เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่กลายเป็นไวรัลอย่างมากอยู่ในขณะนี้ หลังเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 68 แฟนเพจ “เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม“ ได้ออกมาโพสต์เคสผู้ป่วยหญิงอายุ 42 ปี เข้ารับการตรวจ พบว่ามี “ติ่งเนื้อจำนวนมากในกระเพาะอาหารส่วน corpus” และมีบริเวณเยื่อบุซีดขนาด 15 มม. ผลชิ้นเนื้อพบว่าเป็น “fundic gland polyps” และ “มะเร็งต่อมกระเพาะอาหารชนิด tubular และ papillary adenocarcinoma” อีกทั้งไม่พบเชื้อ “H. pylori” และไม่มีติ่งเนื้อในลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ ผลตรวจพันธุกรรมพบการกลายพันธุ์ใน ยีน APC (exon 1B) สอดคล้องกับโรค GAPPS ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อเฉพาะในกระเพาะ และมีความเสี่ยงกลายเป็นมะเร็ง จึงวทำให้แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดกระเพาะทั้งหมด แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ จึงรักษาด้วย การเลาะเนื้อร้ายผ่านกล้อง (ESD) และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด 6 เดือน หลังรักษาไม่พบการกลับเป็นซ้ำ

โดยเพจเอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม ระบุข้อความว่า “ลักษณะของมะเร็งกระเพาะอาหาร ติ่งเนื้อจำนวนมากในกระเพาะอาหาร (gastric polyposis) เป็นเคสผู้ป่วยหญิงที่ต่างประเทศ หญิงวัย 42 ปี ไม่เคยสูบบุหรี่ และไม่เคยใช้ยากลุ่ม proton-pump inhibitors มีประวัติว่าลุงทางฝ่ายแม่ก็เคยเป็นโรคติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารเช่นกัน แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าปกติ และการตรวจเลือดไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ Helicobacter pylori การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (upper endoscopy) พบว่ามีติ่งเนื้อจำนวนมาก อยู่ในส่วนของกระเพาะอาหาร (gastric corpus)”
อีกทั้ง “พบบริเวณเยื่อบุที่ดูซีดขนาดประมาณ 15 มิลลิเมตร ตามแนวส่วนโค้งนอกของกระเพาะ (greater curvature) ผลตรวจชิ้นเนื้อ คือ ติ่งเนื้อที่ตัดมาตรวจสอดคล้องกับ fundic gastric polyps ส่วนเยื่อบุซีดนั้นพบว่าเป็นมะเร็งต่อม adenocarcinoma) ชนิด tubular และ papillary ไม่พบติ่งเนื้อในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และลำไส้ใหญ่ (colon) การตรวจพันธุกรรม พบว่ามีการกลายพันธุ์แบบก่อโรค (pathogenic variant) ในยีน APC (exon 1B) ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับ adenomatous polyposis coli จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารชนิด adenocarcinoma ร่วมกับโรค GAPPS (gastric adenocarcinoma and proximal polyposis of the stomach)”
“ซึ่งเป็นกลุ่มอาการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ที่มีลักษณะเด่นคือติ่งเนื้อจำนวนมากในกระเพาะส่วนต้น ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้ โดยไม่มีติ่งเนื้อในลำไส้เล็กหรือใหญ่ แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดกระเพาะอาหารทั้งหมด (total gastrectomy) แต่ผู้ป่วยปฏิเสธจึงทำการรักษาด้วยการตัดเนื้อร้ายออก โดยการเลาะใต้เยื่อบุผ่านกล้อง (endoscopic submucosal dissection, ESD) แทน จากนั้นได้เฝ้าระวังอาการด้วยการส่องกล้องตรวจซ้ำเป็นระยะ และในช่วง 6 เดือน หลังการรักษา ไม่พบว่ามีการกลับมาเป็นซ้ำ”
ขอบคุณข้อมูล : เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม