มีการชี้แนะ ’แนวทางป้องกัน-แก้ไข“

      ’ให้ความสัมพันธ์ราบรื่น“ ให้ไร้ปัญหา

และวันนี้ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลที่น่าสนใจ ข้อมูลคำแนะนำต่อสังคมไทยจาก รายการ Social So Chill ทอล์กประจำเดือน หัวข้อ “ความสัมพันธ์จากการแต่งงาน” ที่นำเสนอเผยแพร่ทาง เพจเฟซบุ๊ก Social Psychology CU โดยมี เบญญารัศม์ จันทร์เปล่ง นักจิตวิทยาคลินิก ดำเนินรายการ และมี ผศ.ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย กับ ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม นักวิชาการด้านจิตวิทยา คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้คำแนะนำไว้…

ทั้งนี้ ผศ.ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย สะท้อนไว้ในแง่ “จิตวิทยาพัฒนาการ” ว่า… คนเราเกิดมาก็ต้องมีความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะความสัมพันธ์รูปแบบพี่น้อง เพื่อน คนรัก คู่รัก ซึ่งการมีคู่ก็เป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติ… ในช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่งตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิตจะต้องผ่านลำดับของการมีพัฒนาการในรูปแบบต่าง ๆ กัน เกิดเป็นพัฒนาการในเรื่องความผูกพันพ่อแม่กับลูกผูกพันกัน เกิดการเลี้ยงดูรักใคร่อุ้มชู พอลูกเติบโตขึ้นก็ต้องผ่านการพัฒนาการเหมือนพ่อแม่ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีครอบครัว พอมีครอบครัวก็เกิดการเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ จะมีความท้าทายทางความสัมพันธ์มากขึ้น

Groom putting ring on bride's finger

เพราะ… เมื่อมีคนเพิ่มในครอบครัว ก็ทำให้ต้องเกิดการปรับตัว ในการที่จะมีความสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัวแต่เดิม มีความซับซ้อนในครอบครัวเกิดขึ้น พอลูกเริ่มมีคู่พ่อแม่ก็อาจเกิดความรู้สึกที่อยากให้ลูกได้คู่ดีที่สุด และอีกอย่างคืออาจจะกลัวว่าคนที่ลูกคบหาจะดีพอไหม จะดูแลลูกดีไหม แล้วพอลูกเริ่มมีความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกมากขึ้น มากกว่าคนในครอบครัว สิ่งที่เคยเป็นมาในครอบครัว ที่เหมือนอยู่ใน “รังที่อบอุ่น” ก็เริ่ม “เปลี่ยนไป” ลูกเริ่มห่างครอบครัวซึ่งทางจิตวิทยาพัฒนาการเรียกว่า…รังที่เคยอยู่ด้วยกันพ่อแม่ลูกเริ่ม “กลายเป็นรังที่ว่างเปล่า” เพราะลูกแยกตัวไปมีแฟน

และในช่วงที่ พ่อแม่เริ่มอายุมากขึ้น สภาพร่างกายเริ่มอ่อนแอลง ก็เริ่มคาดหวังพึ่งพาลูกมากยิ่งขึ้น อยากให้ลูกดูแลเอาใจใส่ยามที่แก่ตัว ทำให้คนในช่วงวัยนี้เริ่มมีความวิตกกังวล กลัวการต้องอยู่โดดเดี่ยว ก็อาจเป็นไปได้

ยิ่งในกลุ่มที่เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว พอสูญเสียคู่ชีวิตก็จะมาทุ่มเทใส่ใจกับลูก แน่นอน…โดยปกติธรรมชาติของมนุษย์เวลาทำอะไรก็มีความคาดหวังเป็นสิ่งธรรมดา พอลูกไปมีแฟน ไปมีความสัมพันธ์กับคู่รัก อาจทำให้เกิดความกลัว วิตก พอลูกไปมีความสัมพันธ์กับอีกคน ไปรักคนอีกคน ก็ทำให้รู้สึกว่าจะดีพอไหม ดีเท่าไหม หรือจะทิ้งหรือห่างหายจากตนเองไปหรือเปล่า พ่อแม่ก็จะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกหันมาสนใจตัวเองเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่าลูกยังรักเหมือนเดิม ก็อาจจะก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นได้“ …นี่เป็นใจความโดยสังเขปจากที่ ผศ.ดร.สุภลัคน์ ลวดลาย นักวิชาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ความเข้าใจไว้ในแง่จิตวิทยาพัฒนาการ

