ที่ผ่านมาพื้นที่ห่างไกลและชายขอบมักประสบปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร เนื่องจากลักษณะพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร จำนวนผู้อยู่อาศัยค่อนข้างน้อย ทำให้อาจเกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุนของผู้ให้บริการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. เล็งเห็นถึงคุณค่าของการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม เพื่อให้คนไทยทุกระดับมีสิทธิ์เข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย โดยสนับสนุน Hardware และบริการที่มีมาตรฐาน โดยได้ดำเนินโครงการ ศูนย์บริการ USO Net ขยายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลและชายขอบทั่วประเทศ เข้าถึงบริการโทรคมนาคมทางด้านเสียง (Voice Service) และข้อมูล (Broadband Internet Service) และได้จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ต (ศูนย์ USO Net) ที่เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เหมาะสม และยังจัดให้มีการส่งเสริมและเพิ่มทักษะความรู้ ที่เป็นประโยชน์ให้กับคนในชุมชน และนักเรียนในพื้นที่เป้าหมาย สามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่มีค่าบริการใดๆ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่หมู่บ้านชายขอบ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญต่อยอดการพัฒนาคนไทยอย่างยั่งยืน อันเป็นที่มาในการผลิตภาพยนตร์โฆษณา “ภารกิจภายใต้แผนการจัดให้มีบริการ USO” เพื่อส่งเสริมการรับรู้ และความเข้าใจ หรือสร้างการตระหนักรู้ เกี่ยวกับภารกิจและโครงการภายใต้การจัดให้มีบริการ USO โดยนำเสนอแนวความคิดและเนื้อหาการสื่อสารด้วยภาพยนตร์โฆษณา 3 ตอนที่มีเรื่องราวต่อเนื่อง ได้แก่ ตอนที่ 1 ชื่อว่า “Hardware” ตอนที่ 2 ชื่อว่า “Software” และตอนที่ 3 ชื่อว่า “Humanware”
ตอนที่ 1 “Hardware” รากฐานและโอกาสพัฒนาคนพื้นที่ห่างไกลและชายขอบ”
ตอนที่ 1 “Hardware” การนำเสนอเนื้อหาภายใต้แนวความคิดที่ว่า “ประชาชนคนไทยไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ล้วนมีสิทธิ์ที่จะมีโอกาสได้เข้าถึงระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่ดี” ซึ่งจะเล่าผ่านสายตาเด็กหญิง อายุ 10-12 ปี “กอหญ้า” ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชายขอบ ที่ได้รับรู้ถึง ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจาก บริการ USO Net ภารกิจของสำนักงาน กสทช. จัดความพร้อมในด้านฮาร์ดแวร์ ภาพประกอบและการเล่าเรื่อง แสดงให้เห็นถึงการเดินทางเข้าไปพื้นที่ชายขอบ ห่างไกลเมือง ยากแก่การเข้าถึง เพื่อไปติดตั้งโครงข่ายโทรคมนาคมพื้นฐาน อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและส่วนประกอบจำเป็น ตลอดจนถึงศูนย์การเรียนรู้บริการ USO Net ในพื้นที่หมู่บ้านที่ห่างไกลและชายขอบ
ชมภาพยนตร์โฆษณา ตอน 1 “Hardware” ลิงก์ตามนี้ : https://youtu.be/JKuddnpQUZg?si=4c42hp0FttSkd_Q1
ตัวอย่างภาพประกอบ ตอนที่ 1 “Hardware”
ตอนที่ 2 “Software” ใช้ “ซอฟต์แวร์”อย่างเหมาะสม สร้างสังคม อย่างเท่าเทียม
