นายธษภิชญ ถาวรสุข ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โรวูล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า  ได้นำ  นวัตกรรม “เอ็กซ์เกตเวย์” (Xgateway) ยานยนต์ผิวน้ำไร้คนขับ (Autonomous Surface Vehicle – ASV) มาจัดแสดง ในงาน International Petroleum Technology Conference (IPTC) 2025 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย ได้รับการพัฒนาขึ้น ภายใต้แนวคิด “Subsea Robotics Ecosystem”  เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมพลังงาน โดยเป็นผลงานจากการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันโดยมาพร้อมกับระบบนำทางอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานระยะไกลผ่านดาวเทียม และติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับความผิดปกติใต้น้ำ ผสานการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

“เอ็กซ์เกตเวย์ ได้รับการออกแบบให้เป็นยานยนต์ปฏิบัติการอเนกประสงค์ สำหรับสนับสนุนภารกิจการตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อส่งปิโตรเลียมใต้ทะเล รวมถึงการสำรวจพื้นที่ใต้ทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งโดยเฉพาะ โดยมีขนาดความยาว 10 เมตร ซึ่งมีจุดเด่นที่สำคัญดังต่อไปนี้

– ระบบปฏิบัติการอัตโนมัติเต็มรูปแบบ: เอ็กซ์เกตเวย์สามารถปฏิบัติภารกิจสำรวจและตรวจสอบท่อใต้น้ำได้โดยอัตโนมัติ ลดการพึ่งพาการควบคุมโดยมนุษย์ และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่อันตราย

ธษภิชญ ถาวรสุข

– เทคโนโลยีนำทางอัจฉริยะ: ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ DC และติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ขั้นสูง (GNSS, AIS, RADAR, LIDAR) ส่งผลให้เอ็กซ์เกตเวย์มีระบบนำทางที่มีความแม่นยำสูง สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง และปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– การควบคุมระยะไกลผ่านดาวเทียม: เชื่อมต่อด้วยระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม VSAT ที่ช่วยให้สามารถควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานของเอ็กซ์เกตเวย์ได้จากระยะไกลแบบทันที (Real-time) ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญ

– เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: การทำงานของเอ็กซ์เกตเวย์ช่วยลดการใช้เรือสนับสนุนขนาดใหญ่ ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

-เพิ่มความแม่นยำและคุณภาพของข้อมูล: เอ็กซ์เกตเวย์ถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ในระบบนิเวศน์หุ่นยนต์ใต้น้ำ (Subsea Robotics Ecosystem) ของโรวูล่า เช่น เอ็กซ์พลอเลอร์ (Xplorer) ยานยนต์สำรวจใต้ทะเลที่ปฏิบัติการด้วยระบบ AI ซึ่งช่วยให้การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ระบบสื่อสารใต้น้ำด้วยคลื่นเสียง หรืออุปกรณ์สำรวจทางอุทกศาสตร์ เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการลาดตระเวนและป้องกันประเทศ ที่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัย ตลอดจนการสำรวจพื้นที่ชายทะเล หรือแม้แต่การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเรือจมที่ต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยการจัดแสดงเอ็กซ์เกตเวย์ในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานหลากหลายกลุ่ม ทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลังงาน บริษัทเทคโนโลยี นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา