จากกรณี “ประกันสังคม” โอนเงินเยียวยาให้นายจ้าง แรงงาน ลูกจ้าง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ใน 9 กิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐบาล พร้อมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงความคืบหน้าการโอนเงินเยียวยาประกันสังคม ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ซึ่งต่อมาทาง กระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ได้ย้ำให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาให้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับบัญชีธนาคารที่มีอยู่ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการโอนเงินภายในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป วันนี้ “เดลินิวส์ออนไลน์” จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจวิธีผูก “พร้อมเพย์” เข้ากับบัตรประชาชนแบบง่ายๆ พร้อมเงื่อนไขต่างๆ เพื่อรอรับเงิน 5,000 บาท ตามข้อมูลด้านล่างนี้เลย!

สำหรับการลงทะเบียน “พร้อมเพย์” นั้น อันดับแรกเราจะต้องมี “บัญชีธนาคาร” ก่อน ซึ่งจะเป็นบัญชีธนาคารใดก็ได้ ต่อมาจึงจะสามารถ “ลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์” โดยเลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขอ้างอิงใด เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน ในขณะที่หากต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีธนาคาร อาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือก็ได้

สำหรับวิธีการและช่องทางการลงทะเบียนของแต่ละธนาคาร มีวิธีและขั้นตอนตามตามลิงก์ดังต่อไปนี้

– ธนาคารกรุงเทพ (คลิกลิงก์)

– ธนาคารกรุงไทย (คลิกลิงก์)

– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (คลิกลิงก์)

– ธนาคารกสิกรไทย (คลิกลิงก์)

– ธนาคารไทยพาณิชย์ (คลิกลิงก์)

– ธนาคารออมสิน (คลิกลิงก์)

– ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (คลิกลิงก์)

– ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (คลิกลิงก์)

– ธนาคารทิสโก้ (คลิกลิงก์)

– ธนาคารไทยเครดิต (คลิกลิงก์)

– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (คลิกลิงก์)

– ธนาคารยูโอบี (คลิกลิงก์)

– ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (คลิกลิงก์)

– ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (คลิกลิงก์)

– ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (คลิกลิงก์)

สำหรับไทม์ไลน์ลการโอนเงินเงินเยียวยาประกันสังคมให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 จำนวน 5,000 บาท มีดังนี้

1.ผู้ประกันตน ม.33 ใน 16 จังหวัดหลัง ใน 9 กลุ่มอาชีพ โอนเงินวันที่ 20 ส.ค. 64 จำนวน 2,500

2.ผู้ประกันตน ม.39 ใน 10 จังหวัดแรก และอีก 3 จังหวัด โอนเงินวันที่ 23 ส.ค. 64 จำนวน 5,000

3.ผู้ประกันตน ม.40  ใน 10 จังหวัดแรก และอีก 3 จังหวัด โอนเงินวันที่ 24 ส.ค. 64 จำนวน 5,000

4.ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ใน 16 จังหวัดหลัง โอนเงินวันที่ 24 ส.ค. 64 จำนวน 5,000