นายจางจวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

การประชุมสมัชชาอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชเอ ) สมัยที่ 77 ระหว่างวันที่ 19 ถึง 27 พ.ค. นี้ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวันยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเวลา 30 ปี เพื่อมุ่งสู่สุขภาพที่ดียิ่งขึ้นร่วมกับนานาประเทศในอนาคต ไต้หวันเริ่มมีหลักประกันสุขภาพประชาชนตั้งแต่ปี 2538 เพื่อเป็นระบบประกันที่บูรณาการให้บุคคลต่างอาชีพต่างสถานะได้ใช้ร่วมกัน จนปัจจุบันครอบคลุมประชากรกว่า 99.9% นับเป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างแท้จริง ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ระบบนี้ได้อำนวยหลักประกันสุขภาพที่ยุติธรรม เข้าถึงได้และการรักษาพยาบาลที่ทรงประสิทธิภาพแก่ประชาชนไต้หวัน จนเป็นแบบอย่างของชาวโลก

การดำเนินงานด้านการเงินหลักประกันสุขภาพของไต้หวัน ใช้โมเดลรับเรื่องจ่ายทันทีและเลี้ยงตัวเองได้ อาศัยการปฏิรูปอัตราเบี้ยประกันและการอุดหนุนจากแหล่งที่มาทางการเงิน เช่น การเก็บภาษีสุขภาพสวัสดิการจากสินค้าประเภทยาสูบ ทำให้สามารถรับมืออย่างมีประสิทธิภาพต่อความท้าทายของต้นทุนการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอันสืบเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความยั่งยืนในการพัฒนาของระบบอย่างมั่นคงสืบต่อไป

เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพของชาวไต้หวันให้ดียิ่งขึ้น ในปี 2567 ประธานาธิบดีไล่ชิงเต๋อ จึงนำเสนอแนวนโยบาย “ไต้หวันสุขภาพดี” โดยยึดแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ถือครอบครัวเป็นแก่นและชุมชนเป็นพื้นฐาน เร่งขยายการส่งเสริมสุขภาพและการบริการเพื่อสุขภาพการป้องกัน โดยผ่าน “โครงการแพทย์ประจำครอบครัว” และ “โครงการชุมชนช่วยดูแลถ้วนทั่ว” อำนวยการบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างครบวงจร อีกทั้งอาศัยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ช่วยยกระดับการบริการรักษาพยาบาลไม่ว่าอยู่ใกล้ไกลเพียงใด

ขณะเดียวกัน ก็มีการผลักดันการดูแลระยะยาวและการดูแลในช่วงสุดท้ายของชีวิต บรรลุซึ่งเป้าหมายให้คนชราได้รับความสุขสงบในที่ของตนเอง เป็นหลักประกันการดูแลสุขภาพถ้วนทั่ว ที่ยึดถือมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และนำมาซึ่งความเสมอภาคด้านสุขภาพที่แท้จริง

ไต้หวันยังคงพยายามมีส่วนร่วมกิจกรรมสาธารณสุขทั่วโลก มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนระบบสุขภาพสากล และเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้สำหรับนานาประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ประสบการณ์ด้านประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไต้หวันสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงอันมีค่าแก่ทั่วโลกได้ ไต้หวันจะแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจัดการทางการเงิน และระบบสุขภาพดิจิทัลให้กับประเทศอื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ประเทศอื่นบรรลุเป้าหมายครอบคลุมสุขภาพถ้วนหน้าทั่วโลก ซึ่งประกาศโดยดับเบิลยูเอชโอมากยิ่งขึ้น

เพื่อให้เป็นไปตามค่านิยมหลัก ความเป็นสากลและความหลากหลายของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) เราจึงขอเรียกร้องต่อดับเบิลยูเอชโอ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โปรดคำนึงถึงคุณูปการที่ไต้หวันมีต่อระบบสาธารณสุขของโลกอย่างยาวนานมาตลอด และช่วยกันเรียกร้องให้ดับเบิลยูเอชโอ เปิดกว้างยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ยึดมั่นในหลักการความเป็นมืออาชีพ และความเอื้ออารีอิงตามความเป็นจริง โดยเชิญให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุม ร่วมกันทำให้ “สุขภาพคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ตามธรรมนูญของดับเบิลยูเอชโอให้เป็นจริง และบรรลุเป้าประสงค์ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ.

ขอขอบคุณ : สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย

เลนซ์ซูม