สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ว่าชิปซึ่งชื่อว่า “วิลโลว” สามารถใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการประมวลผล แต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาถึง 10 ล้านล้านล้านล้านล้านล้านปี

นายฮาร์ตมุต นีเวน ผู้ก่อตั้งกูเกิลควอนตัมเอไอ และพนักงานประมาณ 300 คน มีภารกิจในการสร้างการชิปประมวลผลควอนตัม เพื่อสามารถจัดการกับปัญหาสำคัญ เช่น พลังงานฟิวชันที่ปลอดภัย และการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แม้คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้นั้น ยังคงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายปี อย่างไรก็ตาม วิลโลวถือเป็นก้าวสำคัญในการมุ่งหน้าสู่ทิศทางดังกล่าว และต่อให้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การประมวลผลควอนตัมความเร็วสูงจะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ ได้ในที่สุด

การวิจัยควอนตัมถือเป็นสาขาที่สำคัญ ซึ่งทั้งสหรัฐและจีนต่างก็ลงทุนอย่างหนัก โดยรายละเอียดซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือน ต.ค. ปีนี้ ระบุว่า การลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐในสาขานี้ทั่วโลก มีมูลค่ารวมประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 675,599 ล้านบาท) ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

อนึ่ง ในการเปิดตัวครั้งนี้ ชิปของกูเกิลได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดข้อผิดพลาดในการคำนวณแบบทวีคูณ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่นักวิจัยใช้เวลานานถึง 30 ปี.

เครดิตภาพ : AFP