นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงผลพยากรณ์ภาพรวมการผลิตไม้ผล 6 ชนิด ปี2568 ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ ณ เดือนมีนาคม 2568) ดังนี้  ทุเรียน ปี 2568  เนื้อที่ให้ผล 1,265,701 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก 1,138,475 ไร่ (เพิ่มขึ้น 127,226 ไร่ หรือร้อยละ 11.18) ผลผลิต 1,682,484 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,287,048 ตัน (เพิ่มขึ้น 395,436 ตัน หรือร้อยละ 30.72) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 1,329 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 1,131 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 198 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 17.51)

ลำไย ปี 2568 เนื้อที่ให้ผล 1,645,810 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก 1,644,559 ไร่ (เพิ่มขึ้น 1,251 ไร่ หรือร้อยละ 0.08) ผลผลิต 1,573,862 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,420,292 ตัน (เพิ่มขึ้น 153,570 ตัน หรือร้อยละ 10.81)  ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 956 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 864 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 92 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 10.65)

มังคุด ปี 2568 เนื้อที่ให้ผล 393,277 ไร่ ลดลงจาก 399,020 ไร่ (ลดลง 5,743 ไร่ หรือร้อยละ 1.44) ผลผลิต 407,634 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 301,649 ตัน (เพิ่มขึ้น 105,985 ตัน หรือร้อยละ 35.14) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 1,037 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 756 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 281 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 37.17)

 เงาะ ปี 2568 เนื้อที่ให้ผล 173,104 ไร่ ลดลงจาก 179,126 ไร่ (ลดลง 6,022 ไร่ หรือร้อยละ 3.36) ผลผลิต 229,315 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 201,981 ตัน (เพิ่มขึ้น 27,334 ตัน หรือร้อยละ 13.53) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 1,325 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 1,128 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 197 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 17.46) โดยเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตที่สำคัญทางภาคกลาง และภาคใต้ เกษตรกรโค่นต้นเงาะออก เพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนทดแทน อีกทั้งเงาะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวและผลตอบแทนจากการปลูกเงาะที่ไม่จูงใจ

ลองกอง ปี 2568 เนื้อที่ให้ผล 144,425 ไร่ ลดลงจาก 152,252 ไร่ (ลดลง 7,827 ไร่ หรือร้อยละ 5.14) ผลผลิต 52,480 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 47,262 ตัน (เพิ่มขึ้น 5,218 ตัน หรือร้อยละ 11.04) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 363 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 310 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 53 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 17.10) โดยเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศคาดว่าลดลง เนื่องจากราคาลองกองที่ไม่จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษามาอย่างต่อเนื่องหลายปี เกษตรกรจึงทยอยโค่นต้นลองกองที่มีอายุมาก และต้นลองกองที่ปลูกผสมกับพืชหลัก เช่น ทุเรียน เพื่อดูแลพืชหลักซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่า

ลิ้นจี่ ปี 2568 เนื้อที่ให้ผล 78,692 ไร่ ลดลง ลดลงจาก 82,934 ไร่ (ลดลง 4,242 ไร่ หรือ ร้อยละ 5.11) ผลผลิต 36,451 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 13,952 ตัน (เพิ่มขึ้น 22,499 ตัน หรือร้อยละ 161.26) ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 463 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก 168 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้น 295 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 175.60) สำหรับเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตในภาคเหนือ เกษตรกรโค่นต้นลิ้นจี่เพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน อโวคาโด มะม่วง และเงาะ และแหล่งผลิตในภาคกลาง เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนลิ้นจี่เพื่อปลูกทุเรียนและมะพร้าวน้ำหอม

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการไม้ผล ปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กำกับดูแล และให้จังหวัดบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ผ่านคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยเน้นการบริหารจัดการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 – 2570 ประกอบด้วย การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ มีแผนงาน/โครงการ การจัดการและพัฒนาด้านคุณภาพผลผลิต เช่น ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และ GI การส่งเสริมการบริโภค ประชาสัมพันธ์ และการป้องกันผลผลิตด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด รวมถึงการเชื่อมโยงการตลาดและเพิ่มมูลค่าผลผลิต การบริหารจัดการเชิงปริมาณ มุ่งเน้นการบริหารจัดการผลผลิตในฤดูกาล โดยจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน การประมาณการผลผลิตล่วงหน้า สำรวจและจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงตลาดเพื่อรองรับผลผลิต โดยจัดทำข้อมูลความต้องการทางการตลาดจากผู้ประกอบการ เช่น ผู้รวบรวม ผู้ส่งออก สหกรณ์ โรงงานแปรรูป และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น