นับเป็นอีกหนึ่งข่าวสะเทือนใจคนไทย พร้อมรอจับตากันอย่างใกล้ชิด หลังเกิดเหตุทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่กำลังก่อสร้าง เกิดพังถล่มบริเวณหน้าห้างโลตัส สาขาลาดกระบัง ปากซอยทางเข้า สน.จรเข้น้อย แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บหลายราย เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 10 ก.ค. ที่ผ่านมา

สำหรับ “สะพานถล่ม” ดังกล่าวนั้น เป็นทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นโปรเจกต์ของ “สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร” งบประมาณค่าก่อสร้าง 16,64,550,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน

ย้อนไทม์ไลน์ “สะพานถล่ม” มีทั้งหมดดังนี้
– 23 กุมภาพันธ์ 2564 เริ่มสัญญา
– 27 ตุลาคม 2565 มีการแก้ไขสัญญเพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) โดยเป็นการขยายสัญญา เนื่องจากสถานการณ์โควิด

-18 มกราคม 2566 “สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา” ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย ยื่นกระทู้สดต่อสภา กทม. ในสมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2566 เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างสะพานยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ
1. ตั้งคำถามถึงความไม่คืบหน้า ทั้งยังไม่มี ผอ.เขต หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตเป็นที่ปรึกษา หรือรับรู้
2. วัสดุอุปกรณ์วางกีดขวางทางจราจร ทำให้การจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
3. งบประมาณสูง เฉลี่ยกิโลเมตรละ 495 ล้านบาท
-ย้อนกระทู้! ส.ก.จวกสะพานข้ามแยก งบ 1,600 ล้านไม่คืบก่อนเกิดเหตุสลด

ในวันนั้นทางด้าน “วิศณุ ทรัพย์สมพล” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตอบกระทู้สดดังกล่าวว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับ จากแบบเดิมที่เป็น girder box segment ที่ติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในพื้นที่ เปลี่ยนเป็น precast box segment ซึ่งเป็นการหล่อจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น และลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง

ส่วนแนวทางการลดผลกระทบมีอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ การจราจร จัดให้มีการกั้นพื้นที่ก่อสร้างบริเวณเกาะกลางถนน ให้เหลือช่องจราจรอย่างน้อย 2 ช่องต่อทิศทาง รวมถึงมีป้ายแนะนำ ป้ายเตือนอุบัติเหตุ และไฟแสงสว่างตลอดทั้งโครงการ ทางข้ามทางม้าลายจะมีการตีเส้นให้ชัดเจน พร้อมติดตั้งไฟเตือน ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้ง PM 10 ตรวจวัดควันดำเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างไม่ให้เกินมาตรฐาน พร้อมกับการงดการก่อสร้างที่ทำให้เกิดเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน

18 กุมภาพันธ์ 2566 “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ทำกิจกรรม “ผู้ว่าฯ สัญจร” เขตลาดกระบัง โดยในช่วงบ่ายลงพื้นที่หลายจุด รวมถึงจุดก่อสร้างสะพานยกระดับบริเวณถนนลาดกระบัง-หลวงแพ่ง พบพื้นที่ว่าง ซึ่งน่าจะมีการคืนพื้นผิวจราจรด้วย
24 พฤษภาคม 2566 สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2)

10 กรกฎาคม 2566 เกิดเหตุทรุดตัว มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ
18.10 น. ศูนย์พระราม 199 รับแจ้งเหตุสะพานข้ามแยกทรุดตัว บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง
18.20 น. กู้ภัยเข้าพื้นที่เกิดเหตุ พบความเสียหายวงกว้างสะพานทรุดตัวระยะทางเกือบ 500 เมตร เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน บาดเจ็บเล็กน้อย 4 คน
-เปิดรายชื่อ 13 ผู้บาดเจ็บเหตุสะพานถล่ม เร่งค้นหาเพิ่มใครตกค้างอีกหรือไม่
21.00 น. ผู้ว่าฯ กทม. เข้าตรวจสอบพื้นที่ตั้งศูนย์บัญชาการ กำชับ ดูเรื่องความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก คาดสาเหตุข้อผิดพลาดอาจมาจาก Launcher หรือตัวยึดด้านบนเสียหลัก เป็นต้นเหตุดึงเครนและสะพานถล่มครืน
22.00 น. “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ยืนยันพบผู้เสียชีวิต 2 ศพ และบาดเจ็บ 10 คน สั่งเร่งเคลียร์ซากบางส่วน และแนะนำเส้นทางเลี่ยงการจราจรพื้นที่จรเข้น้อย-ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ทำงาน พร้อมทั้งระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องที่เกิดขึ้น

11 ก.ค. 2566 “ชัชชาติ” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวกรณีเหตุการณ์โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ในพื้นที่เขตลาดกระบังถล่ม หลังจากลงพื้นที่ทันทีหลังเกิดเหตุการณ์
เปิดคลิปนาทีชีวิตสาวประคองสติ ทิ้งรถหนีตายหลังสะพานถล่ม!

สิงหาคม 2566 เวลาสิ้นสุดสัญญา (เดิม)
ธันวาคม 2567 ช่วงเวลาที่คาดว่าจะสร้างสะพานแล้วเสร็จ แต่เกิดเหตุเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มทำสัญญาก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังดังกล่าว เคยมีการยืนเรื่องคัดค้านการประมูล ภายหลังจากการที่สำนักการโยธา กทม. ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางยกระดับรวมงานการไฟฟ้านครหลวง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ซึ่ง “กิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา” เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงิน 1,938.3 ล้านบาท แยกเป็นงานในส่วนของ กทม. 1,664.55 ล้านบาท และงานของการไฟฟ้านครหลวง 273.75 ล้านบาท
-ส่องผลประกอบกิจการ 2 บริษัทผู้รับเหมา เหตุสะพานถล่ม ย่านลาดกระบัง

ปรากฏว่า ในช่วงนั้นไม่สามารถลงนามสัญญาได้ เนื่องจาก บริษัท โชคดีวิศวภัณฑ์ จำกัด หนึ่งในผู้เข้าร่วมประกวดราคา ยื่นเรื่องคัดค้าน เนื่องจากกิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา ขาดคุณสมบัติ อีกด้วย..