ด้าน ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม สะท้อนไว้ในรายการ Social So Chill ทางเพจ Social Psychology CU โดยระบุไว้บางช่วงบางตอนว่า… เมื่อเข้าไปในครอบครัวแฟน ความสัมพันธ์ของลูกเขยลูกสะใภ้ กับพ่อแม่แฟน ก็จะเป็นคนแปลกหน้ากัน เพราะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน…มารู้จักเพราะแฟน ซึ่งมุม “จิตวิทยาสังคม” นี่เป็น “ความสัมพันธ์ระหว่างคนแปลกหน้า”

Asian grandparent sit together on sofa with stress unhappy feeling home debt financial family problemold age senior couple look deperate on sofa at living room

อย่างไรก็ดี ถามว่า’แฟน-เขย-สะใภ้“ นั้น ทำอย่างไรจึงจะเข้ากันได้กับพ่อแม่ของอีกฝ่าย? ทางนักวิชาการท่านนี้ก็ให้คำแนะนำไว้ว่า… หลักพื้นฐานคือ ’พยายามสร้างความดึงดูดใจ“ นี่เป็นตัวหลักในการสร้างความสัมพันธ์ต้อง พยายาม ’หาความเหมือน-หาจุดร่วม“ ของตัวเองกับพ่อแม่ของคนรัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความชอบ รสนิยม อาหาร อะไรต่าง ๆ ซึ่งการพยายามหาความเหมือนจะทำให้อีกฝ่ายชอบ เพราะมนุษย์จะชอบคนที่ชอบเหมือนกับตัวเอง เรื่องนี้จึงเป็นกลไกสำคัญ

อีกเรื่องคือ “ระยะห่าง” ซึ่งอย่างน้อย ๆ ระยะห่างทางกายภาพแม้จะมี แต่สามารถลดระยะห่างในเชิงความคิดความรู้สึกได้ โทรศัพท์ไปหา ไลน์ไปหา ก็เป็นการสื่อความเข้าใจได้ ซึ่งลูกเองก็ต้องเข้าใจ ต้องทำให้พ่อแม่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวล  ลูกและแฟนอยู่ใกล้ ๆ ก็หมั่นแวะเวียนไปหา หรือส่งของส่งอาหารไปให้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าส่งอะไรไปก็ได้ ต้องรู้ด้วยว่าพ่อแม่แฟนชอบอะไร ต้องแสดงให้เห็นว่าใส่ใจ มนุษย์ชอบให้ผู้อื่นมาใส่ใจ ก็ต้องพยายามหาข้อมูลทำให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราใส่ใจ

สำหรับ คนที่เป็นลูก ก็ต้องมีบทบาทคนกลางเป็นจุดแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสองฝั่ง และก็มีคำแนะนำฝั่งพ่อแม่ไว้ด้วย โดยสังเขปคือ… ฝั่งพ่อแม่ลองหากิจกรรมทำ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หรืออาจสร้างสังคมเพื่อนขึ้นอีกครั้ง ก็จะช่วยลดทอนความเหงา ความรู้สึกอ้างว้าง ความกังวล ความกลัว ขณะเดียวกัน ไม่ควรนิ่งเฉยกับแฟนลูก ลูกเขย ลูกสะใภ้ ซึ่งการยอมรับก็สามารถแสดงออกให้เห็นได้ชัดเจน แค่ใช้คำเรียกว่าลูกก็จะทำให้อีกฝั่งรู้สึกดี ทั้งนี้ เรื่องนี้ จะให้ราบรื่นไม่ใช่ฝ่ายใดต้องปรับ ทุกคนทุกฝ่ายต้องปรับไปด้วยกัน โดยทาง ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม ได้ระบุไว้ด้วยว่า… การสร้างความสำเร็จทางความสัมพันธ์ ไม่มีสูตรสำเร็จ… ต้องหาวิธีที่ลงตัวและเข้ากับครอบครัวเราเองที่สุด“ ซึ่ง…

      ’ความสัมพันธ์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเอง“

      เรื่องแบบนี้ก็…’ต้องลงทุนลงแรง!!“.

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่