รู้กันหรือไม่ว่า? ทุกวันที่ 12 ก.ค. ของทุกปีเป็น “วันแห่งการตรวจสุขภาพ 人間ドックの日” โดยก่อตั้งในปี 1954 และได้มีการเริ่มต้นตรวจสุขภาพอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ของโตเกียว (NCGM) จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดวันนี้ให้เป็นวันแห่งการตรวจสุขภาพ

ทุกคนเคยสงสัยไหม “ทำไมต้องตรวจสุขภาพทุกปี”

ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักจะดำรงชีวิต ในสภาวะที่เต็มไปด้วยความสกปรก-ความเครียดสะสมของการทำงาน เหตุเพราะต้องแข่งกับเวลา อีกทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่เร่งรีบ จึงทำให้การดูแลเอาใจใส่สภาพร่างกายอาจถูกละเลย จะมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดโรคร้าย ซึ่งทำให้การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้เราค้นพบความเสี่ยงของการเกิดโรค ช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคได้ อาทิ การให้วัคซีน ยาหรือสารเคมีบางชนิด เพื่อป้องกันโรค ทั้งยังสามารถบอกความแข็งแรงของร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี

การตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ!

  • ช่วงวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ส่วนใหญ่จะแข็งแรงและไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่หารู้ไม่ว่าช่วงวัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสะสมโรค โดยจะส่งผลอีกทีในตอนที่อายุมากขึ้น เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อาจเป็นไปได้ว่าไม่ค่อยได้ใส่ใจในอาหารการกินมากนัก เพราะฉะนั้นโปรแกรมตรวจที่เหมาะสมกับช่วงนี้ควรจะเป็นการตรวจร่างกายโดยรวม ตรวจความสมบรูณ์ของเม็ดเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับ ตรวจการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะและเอกซเรย์ปอด เป็นต้น
  •  ช่วงวัย (อายุ 19-39 ปี) คนส่วนใหญ่ในช่วงวัยทำงานนี้มักจะทำงานหนักเกินไปจนลืมดูแลตัวเอง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย โรคภัยไข้เจ็บถามหา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ดังนั้นจึงควรมีรายการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมเป็นตัน
  • ช่วงวัยกลางคน (อายุ 40-59 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมในชีวิตในทุกๆด้าน เช่น หน้าที่การงาน บ้าน รถ เงินเก็บและเริ่มออกเที่ยวหาความสุขให้กับชีวิตจนลืมดูแลสุขภาพ พบว่าอาการของโรคจะเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้หญิงควรจะเน้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ผู้ชายควรเน้นการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากในช่วงอายุ 50 ปี (ยกเว้นผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจช่วงอายุ 40 ปี) ในช่วงวัยนี้ควรตรวจหาHโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน โรคมะเร็งและตรวจสายตา เป็นต้น
  • วัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เป็นวัยที่ควรเน้นการตรวจการทำงานของร่างกายอย่างละเอียด เนื่องจากสุขภาพร่างกายจะเริ่มถดถอย มีความเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง อวัยวะในช่องท้อง ระบบทางเดินอาหาร ไต เป็นต้น อีกทั้งกระดูกจะเริ่มบางและพรุนไปตามกาลเวลาซึ่งส่งผลให้กระดูกหักง่าย ดังนั้นควรได้รับการตรวจและปรึกษาจากแพทย์เป็นประจำทุกปี เมื่อเราตรวจสุขภาพประจำปีอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยแล้ว ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าคนในครอบครัวจะมีสุขภาพที่ดีได้ไม่ยาก หากแต่เราต้องไม่ลืมที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเช่นกัน

ทั้งนี้ “การตรวจสุขภาพเป็นประจำส่งผลดีในการดูแลรักษาสุขภาพ” เพราะจะช่วยให้เราค้นพบความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ช่วยทำให้เรารู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรคนั้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถเริ่มดูแลสุขภาพง่ายๆ ได้ที่บ้าน โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาที และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย ก็ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้อย่างง่ายดาย…

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ @โรงพยาบาลจุฬารัตน์,@Pixabay