ภายหลังจาก คดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ในช่วงปีพ..2558 กลับเป็นข่าวใหญ่ที่ผู้คนให้ความสนใจอีกครั้ง จากที่ นายรังสิมันต์ โรม..บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ขุดเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 152 ในสภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ..2565 ถัดมาช่วงเช้าวันที่ 19 ..2565 ยังติดต่อ พล...ปวีณ พงศ์สิรินทร์ (นรต.35)อดีตรองผบช..8 หัวหน้าชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา มาสัมภาษณ์สดเปิดใจเป็นครั้งแรกผ่านวีดีโอคอล หลังต้องลี้ภัยไปประเทศออสเตรเลีย นานกว่า 6 ปีแล้ว ยิ่งกลายกลายเป็นข่าวฮือฮาในสังคมขึ้นไปอีก

ทีมข่าวเฉพาะกิจเดลินิวส์ ได้ไปติดตามข้อมูล คดีค้ามนุษย์โรฮีนจา มานำเสนอทบทวนเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างไปแล้วใน (ตอนที่1) แต่อย่างไรก็ดีภายหลังจาก พล.ต.ต.ปวีณ หัวหน้าชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา สามารถระดมหลักฐานสำคัญมากมาย จนสามารถติดตามจับกุมบรรดานายทุนใหญ่ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ทั้งในจ.สงขลา สตูล และระนอง รวมไปถึงข้าราชการอีกหลายหน่วยที่เกี่ยวข้อง จนได้หลักฐานสำคัญทางการเงินทำให้สาวไปถึง พล.ท.มนัส คงแป้น (ตท.16/จปร.27)ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก (ตำแหน่งขณะนั้น)

แต่ไม่น่าเชื่อ ใครจะไปคาดคิดว่า หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน พล...ปวีณ หัวหน้าชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์ฯ มือกฎหมายตรงฉินจนได้ฉายาว่า“ไม้บรรทัด”อีกคนของตำรวจในพื้นที่ภาคใต้ จะมาตัดสินใจลี้ภัยไปออสเตรเลีย !!

จับกุมครั้งประวัติศาสตร์ทั้ง“ทหารตร.”

หากลำดับเหตุการณ์ ภายหลังจาก พล.ท.มนัส ถูกออกหมายจับได้ติดต่อเข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2558 แม้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ชุดทำงานยังขยายผลไปยังข้าราชการอีกหลายหน่วยงานถูกออกหมายจับในเวลาต่อมา โดยมีทหารบก ระดับ พ.อ., ร.อ. ทหารเรือยศ น.ท., ตำรวจ 3 หน่วย ทั้ง ตชด.,ตม. และ บช.ภ.9 มีหลักฐานพบว่าร่วมสนับสนุนการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ยังพบมีเจ้าหน้าที่ซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่ก็ถูกย้ายออกจากพื้นที่กราวรูดกว่า 150 นาย

พล...เอก รอง ผบ.ตร. หัวหน้าชุดคลี่คลายคดีการค้ามนุษย์ ในขณะนั้น พร้อมกับ พล...ปวีณ หัวหน้าชุดพนักงานสอบสวน พร้อมทีมสอบสวนมือดีอีกจำนวนมากถูกดึงเข้าไปร่วมสอบสวนทำคดี ที่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธภาค 9 ส่วนหน้า ตั้งแต่ 1 พ.ค.-29 ก.ย.2558 นานกว่า 5 เดือน แยกเป็น คดีค้ามนุษย์ และ คดีฟอกเงินมีความผิด 16 ข้อหา ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ฯ พ.ศ.2551, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติฯ พ.ศ.2546 และพ.ร.บ.ฟอกเงิน พฤติกรรมผู้ต้องหาโยงใยกันเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่ไม่ได้ผลักดันเรือมนุษย์ชาโรฮีนจาออกนอกน่านน้ำไทยตามนโยบายของรัฐบาล แต่กลับร่วมกันวางแผนลักลอบพาชาวโรฮีนจาขึ้นฝั่งแล้วไปพักไว้ที่ค่ายกักกันในป่าเพื่อหาทางส่งต่อไปยังประเทศที่สาม

