เคยทราบกันบ้างหรือไม่ว่า.. ทุกวันที่ 19 มกราราคม คือ “วันแห่งกระป๋อง (Tin Can Day)” แต่มีที่มาอย่างไรนั้น มาติดตามกัน..

สำหรับ “กระป๋อง” นั้มีที่มาจากการที่ “นีกอลา อาแปร์” ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดค้นกรรมวิธีการถนอมอาหารด้วยบรรจุภัณฑ์กระป๋อง เขาได้อธิบายว่าเป็นกรรมวิธีที่สามารถถนอมอาหารได้ทุกประเภท และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการบรรจุกระป๋อง”

อาแปร์ เป็นพ่อครัวและคนทำลูกกวาดในกรุงปารีสตั้งแต่ ค.ศ. 1784 ต่อมาใน ค.ศ. 1795 เริ่มทดสอบและคิดค้นวิธีถนอมอาหาร ทั้งซุป พืชผัก น้ำผลไม้ เยลลี่ แยม น้ำเชื่อม และผลิตภัณฑ์จากนม ได้นำอาหารเหล่านี้ใส่ไว้ในขวดโหลแก้ว ปิดปากด้วยจุกไม้ก๊อกและป้ายด้วยขี้ผึ้ง จากนั้นจึงนำไปจุ่มในน้ำเดือด
 
ใน ค.ศ. 1800 จักรพรรดินโปเลียน เสนอเงินรางวัล 12,000 ฟรังก์ให้ใครก็ตามที่คิดค้นวิธีถนอมอาหารแบบใหม่ได้ ใน ค.ศ. 1806 อาแปร์นำขวดแก้วบรรจุอาหารต่าง ๆ ที่เขาถนอมไว้ออกมาแสดงที่งานนิทรรศการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฝรั่งเศส แต่กลับไม่ชนะและไม่ได้รับเงินรางวัลใด ๆ ต่อมาใน ค.ศ. 1810 กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสเสนอเงิน 12,000 ฟรังก์ให้อาแปร์ โดยมีเงื่อนไขว่าเขาต้องเผยแพร่กรรมวิธีถนอมอาหารนี้แก่สาธารณชน อาแปร์ยอมรับและตีพิมพ์หนังสือเพื่ออธิบายกรรมวิธีดังกล่าวในปีนั้นเอง หนังสือของเขามีชื่อว่า ศิลปะการถนอมเนื้อสัตว์และ ตีพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 200 เล่ม
 
ลาแมซงอาแปร์ ในเมืองมาซีใกล้กับกรุงปารีส กลายเป็นโรงงานบรรจุอาหารลงขวดแห่งแรกในโลกนับเป็นเวลาหลายปีก่อนที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ จะพิสูจน์ได้ว่าความร้อนสามารถฆ่าแบคทีเรีย กรรมวิธีถนอมอาหารของอาแปร์ได้จุดประกายให้เกิดธุรกิจถนอมอาหารหลากหลายชนิดในบรรจุภัณฑ์ปิด กรรมวิธีถนอมอาหารของเขาแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วมาก ในปีเดียวกับที่เขาตีพิมพ์หนังสือ
 
ส่วนพ่อค้าชาวอังกฤษนามว่า ปีเตอร์ ดูแรนด์ ได้นำกรรมวิธีนี้ไปใช้ แต่เปลี่ยนจากการบรรจุภัณฑ์เป็นกระป๋องแทน ปีเตอร์ ดูแรนด์ ได้จดสิทธิบัตรกระป๋องที่ทำจากดีบุกเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2353 ให้เป็น “วันแห่งกระป๋อง” จึงเป็นดั่งวาระพิเศษที่จะเฉลิมฉลองผลงานอันทรงคุณค่าที่ช่วยให้เราสามารถเก็บรักษาอาหารมิให้เน่าเสียง่าย และเป็นวิธีที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง….