สาว ๆ สมัยนี้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เห็นได้จากเทรนด์การดูแลตัวเองที่มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันอาการเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ผู้หญิงยุคใหม่ไม่มองข้าม จึงตรวจเช็คโรคร้ายแรงของผู้หญิงเป็นประจำ โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม ที่หากลุกลามอาจทำให้ตัองตัดเต้านม เป็นหนึ่งในโรคที่ผู้หญิงกังวล และกระทบกับการใช้ชีวิตอย่างมั่นใจของสาว ๆ
บทความนี้จะพาสาวรักสุขภาพมาเรียนรู้วิธีสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านม และการรับมือกับมะเร็งเต้านมอย่างทันท่วงที
สถานการณ์มะเร็งเต้านมในปัจจุบัน
มะเร็งเต้านมอันตรายขนาดไหน
เมื่อพูดถึงมะเร็งเต้านม เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนต้องจัดอันดับโรคนี้เป็นนัมเบอร์วันของความกังวลใจด้านสุขภาพแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า จากสถิติพบว่า 80-90% ของอาการผิดปกติที่บริเวณเต้านมนั้น ไม่ใช่มะเร็งเต้านม เป็นเพียงก้อนเนื้อธรรมดาหรือถุงน้ำที่ไม่เป็นอันตราย ส่วนอีก 10-20% พบว่ามีความผิดปกติของก้อนเนื้อ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม หรือบางรายก็ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว
คุณอาจคิดว่า ถ้าอย่างนั้นมะเร็งเต้านมก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดละสิ แต่คำตอบคือไม่เลย เพราะในแต่ละปีมีผู้หญิงไทยป่วย เป็นมะเร็งเต้านมถึง 18,000 คน และเสียชีวิตถึง 4,800 คน หรือเท่ากับว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมต้องจากโลกนี้ไป ก่อนวัยอันควร (ข้อมูลจากกรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ)
อาการของมะเร็งเต้านม
ก่อนจะมาดูว่าอาการของมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง ต้องรู้ก่อนว่ามะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ซึ่งแบ่งตัวผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ กลายเป็นก้อนเนื้อร้ายแพร่กระจายผ่านระบบน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็จะแย่งอาหารจากเซลล์ปกติ และปล่อยสารพิษมาทำลายอวัยวะ ส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งการสังเกตอาการมะเร็งเต้านมอย่างง่ายก็คือการคลำ หรือการตรวจดูบริเวณเต้านม ถ้ามีอาการใดต่อไปนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม
- คลำพบก้อนแข็งที่เต้านมหรือรักแร้ แต่ไม่เจ็บ
- เต้านมมีขนาดหรือรูปร่างเปลี่ยนไป โดยข้างใดข้างหนึ่งจะมีขนาด ใหญ่ หรือ เล็กกว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด
- ผิวเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวหนังแข็งหรือหนาขึ้น มีก้อนนูนหรือขรุขระ สีผิวเปลี่ยน เกิดแผลเรื้อรัง หรือ รูขุมขนชัดขึ้นคล้ายผิวส้ม
- มีอาการเจ็บ หรือ ปวดเต้านม ข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาจจะปวดน้อยหรือมากก็ได้
- เต้านมบวมแดง หัวนมบุ๋มลงไปในเต้านม หรือ ผิดรูป ทั้งที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ได้ผ่าตัดมาก่อน
- มีน้ำใสๆ ไหลออกจากหัวนม
- หากสังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยลดการสูญเสียจากมะเร็งเต้านม
หากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ จำไว้เสมอว่า มะเร็ง ยิ่งเริ่มรักษาไว ยิ่งเพิ่มโอกาสหายไวเช่นกัน
อายุเท่าไหร่ควรตรวจมะเร็งเต้านม
ในกลุ่มสาว ๆ แถบเอเชีย แนะนำให้เริ่มตรวจมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการทำแมมโมแกรม ซึ่งเป็นวิธีการตรวจเพียงวิธีเดียวที่ได้มาตรฐาน เพิ่มเติมด้วยการทำอัลตราซาวด์เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น และควรตรวจเป็นประจำทุกปี
การรักษามะเร็งเต้านมมีกี่แบบ
การรักษามะเร็งให้ได้ผลนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องโฟกัสการรักษาที่เหมาะกับแต่ละคนตามระยะของโรค และลักษณะของเซลล์มะเร็ง โดยจะแบ่งตามแนวทางการควบคุมเซลล์มะเร็ง คือ
- การรักษามะเร็งเฉพาะที่ เน้นบริเวณเต้านมและต่อมน้ำเหลือง ใช้วิธีผ่าตัดและฉายแสง
- การรักษามะเร็งแบบทั่วร่างกาย นอกจากควบคุมมะเร็งที่เต้านมและต่อมน้ำเหลือง ยังสามารถรับมือกับเซลล์มะเร็งในบริเวณอื่นของร่างกายได้ด้วย การรักษาจะเน้นการใช้ยาเช่น ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาพุ่งเป้า เป็นต้น