โดยในส่วนของคดีค้ามนุษย์ออกหมายจับผู้ต้องหา 153 คน (ได้ตัว 91 คน) คดีฟอกเงิน ออกหมายจับ 79 คน (ได้ตัว 40 คน) สรุปสำนวนมากถึง 699 แฟ้ม (37 กล่อง) ซึ่งต้องใช้เครื่องบินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขนสำนวนไปส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา ในวันที่ 1 ต.ค.2558

คดีนี้ต่อสู้ยืดเยื้อกว่า 2 ปี ศาลใช้เวลาไต่สวนพยานกว่า 200 ปาก ตั้งแต่ มี.ค.2559 – 24 ก.พ.2560 โดยพล.ท.มนัส ไม่ได้รับการประกันตัวแต่อย่างใด กระทั่ง วันที่ 19 ..2560 องค์คณะผู้พิพากษาแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาแบบมาราธอน นาน 13 ชั่วโมง โดยองค์คณะ 9 คนผลัดเปลี่ยน อ่านคำพิพากษาโดยมีการพักเบรก 2 ครั้งๆละ 30 นาที คำพิพากษาชั้นต้นเปิดเผยระบบค้ามนุษย์เป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีการข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย กระทำชำเรา เรียกค่าไถ่ ฯลฯ เรียกคนเป็นตัว, เชือก,ลัง โดยผู้ถูกดำเนินคดีมีทั้งนายทหาร, ตำรวจ, นักธุรกิจ,กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ

ศาลชั้นต้น ตัดสินจำคุกจำเลย 62 ราย มีตั้งแต่ 14 ปี ไปจนสูงสุด 78 ปี ยกฟ้องจำเลย 40 ราย ส่วนพล..มนัส จำคุก 27 ปี ต่อมาภายหลังยังถูกรวมโทษคดีฟอกเงินที่ได้จากการค้ามนุษย์ อีก 20 ปีเป็น 47 ปี

พล.ท.มนัส”จบชีวิตหัวใจวายคาเรือนจำ

หลังจากนั้นถัดมาอีก2 ปี วันที่ 19 ..2562 ศาลอุทธรณ์ พิพากษาเพิ่มโทษพล.ท.มนัส ความผิดฐานค้ามนุษย์ฯ 4 กรรม รวมเป็น 82 ปี โดยให้ได้รับโทษจริง 50 ปี

กระทั่ง วันที่ 3 มิ..2564 กรมราชทัณฑ์ ออกมาเผยแพร่เอกสารยืนยันการเสียชีวิตของ พล..มนัส คงแป้น อายุ 65 ปี ระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงค่ำวันที่ 2 มิ.ย. 2564 ระบุว่า พล.ท. มนัส ถูกส่งเข้ารับการรักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มาตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.2564 เนื่องจากมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง และหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เมื่อวานนี้ (2มิ.ย.2564)ขณะเดินออกกำลังกายมีอาการวูบหมดสติไม่รู้สึกตัว นอนนิ่ง ไม่หายใจ คลำชีพจรไม่ได้ ผู้เห็นเหตุการณ์จึงได้แจ้งผู้คุมและเจ้าหน้าที่ จากนั้นพยาบาลแรกรับจึงได้ทำการกู้ชีพ กดนวดหัวใจ (CPR) และใส่ท่อช่วยหายใจ ผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นลบ แพทย์ได้ทำการรักษาเพื่อช่วยชีวิตอย่างเต็มความสามารถ แต่ พล..มนัส ไม่มีการตอบสนองไม่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเสียชีวิตในเวลา 19.40 .(2มิ..2564) แพทย์วินิจฉัยพบว่า เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

อย่างไรก็ดี คดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ยังคงมีปมค้างคาใจผู้คนในสังคมอีกเรื่องที่ยังคงพูดถึงตั้งแต่ปลายปี 2558 มาจนถึงปัจจุบัน คือประเด็นของพล.ต.ต.ปวีณ หัวหน้าชุดสอบสวนที่ทำคดีตั้งแต่แรก แล้วเหตุผลที่แท้จริงคืออะไร ทำไมทำให้นายพลตำรวจมือกฎหมาย ต้องตัดสินใจลี้ภัยไปอยู่ประเทศออสเตรเลีย ที่สำคัญ นายรังสิมันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ยังได้ขุดเรื่องนี้มาพูดต่อกลางสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2565 เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล

