รู้กันหรือไม่ว่า? ทุกวันวันที่ 10 ก.ค. ของทุกปี เป็น “วันถั่วนัตโตะ” (Natto day) ก่อตั้งในปี 2524 โดยอุตสาหกรรมสหกรณ์นัตโตะภูมิภาคคันไซ และต่อมาในปี 2535 ก็กำหนดให้เป็นวันถั่วนัตโตะครอบคลุมไปทั่วประเทศ โดยที่มาของวันนี้ก็คือการเล่นคำในภาษาญี่ปุ่นของวันนี้ก็คือ คำว่า เกิดจากการพ้องเสียงของนัตโต นัต(なっ=7) โต (とう=10) なっ(7)とう(10) ซึ่งญี่ปุ่นจะลำดับเป็นปี เดือน วัน วันที่ 10 เดือน 7 จึงเป็นวันนัตโตนั่นเอง

“นัตโตะ” หรือ “ถั่วเน่าญี่ปุ่น” คืออะไร

นัตโตะเป็นอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ที่ทำมาจาก “ถั่วเหลืองหมัก” วิธีการดั้งเดิมในการทำ ถั่วเน่าญี่ปุ่น จะทำโดยการนำถั่วเหลืองต้มห่อด้วยฟางข้าว หลังจากนั้นก็จะเกิดแบคทีเรียบาซิลลัสซับทิลิส (Bacteria Bacillus Subtilis) ขึ้น นัตโตะมีลักษณะเหนียวและลื่น เป็นเมนูที่มีกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างฉุน โดยปกติแล้วที่ญี่ปุ่นมักจะรับประทานนัตโตะกับข้าวสวย โดยจะราด ซอสถั่วเหลืองหรือ มัสตาร์ดลงในนัตโตะ

เรื่องราวของ “ถั่วเน่าญี่ปุ่น”

หนึ่งในเรื่องเล่าอันเป็นที่พูดถึง ต้องย้อนไปในปี ค.ศ. 1080 ช่วงระหว่างสงครามโกซันเนน (Gosannen War) เมื่อซามูไรผู้ยิ่งใหญ่นาม “มินาโมโตะ โนะ โยชิเอะ” (Minamoto no Yoshīe) และกองทัพของเขากำลังเดินทางไปพิชิตดินแดนทางตอนเหนือของญี่ปุ่น อยู่มาคืนหนึ่ง นักรบลี้ภัยที่ฟาร์มในชนบทได้พักกินอาหารเย็นง่ายๆ ประกอบด้วยข้าว และถั่วเหลืองต้ม ขณะที่กินก็มีข่าวว่าศัตรูเข้ามาใกล้ พวกเขาจึงตัดสินใจถอยทัพ โดยห่ออาหารด้วยฟางข้าวอย่างรวดเร็ว ซึ่งฟางเป็นแหล่งธรรมชาติของ “แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลีส” (Bacillus subtilis)

เมื่อห่อเรียบร้อยก็นำอาหารทั้งหมดขึ้นไปไว้บนหลังม้า อาหารเหล่านั้นจึงได้รับความอบอุ่น และความชื้นของเหงื่อม้า หลังเหตุการณ์สงบ หรือ 2 วันต่อมา พวกเขาเปิดห่อ และค้นพบถั่วเหลืองที่ถูกหมักมีรสชาติอร่อย แถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

แต่ละปี ญี่ปุ่นผลิตและบริโภคนัตโตะประมาณครึ่งล้านตัน ในอดีตภูมิภาคมิโต (Mito) ถือเป็นศูนย์กลางของการผลิตนัตโตะ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นแหล่งปลูกถั่วเหลืองขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งเหมาะสำหรับการทำนัตโตะที่สุด ทุกวันนี้เมืองมิโตะถูกระบุว่าเป็นแหล่งกำเนิดของนัตโตะ และยังคงเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมนัตโตะในญี่ปุ่น

ประโยชน์ของ “ถั่วเน่าญี่ปุ่น” ต่อสุขภาพ

1. ช่วยย่อยอาหาร
โปรไบโอติกในนัตโตะสามารถป้องกันสารพิษและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อลำไส้ ช่วยลดปริมาณสารอาหารที่ร่างกายดูดซึมจากอาหารได้ เสริมระบบย่อยให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น ลดก๊าซ ท้องผูก ท้องร่วง และท้องอืด นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันอาการลำไส้ใหญ่เป็นแผล และโรคลำไส้อักเสบ

2. บำรุงกระดูก
วิตามิน K2 ซึ่งพบในนัตโตะนั้นมีคุณสมบัติสำคัญคือ การรักษาโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคข้อเข่าเสื่อม งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Osteoporosis International พบว่า การบริโภคนัตโตะส่งผลให้สุขภาพกระดูกดีขึ้น หลังจากศึกษาจากผู้ชายชาวญี่ปุ่นสูงอายุมากกว่า 1,600 คน ผลคือผู้ที่บริโภคถั่วเน่าญี่ปุ่นมากขึ้นมีกระดูกแข็งแรงเนื่องจากปริมาณวิตามินเคในถั่วเน่านั่นเอง

3. บำรุงหัวใจและหลอดเลือด
นัตโตคิเนสเป็นเอนไซม์ในถั่วเน่าญี่ปุ่นที่เกิดจากระบวนการหมัก ทำหน้าที่เป็นทินเนอร์ตามธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือด นักวิจัยพบว่า นัตโตคิเนสมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และป้องกันระบบประสาท

4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
นัตโตะมีสารอาหารหลายอย่างที่อาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โปรไบโอติกที่ทำให้ลำไส้แข็งแรง ป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย และอาจช่วยเพิ่มการผลิตแอนติบอดีตามธรรมชาติ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และช่วยให้คุณฟื้นตัวเร็วขึ้นหลังจากอาการป่วย

5.ช่วยยืดอายุขัย
อย่างที่กล่าวข้างต้นไปว่า ถั่วเน่าญี่ปุ่นสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก มีรายงานการศึกษาปี 2018 กล่าวว่า “เชื่อว่าการบริโภคนัตโตะมีส่วนสำคัญต่อการมีอายุยืนยาวของชาวญี่ปุ่น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าการบริโภคถั่วเน่าปริมาณมากมีลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือด

6. ลดความดันโลหิต
การศึกษาพบว่า ผู้คนที่มีความดันโลหิตสูงจำนวน 79 คน ที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือพบว่าการบริโภคนัตโตะช่วยลดความดันโลหิตได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ทั้งยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจนั่นก็คือ การลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง

รู้หรือไม่? “เมืองมิโตะ” (Mito City) จังหวัดอิบารากิ เป็นแหล่งผลิตนัตโตที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น !!! ในร้านอาหารที่เมืองนี้มีเมนูนัตโตมากมายให้เลือกรับประทาน สำหรับคนที่ไม่เคยลองกินนัตโต หรือเคยลองแล้วแต่ก็ไม่สามารถเอาชนะรสชาติและสัมผัสนั้นได้ หากได้มาลองรับประทานนัตโตของเมืองมิโตะ จะสามารถทะลายกำแพงที่มีระหว่างเรากับนัตโตได้เลย อร่อยและรับประทานง่าย เหมือนได้เคี้ยวถั่วเนื้อแน่น มีรสฉุนออกจมูกเหมือนกินวาซาบิหรือมัสตาร์ด..

ขิบคุณภาพประกอบ : pixabay