีพิเศษ

ทั้งนี้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีสำหรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายสหกรณ์ โดยแบ่งผู้สอบบัญชีเป็น 2 ประเภท คือ ผู้สอบบัญชีภาครัฐ และผู้สอบบัญชีภาคเอกชน โดยสหกรณ์ที่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีภาคเอกชนได้ต้องเป็นสหกรณ์นอกภาคเกษตรที่มีทุนของสหกรณ์ 35 ล้านบาทขึ้นไปและชั้นคุณภาพการควบคุมภายในอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป โดยปัจจุบันมีผู้สอบบัญชีภาคเอกชนขึ้นทะเบียนไว้กับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำนวน 274 ราย แยกเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) 251 รายและบุคคลอื่น 23 ราย

ตั้งทีมไล่ล่า2หัวโจกโกงเงินสหกรณ์ก.เกษตรฯ แสบเปลี่ยนชื่อก่อนหนีเข้ากลีบเมฆ

อย่างไรก็ตามผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ และเสนอรายชื่อผู้สอบบัญชีภาคเอกชนมาให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์แต่งตั้ง โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำกับให้ผู้สอบบัญชีภาคเอกชนสามารถรับงานสอบบัญชีได้ไม่เกิน 6 สหกรณ์ต่อรอบปีบัญชี เพื่อให้มีเวลาในการปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้สอบบัญชีคนเดิมติดต่อกันเกิน 3 ปีบัญชี เพื่อไม่ให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกับสหกรณ์

โดยผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด หากพบว่าผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาเสนอคณะกรรมการจรรยาบรรณ ลงโทษตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ.2559 โดยมีบทลงโทษ 4 ระดับ ได้แก่
1) ตักเตือนเป็นหนังสือ
2) ภาคทัณฑ์
3) ไม่แต่งตั้งเป็นผู้สอบ มีกำหนดไม่เกิน 5 ปี
4) ถอนชื่อออกจากทะเบียนผู้สอบบัญชี
ที่ผ่านมากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้มีการพิจารณาลงโทษผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีหลายราย

ส่วนการตรวจสอบความเสียหายของสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรฯ จากการที่ผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายการเงินยักยอกทรัพย์ล่าสุดรวม 491 ล้านบาท สมาชิกที่เสียหาย 85 ราย โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ให้สหกรณ์ส่งหนังสือยืนยันยอดเพิ่มเติมไปยังสมาชิก พร้อมตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวบัญชีเงินรับฝากทุกรายการที่ยังไม่ได้ตอบยืนยันยอด เพื่อตรวจสอบให้ทราบความเสียหายที่แท้จริงทั้งหมดภายในวันที่ 18 เมษายน 2565 นี้