แต่ในปี 2021 กลับมาเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 720 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินระดับที่ปลดปล่อยสูงสุดเมื่อปี 2019 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC 2024) ได้จัดเวทีสัมมนาในหัวข้อ เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน ( SAF :Sustainable Aviation Fuel )

ธุรกิจการบินเป็นกลางทางคาร์บอนปี2593

เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินลงได้ ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 80% ตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เมื่อเทียบกับน้ำมันอากาศยานแบบเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุตสาหกรรมการบินวางแผนจะก้าวเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ.2593 สำหรับประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมาหลายปีแล้ว มีศักยภาพในการจัดหาเชื้อเพลิงชีวภาพ การขยับไป SAF จะเป็นการเปิดโอกาสตอบสนองการปล่อยก๊าซคาร์อบอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบิน สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ และส่วนเทคโนโลยีวัสดุแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทควัสดุแห่งชาติ ในภาคส่วนของการวิจัยให้ความสำคัญ SAF “ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ กล่าวเปิดเวทีสัมมนา

SAFไทยน้ำมันพืชใช้แล้ว กากน้ำตาล มันสำปะหลัง

เสกสรร พาป้อง หัวหน้าทีมวิจัยการประเมินความยั่งยืนและเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคการบินปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากและปล่อยตรง เพราะบินอยู่ในเพดานด้านบน การพัฒนามาตรฐานความยั่งยืนของเกณฑ์มาตรฐาน SAF ที่จะใช้วัตถุดิบมาใช้เพื่ออากาศยานยั่งยืน  เป็นโครงการที่สวทช.กำลังดำเนินการ เพื่อให้วัตถุดิบในประเทศอยู่ในลิสต์รายชื่อSAFให้ได้  ขณะนี้ไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต SAF จากวัตถุดิบชีวภาพหลากหลาย เช่น น้ำมันพืชใช้แล้ว ไขมันจากสัตว์ กากน้ำตาล ชานอ้อย ของเหลือทางการเกษตร ตลอดจนขยะอินทรีย์ แต่ในบ้านเราตัวอย่างวัตถุดิบที่มีศักยภาพคือ กากน้ำตาล น้ำมันปาล์มดิบ อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งไม่อยู่ในลิสต์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรือไอเคโอ (ICAO) จึงต้องพัฒนาให้มีมาตรฐานขึ้นมา    อย่างไรก็ตามจากวัตถุดิบดังกล่าวต้องผ่านเกณฑ์คาร์บอนเครดิต 14 ข้อจากไอเคโอ และต้องมีข้อมูลยืนยันให้ได้ว่าพืชที่นำมาผลิตเป็น SAF ไม่มาจากพื้นที่ปลูกที่เป็นพื้นที่ป่า

ทุ่มหมื่นล้านกลั่นน้ำมันใช้แล้ว1ล้านลิตรป้อนSAF

สุรพร เพชรดี  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด  (BSGF) กล่าวว่าบริษัทเพิ่งจดทะเบียนตั้งขึ้นในปี 2565 ก.ย. เพื่อผลิต SAF ในประเทศไทย เกิดจาก3 พาร์คเนอร์ มีบางจากเป็นหุ้นส่วนใหญ่ 80 % และมี BBGI เป็นบริษัทลูกของบริษัทบางจากที่ทำไบโอเบสอยู่แล้ว  และ บริษัท ธนโชคกรุ๊ป บริษัทที่รวบรวมน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว รายใหญ่ของประเทศ รวมน้ำมันปรุงอาหารมาจากทั่วประเทศและส่งออกไปผลิต SAF ส่งไปยุโรปด้วย  และผลิตเป็นไบโอดีเซล สารตั้งต้นผลิตอาหารสัตว์ SAFใช้เทคโนโลยีจากอเมริกา มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยต้องใช้น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ววันละ 1 ล้านกิโลกรัม โดย ใช้เงินลงทุนในการสร้างโรงงาน 1 หมื่นล้านบาท 

ไขมันจากบ่อดักไขมนผลิตเป็นSAFได้

สุรพร กล่าวต่อว่า โรงงานได้ออกแบบบ SAF สำหรับน้ำมันปาล์ม น้ำล้างกระบวนการหีบปาล์มด้วย  ไขมันจากบ่อดักไขมัน บริษัทผลิตอาหารหรือครัวเรือนที่มีถังดักไขมันสามารถนำมาผลิต SAF ได้ โดยนำไขมันเหล่านี้มาวัดค่าความเป็นกรดก่อนที่จะเข้ากระบวนการกลั่น ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้า 30 % โดยสร้างที่โรงกลั่นบางจากเดิมซอยสุขุมวิท64 คาดว่าเปิดดำเนินการได้เม.ย.ปี2568 โปรดักส์แรก บริษัทคอสโมออย จากประเทศญี่ปุ่นขอซื้อ SAF จากน้ำมันพืชใช้แล้ว ซึ่งได้ทำสัญญาซื้อ10 ปีในสัดส่วน30 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่มี  ขณะที่ได้เข้าไปเจรจากับสายการบินต่าง  ซึ่งเร็วๆนี้สายการบินจากไทยที่ต้องบินเข้ายุโรปจะต้องใช้เชื้อเพลิงที่มาจาก SAF ประเทศในยุโรปจะเริ่มบังคับใช้ก่อน

สุรพรกล่าวต่อว่า ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันเครื่องบินอยู่ที่ 20 ล้านลิตรต่อวัน บริษัทขอแชร์สัดส่วน 5 % ประมาณ 1 ล้านลิตร  ทั้งนี้ SAF ไม่ได้ตอบโจทย์ เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ รักษากลไกให้สังคมไม่นำน้ำมันพืชใช้แล้วไปทอดซ้ำ เรื่องระบบเศรษฐกิจมีเงินกลับคืน ดีกว่าเอาน้ำมันไปปล่อยทิ้งในธรรมชาติ ทิ้งในระบบระบายน้ำ เร็วๆนี้จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ประชาชนมีช่องทางขายน้ำมันใช้แล้วได้สะดวกมากขึ้น โดยราคารับซื้อน้ำมันใช้แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ14 บาท

อีกไม่นานเราจะต้องใช้บริการสายการบินที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันพืชใช้แล้ว.

พรประไพ เสือเขียว
[email protected]