เปิดปม“พล...ปวีณ”ลี้ภัยออสเตรเลีย

โดยเฉพาะประเด็น หลังจากพล.ต.ต.ปวีณ ทำคดีค้ามนุษย์อย่างตรงไปตรงมา จนทำให้สามารถออกหมายจับนายทหารระดับ “พล..” รวมถึงบรรดานายทุน นักการเมืองท้องถิ่นภาคใต้ แต่กลับถูกย้ายไปประจำ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.)อ.เมือง จ.ยะลา พล.ต.ต.ปวีณ รับราชการเติบโตมาจากในพื้นที่ภาคใต้โดยตรง เคยไปอยู่มาแล้วไม่ว่าจะเป็น ระนอง สตูล และสงขลา แต่การโยกย้ายครั้งนี้มันแตกต่างจากสิ้นเชิง บรรดาผู้ต้องหาที่ถูกจับครั้งประวัติศาสตร์ หลายคนชื่อชั้นไม่ธรรมดาแถมมีถึง 3 เหล่า ทั้ง ทหารบก – ทหารเรือ ตำรวจ ผู้ต้องหาบางคนถึงกับพูดออกมาให้ได้ยิน “ผมไม่ใช่ตะเกียงขาดน้ำมัน

บางครั้งสัญญานญานความเป็นตำรวจบ่งบอกให้รู้ว่า กำลังเหมือนถูก “ล็อกเป้า” ให้ย้ายเข้าไปในพื้นที่ล่อแหลม ถ้าลองนึกภาพย้อนหลังกลับไป 7 ปีก่อน เพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 22 ..2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาได้เพียงปีเศษ ช่วงนั้นถือว่าทหารกำลังเรืองอำนาจ แต่นายทหารยศใหญ่ “พล..” กับมาถูกตำรวจจับกุมในคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาจนเป็นข่าวฉาวโด่งดังไปทั่วโลก

พล.ต.ต.ปวีณ ตอนนั้นยังเหลืออายุราชการอีก 3 ปี พยายามขอให้ทบทวนคำสั่งแล้ว แต่เมื่อไม่ได้รับความสนใจจึงยื่นใบลาออกจากราชการตำรวจ อาชีพที่ตัวเองรักศรัทธาทำมานาน 37 ปี เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2558 หลังจากนั้นตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศออสเตรเลีย พร้อมยื่นเอกสารทำเรื่องขอลี้ภัยทันที แม้ผู้ใหญ่จะมาอ้างภายหลังเห็นเป็นนายตำรวจมือกฎหมายมีความสามารถจึงให้ไปสานงานคดีค้ามนุษย์ต่อในพื้นที่ และเมื่อถูกข่มขู่ทำไมไม่แจ้งจะได้ติดตามจับกุม นอกจากนี้ช่วงปลายปี2558 พล.ต.อ.เอกรอง ผบ.ตร. หัวหน้าชุดคลี่คลายคดีการค้ามนุษย์ ซึ่งอาวุโสอันดับหนึ่ง เคยถูกเสนอชื่อชิงเก้าอี้ ผบ.ตร. ก็ได้ถูกโอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือน ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนเกษียณอายุราชการ

หลังเหตุการณ์ผ่านไป 6 ปี การที่ พล.ต.ต.ปวีณ ยอมออกมาเปิดใจอย่างเป็นทางการครั้งแรกผ่านทางวีดีโอคอล โดยมีหลากหลายประเด็นที่สังคมสนใจ จนสื่อนำไปตีแผ่เสนออย่างละเอียด โดยเฉพาะคำพูดบางช่วงบางตอนที่ไม่ซับซ้อนว่าวันนี้เป็นวันที่มีความสุข เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ติดอยู่ในใจ มันเครียด กลัว นับจากที่ออกจากประเทศไทย จากการปฏิบัติหน้าที่แล้วถูกกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรมพร้อมทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่าผมยังอยากกลับประเทศไทยเพราะเป็นบ้านเกิด ผมยังมีบุคคลที่รักที่ยังอยู่ที่นั่น !!.

ทีมข่าวเฉพาะกิจเดลินิวส์ รายงาน

ย้อนรอยคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา (1) ทำไม ‘หัวหน้าชุดสอบสวน’ลี้ภัย!