โดยในขั้นตอนการรักษา แพทย์อาจใช้ทั้งการรักษาเฉพาะที่อย่างการผ่าตัดร่วมกับการกำจัดเซลล์มะเร็งที่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ เพื่อป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ข้อสำคัญก็คือความไวและความแม่นยำในการรักษา คุณผู้หญิงที่มีความเสี่ยงหรือความกังวลใจ แนะนำให้เริ่มจากการตรวจคัดกรองในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานการรักษาสูง เพราะจะตรวจพบโรคได้ไวและรักษาได้ทันที บางรายใช้เวลาไม่น่าก็ได้เริ่มผ่าตัดแล้ว ทำให้โอกาสหายขาดค่อนข้างสูง ถ้าอยากรู้ว่าเราแนะนำโรงพยาบาลไหน อ่านจนจบรับรองได้คำตอบ
การผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีกี่แบบ
การผ่าตัดถือเป็นวิธีหลักในการรักษามะเร็งเต้านม โดยแพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมจากตำแหน่ง ขนาด และจำนวนก้อนเนื้อที่พบ แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่าวิธีการไหนที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งวิธีการผ่าตัดเต้านมมี 3 วิธีคือ
1. ผ่าตัดแบบสงวนเต้านม จะเป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อร้ายออก ไม่ได้ตัดเต้านมออกทั้งหมด โดยยังคำนึงถึงความสวยงามของเต้านม เพื่อรักษาอวัยวะที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้หญิงไว้อย่างดีที่สุด
2. ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด เป็นการผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และกล้ามเนื้อที่หน้าอกออก
3. ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด พร้อมเสริมสร้างเต้านมใหม่ ทำได้ทุกรูปแบบของเต้านม โดยใช้เนื้อเยื่อหน้าท้อง เนื้อเยื่อด้านหลัง หรือการใช้ซิลิโคน สำหรับคนที่เคยผ่าตัดเต้านมออก 1 ข้าง แล้วอยากเสริมใหม่อีก 1 ข้าง ก็สามารถทำให้ทั้ง 2 ข้างเท่ากันได้
ปัจจุบันในโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์อันทันสมัย การผ่าตัดเต้านมจะใช้เวลาไม่นาน บางเคสก็กลับบ้านได้เลย แถมยังสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติด้วย
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
มะเร็งเต้านม ตรวจไว รักษาหาย ไม่ใช่เรื่องเกินจริง
ใครว่า มะเร็ง = ไม่รอด อันนี้ไม่จริงนะคะ โดยเฉพาะกับมะเร็งเต้านม อย่างที่เราย้ำมาตั้งแต่ต้นว่าหากตรวจพบได้ไว ไม่เพียงเพิ่มโอกาสหายขาด แต่ขั้นตอนการรักษาก็จะง่ายขึ้น เจ็บปวดน้อย เผลอ ๆ ก็เดินสับสับกลับบ้านได้เลย เคล็ดลับมีนิดเดียวคือต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี อย่าละเลย เพราะทุกคนล้วนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ทั้งนั้น
การเลือกโรงพยาบาลสำหรับเช็คมะเร็งเต้านมก็สำคัญ ลองคิดดูว่า ถ้าเกิดตรวจพบและต้องรักษาต่อก็ควรได้รักษาทันทีในศูนย์มะเร็งของโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษา เชื่อไหมว่า ถ้าเราเริ่มต้นตรวจคัดกรองมะเร็งในศูนย์ที่เรามั่นใจ ก็จะช่วยลดความกังวลในการมาตรวจประจำปี และลดความกลัวในการรักษาได้ด้วย
ศูนย์เต้านม รพ.บำรุงราษฎร์ ผู้นำด้านการรักษาและเชี่ยวชาญเรื่องมะเร็งเต้านมอย่างแท้จริง เพราะเราโดดเด่นกว่าที่อื่น
บอกต่อสิ่งดี ๆ สู่เพื่อนหญิง
จุดเริ่มต้นของการรักษาสำคัญที่สุดในการรักษามะเร็งเต้านม เราจึงอยากชี้เป้าให้คุณสาว ๆ รู้จักกับศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีประสบการณ์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งมากว่า 40 ปี ไม่ใช่แค่การรักษา แต่ครอบคลุมครบตั้งแต่การตรวจคัดกรอง ป้องกัน วินิจฉัย และความชำนาญในการรักษาโรงมะเร็งทุกระยะของโรค โดยแพทย์จะใช้แนวทางรักษาที่เรียกว่า Triple Assessment ประกอบด้วย การตรวจคัดกรอง ส่งชิ้นเนื้อไปตรวจ และการพบศัลยแพทย์เต้านม ทั้งหมดนี้สามารถทราบผลตรวจวินิจฉัย ได้ภายใน 72 ชั่วโมง และหลังจากทราบผลตรวจว่าเป็นมะเร็ง ก็สามารถทำการผ่าตัดได้ภายใน 1 สัปดาห์
ส่วนเพื่อนหญิงคนไหนที่พบความผิดปกติของเต้านม แต่ยังไม่ใช่มะเร็ง ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก็พร้อมดูแลทุกอาการ ไม่ว่าจะเป็น ก้อนที่เต้านม อาการเจ็บเต้านม พังผืดและถุงน้ำที่เต้านม ภาวะเต้านมอักเสบ และปัญหาอื่นๆ โดยยึด 3 หัวใจหลักของการรักษามะเร็งเต้านมคือ วินิจฉัยเร็ว (Fast Diagnosis), รักษาเร็ว (Fast Treatment) และผลลัพธ์การรักษาเป็นเลิศและมีความปลอดภัย (Excellent Outcome)
สนใจรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม รพ.บำรุงราษฎร์ โทร. 02 011 3680 หรือคลิกที่ลิงก์นี้เลยค่ะ https://www.bumrungrad.com/th/centers/breast-center-bangkok-thailand
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลแหล่งที่มาจากเว็บไซต์บำรุงราษฎร์