มะเร็งอวัยวะเพศชายติดต่อได้หรือไม่?
มะเร็งอวัยวะเพศชายไม่ติดต่อ อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสเอชพีวีซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่งของมะเร็งอวัยวะเพศชาย สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังบ่อยที่สุด ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันเอชพีวีแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การร่วมเพศทางปาก และทางทวารหนัก

การตรวจวินิจฉัยและการทดสอบมะเร็งอวัยวะเพศชาย
มะเร็งอวัยวะเพศชายได้รับการวินิจฉัยอย่างไร?
แพทย์ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพอาจดำเนินการต่อไปนี้เพื่อพิจารณาว่าคุณเป็นมะเร็งหรือไม่ :

การตรวจร่างกายและการซักประวัติ :
ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อหรือการเปลี่ยนสีที่อวัยวะเพศของผู้ป่วย แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการ นิสัย และความเจ็บป่วยในอดีตของผู้ป่วยด้วย ข้อมูลนี้สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพระบุได้ว่าการเปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นผลมาจากมะเร็งหรือสาเหตุที่พบบ่อยกว่า เช่น การติดเชื้อหรืออาการแพ้ แพทย์จะตรวจต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ

การตรวจชิ้นเนื้อ :
การตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีเดียวที่จะยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง ในระหว่างขั้นตอนนี้ แพทย์จะนำเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ดูน่าสงสัยออก ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ หรือนักพยาธิวิทยา จะดูเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาลักษณะของมะเร็ง

การตรวจทางเอกซเรย์ :
ผู้ป่วยอาจต้องถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด เป็นการตรวจเพื่อประเมินระยะของโรค แพทย์บริการด้านการดูแลสุขภาพอาจสั่งการสแกนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่าซีทีสแกน (Computerized Tomography : CT Scan), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI), อัลตราซาวด์, เพ็ทสแกน (PET scan:เป็นการตรวจดูอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกายในระดับโมเลกุลโดยใช้สารเภสัชรังสี ) หรือการเอกซเรย์หน้าอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมะเร็งของผู้ป่วย.

……………………………………………….
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…