“บอสเก วิเอโจ” ฟาร์มขนาดเล็กของเขา ปลูกองุ่นมัสแคท และองุ่นสายพันธุ์เฉพาะ “ครีโอลโล” ปะปนท่ามกลางเงาของต้นมะตูม, ต้นแพร์ และต้นมะเดื่อฝรั่ง ซึ่งดูแลโดยใช้น้ำจากธารหิมะที่ละลายของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งฟาร์มของเขาทำให้ชิลีอยู่ใน 10 อันดับผู้ส่งออกไวน์ของโลก

อย่างไรก็ตาม การปลูกองุ่นในทะเลทรายไม่ใช่เรื่องง่าย เอสปินโดลาต้องต่อสู้กับความผันผวนของอุณหภูมิที่สุดขั้ว ทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน อีกทั้งต้องรับมือกับลม น้ำค้างแข็ง และรังสีดวงอาทิตยืที่รุนแรง

Reuters

“คุณต้องตั้งใจทุ่มเท ฉันรดน้ำที่นี่ในตอนกลางคืน… ตอน 03:00 น. และตอน 23:00 น.” เขาพูดโดยที่ลูบเถาองุ่นที่แห้งและมีสีน้ำตาล หลังจากการเก็บเกี่ยวผ่านมาแล้ว 2 เดือน

“คุณต้องระมัดระวังและรอบคอบ เพราะความร้อนและสภาพภูมิอากาศของที่นี่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น” เขากล่าว “บางครั้งก็มีลมแรง และทำให้สูญเสียผลผลิต บางครั้งน้ำค้างแข็งก็มาก่อนเวลา มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก”

เอสปินโดลาส่งพืชผลของเขาให้กับสหกรณ์เอลลู ซึ่งรับองุ่นจากสวนองุ่น 18 แห่งรอบโตโกเนา มาตั้งแต่ปี 2560 โดยการเก็บเกี่ยวดีขึ้นในปี 2565 ด้วยองุ่นมากกว่า 20 ตัน เพียงพอสำหรับการทำไวน์ 15,000 ขวด แม้ว่าจะลดลงประมาณ 1% จากการผลิตรายปีของชิลีก็ตาม

ผู้มีส่วนร่วมส่วนใหญ่ต่อสหกรณ์เป็นสมาชิกของชุมชนพื้นเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นผู้ผลิตรายย่อยและส่วนบุคคล หนึ่งในนั้นคือ นางเซซิเลีย ครูซ ที่ปลูกองุ่นสายพันธุ์ชีราส และปิโนต์ นัวร์ ที่ความสูงราว 3,600 เมตร นอกหมู่บ้านโซแคร์ ถือว่าเป็นสวนองุ่นที่อยู่สูงที่สุดของชิลี

“ฉันรู้สึกพิเศษ… ที่มีสวนองุ่นที่นี่ และผลิตไวน์ที่ความสูงนี้ได้” เธอกล่าวท่ามกลางเถาองุ่นที่ยังมีองุ่นแห้งและเหี่ยวอยู่เล็กน้อย

สำหรับนายฟาเบียน มูนอซ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตไวน์ของสหกรณ์เอลลู วัย 24 ปี ภารกิจของเขาคือการสร้างไวน์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีลักษณะเฉพาะของหินภูเขาไฟที่ใช้ปลูกองุ่น

“เมื่อผู้บริโภคชิมไวน์เอลลู พวกเขาจะคิดว่า ‘ว้าว! ฉันกำลังชิมทะเลทรายอาตากามา’ เขากล่าว

ด้านนางแคโรลินา วิเชนโซ ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีไวน์ กล่าวว่า ความสูง, ความกดอากาศต่ำ และความผันผวนทางอุณหภูมิที่รุนแรง ทำให้ได้องุ่นที่มีผิวหนาขึ้น

“สิ่งนี้สร้างโมเลกุลแทนนินในผิวขององุ่นมากกว่าเดิม ซึ่งให้ความขมบางอย่างในไวน์” เธอกล่าว “นอกจากนี้ ดินยังมีความเค็มที่สูงกว่า… ซึ่งสร้างสัมผัสของแร่ธาตุในปากได้” และทำให้ไวน์จากทะเลทรายอาตากามา มีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS