รู้กันหรือไม่ว่า? ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นให้เป็น “วันแห่งวิถีชีวิตในเมืองใหญ่สากล” (World Urbanism Day) ซึ่งถือเป็นวันที่ส่งเสริมให้มีการริเริ่มการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ขึ้นมา

โดยวันแห่งชีวิตในเมืองใหญ่สากลเริ่มขึ้นเมื่อปี 2492 องค์กรระหว่างประเทศเรียกวันนี้ “วันผังเมืองโลก” ซึ่งก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ คาร์ลอส มาเรีย เดลลา เปาเลรา ผู้ล่วงลับแห่งมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ผู้สำเร็จการศึกษาจาก Institut d’urbanisme ในปารีส เพื่อพัฒนาความสนใจของประชาชนและมืออาชีพในการวางแผน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในกว่า 30 ประเทศในสี่ทวีปในวันที่ 8 พฤศจิกายของทุกปี

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

วันพิเศษนี้ ต้องการให้เกิดการรับรู้และส่งเสริมบทบาทของการวางแผนในการสร้างชุมชนน่าอยู่ วันแห่งวิถีชีวิตในเมืองใหญ่เป็นโอกาสอันยอดเยี่ยมในการมองการวางแผนจากมุมมองระดับโลก ซึ่งเป็นงานที่ดึงดูดจิตสำนึกของพลเมืองและหน่วยงานของรัฐ เพื่อดึงความสนใจไปที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาเมืองและดินแดน

อย่างไรก็ตาม สำหรับลักษณะของเมืองน่าอยู่นั้น ต้องมีลักษณะของเมืองและชุมชนน่าอยู่จะถูกผสมผสานอยู่ในเรื่องราวต่างๆ 5 ด้าน คือ

1.ด้านสังคม

  • ประชาชนได้รับการศึกษา รู้เท่าทันข่าวสาร
  • มีบริการด้านสุขภาพและบริการที่จำเป็นอย่างพอเพียงและสะดวก
  • มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • มีคดีอาชญากรรม ยาเสพติดจำนวนน้อย
  • ทุกคน ทุกฝ่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง
  • สิทธิของประชาชนได้รับการคุ้มครอง

2.ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สามารถควบคุมของเสียในดิน ในน้ำ และในอากาศได้ และต้องไม่มีเสียงดังเกินไป
  • เป็นเมืองที่ประชาชนมีจิตสำนึกและความภูมิใจในประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น
  • ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและราคาไม่แพง

3.ด้านเศรษฐกิจ

  • บรรยากาศที่ดีสำหรับการทำมาค้าขายและการลงทุน
  • ค่าครองชีพไม่แพงและประชาชนมีงานทำ

4.ด้านกายภาพ

  • เป็นเมืองที่มีระเบียบ มีการจัดสรรการใช้ที่ดินที่เหมาะสม
  • มีบริการของภาครัฐ เช่น น้ำ ไฟ ถนน โทรศัพท์ อย่างเพียงพอต่อความต้องกา
  • มีการเดินทางขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย และไม่สิ้นเปลือง
  • มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • มีระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม

5.ด้านการบริหารจัดการ

  • มีความโปร่งใสและยุติธรรม
  • มีประสิทธิภาพและยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกๆขั้นตอน

ทั้งนี้  ชุมชนที่น่าอยู่คือชุมชนที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันสร้างชุมชนที่น่าอยู่ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข..

ขอบคุณภาพประกอบ : Pixabay