เทคโนโลยีมิใช่เพียงแค่ทำให้คนชายขอบได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้ชมความบันเทิงจากสื่อสังคมออนไลน์เพียงเท่านั้น ตอนที่ 2 “Software” นำเสนอเนื้อหาภายใต้แนวความคิดหลัก “การเรียนรู้ใช้ซอฟท์แวร์ที่คุ้มค่า ต้องสร้างคุณค่าแก่ผู้ใช้” นั่นคือ การได้ประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การใช้เพื่อการพัฒนาทักษะ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง พัฒนาต่อยอดสู่ชุมชน เรื่องราวยังคงเล่าผ่านเด็กหญิง “กอหญ้า” เล่าถึงครูผู้มาฝึกสอนการใช้ซอฟต์แวร์ การมีอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่าน e-learning / การเรียนรู้นอกหลักสูตรเพื่อสร้างรายได้ อาชีพ การที่อินเทอร์เน็ตพร้อมใช้ ช่วยให้คนในหมู่บ้านกอหญ้า แม้อยู่ห่างไกล ก็ยังเข้าถึงสิทธิประโยชน์พึงได้จากนโยบายภาครัฐ อาทิ แอปพลิเคชันเข้าถึงสวัสดิการจากภาครัฐ, แอปพลิเคชันรับการปรึกษาทางการแพทย์และบริการสาธารณสุขผ่านออนไลน์, แอปพลิเคชันเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติจากส่วนกลาง, แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลจากภาครัฐต่างๆ เป็นต้น
ชมภาพยนตร์โฆษณา ตอน 2 “Software” ลิงก์ตามนี้ : https://youtu.be/-XbDu2E5-zE?si=8q-RLBo9CEHbSJle
ภาพประกอบ จากตอนที่ 2 “Software”
ตอนที่ 3 “Humanware” ทัดเทียม ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลและชายขอบ
เพิ่มศักยภาพคนชายขอบ ขยายเศรษฐกิจไร้พรมแดน” คือ แนวความคิดหลักของตอน “Humanware“ โลกในปัจจุบัน ต่างให้ความสำคัญ ให้คุณค่าความเท่าเทียมของมนุษย์ คนในพื้นที่ห่างไกล ชายขอบ ควรมีโอกาสใช้ศักยภาพของอินเทอร์เน็ต นำมาพัฒนาศักยภาพ ใช้อย่างสร้างสรรค์ การต่อยอดจากการมีครูผู้สอน มาเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง e-learning บนโลกออนไลน์ มีเนื้อหาที่ให้ทักษะ ความรู้ที่นำมาพัฒนาทำมาหาเลี้ยงชีพที่เหมาะสมกับท้องถิ่น อาทิ การเกษตร-ปศุสัตว์อัจฉริยะ, จากแอปพลิเคชันสร้างภาพจากข้อความ โปรแกรมแปลภาษาทำให้สามารถขายสินค้า-บริการผ่านออนไลน์ไปทั่วโลก การใช้โปรแกรมสร้างเว็บสำเร็จรูป นำมาสร้างเว็บไซต์ท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่น เป็นต้น ในภาพยนตร์โฆษณา ตอนนี้ จะเน้นที่มนุษย์ “Humanware” คนในพื้นที่ชายขอบได้มีการพัฒนาทักษะ ใช้งานซอฟต์แวร์ให้เกิดคุณค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม การนำเสนอการใช้งานโปรแกรมแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นเพียงตัวอย่างในโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน ยังมีซอฟต์แวร์ ใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม AI , Data Science, IoT ได้เข้ามาทดแทนหรือเสริมการทำงานจากมนุษย์นำไปสู่การพัฒนาอาชีพที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของท้องถิ่นได้มากขึ้น การสร้าง Humanware ให้มีคุณภาพที่เข้มแข็ง สร้างเป็น Soft Power สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกมากมาย ช่วยขยายเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ชมภาพยนตร์โฆษณา ตอน 3 “Humanware” ลิงก์ตามนี้: https://youtu.be/6WoPO0usTkU?si=XsSpLW8YrtvzlA5f
ตัวอย่างภาพประกอบ ตอนที่ 3 “Humanware”