จากกรณี เหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ทำให้หลายจังหวัดได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างนั้น นอกจากนี้ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยสาเหตุตึกถล่มกลางกรุง หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ย้ำต้นตอมาจาก “เสาชั้นล่าง” สูงกว่าชั้นอื่นจนหักง่าย! เตือนหลังจากนี้ ต้องเร่งเสริมกำลังอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยเฉพาะอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 50 และอาคารสูงใน กทม. ตามที่ข่าวเสนอไปก่อนหน้านี้
ส.วิศวกรฯ เปิดต้นตอตึกถล่มหลังแผ่นดินไหว มาจาก ‘เสาชั้นล่างหัก’
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ศ.ดร.อมร พิมานมาศ” นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและนักวิจัย ได้ตั้งข้อสันนิษฐานสาเหตุตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว 3 จุด หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเขย่าทั่วโลก
โดยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นเมื่อวาน แล้วทำให้อาคารที่กำลังก่อสร้างหลังหนึ่งถล่มลงมาแบบราบคาบนั้น “ศ.ดร.อมร พิมานมาศ” โดยเป็นนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและนักวิจัย สกสว. ได้ตั้งข้อสังเกตถึงจุดเริ่มต้นของการถล่ม ว่าจากภาพวิดีโอ มีจุดที่พังทลายที่สำคัญ 3 จุด ได้แก่ดังนี้
1. เสาชลูดชั้นล่างหักที่บริเวณกลางเสา
2. รอยต่อระหว่างพื้นไร้คานกับเสาชั้นบนเฉือนขาดในแนวดิ่ง
3. การพังที่เกิดจากปล่องลิฟต์ โดยในขณะนี้ยังไม่สรุปว่า จุดเริ่มต้นการถล่มเกิดที่จุดใด แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากจุดใดก่อน ก็สามารถทำให้อาคารถล่มราบคาบลงมาเป็นทอดๆ ได้ ซึ่งในทางวิศวกรรมเรียกว่า Pancake collapse
นอกจากนี้ ปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุการถล่มได้คือการสั่นพ้อง (resonance) ระหว่างชั้นดินอ่อนกับอาคารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวระยะไกลจากเมียนมา เมื่อคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงชั้นดินอ่อนกรุงเทพฯ จะเป็นแผ่นดินไหวแบบคาบยาว (long period) ซึ่งจะกระตุ้นอาคารสูงได้ เนื่องจากมีคาบยาวที่ตรงกันระหว่างอาคารกับชั้นดินอ่อน ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาด้วย เช่น ตัวปั้นจั่นที่ติดตั้งในปล่องลิฟต์ มีการสะบัดตัวและส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอย่างไรนั้น ยังต้องพิสูจน์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตามกฎกระทรวงแผ่นดินไหว ปี 2550 และ 2564 อาคารหลังนี้ควรต้องออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหวในระดับที่ไม่ควรถล่มแบบนี้ จึงต้องไปตรวจสอบแบบ และการก่อสร้างด้วย แต่อีกประเด็นสำคัญที่ตัดทิ้งไม่ได้คือคุณภาพวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต และเหล็กเสริมว่ามีกำลังรับน้ำหนักเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กเส้นที่นำมาใช้ ได้มาตรฐานและมีความเหนียวเพียงพอหรือไม่ จึงจำเป็นตรวจสอบทุกปัจจัย ก่อนจะสรุปสาเหตุที่แท้จริงได้อีกด้วย