ถือว่ากลายเป็นเผือกร้อนที่กำลังถูกสังคมจับตา กับปัญหาใหญ่ของ สถานปฏิบัติธรรม ชยันโตโพธิธรรมรังสี หรือ“ธรรมสถานวิโมกสิวาลัย” ตั้งอยู่เลขที่ 59/9 หมู่ 7 ถนนห้วยผาก-บ่อหวี ต.มะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่ตั้งของ มูลนิธิสิริสาโร หลวงพี่อุเทน เจ้าอาวาสวัดท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่ง โยคีปอ-ตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ และ โยคีโรเบิร์ต-ไพบูลย์ ตรีกาญจนานันท์ 2ผู้ต้องหาจาก คดีดาราสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ พลัดตกจากเรือสปีดโบ๊ตจมแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต ไปเข้าทำพิธีบวชโยคีพราหมณ์

เมื่อไปพบว่าสถานปฏิบัติธรรมดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 38-40 ไร่ อยู่ บนพื้นที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์บริเวณรอบๆนั้นใช้เป็นที่ อยู่อาศัย และ ทำเกษตรกรรม  ชาวบ้านได้ยื่นเรื่องเช่าตามขั้นตอน แต่ของของสำนักปฎิบัติธรรมนั้น เข้ามาอยู่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2551ยังไม่ได้รับความยินยอมจาก กองพลพัฒนาที่1 เคยพยายามจะยื่นขอเป็นวัด แต่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ เพราะบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตร มี วัด อยู่จึงทำไมได้ พอเป็นข่าวใหญ่ขึ้นมาทำให้ นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ และ พล..มนิต ศิริรัตนากูล ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่1 ซึ่งดูแลใช้ประโยชน์พื้นที่ราชพัสดุในอ.สวนผึ้ง ต้องลงไปตรวจสอบพื้นที่

จับตาสางปมใหม่รุกที่ราชพัสดุสวนผึ้ง

จากเรื่อง 2 โยคีไปปฏิบัติธรรม บานปลายกลาย ไปพบข้อมูลเรื่องการเข้าไปใช้ที่ดินราชพัสดุ โดยยังไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีสัญญา ทำให้สังคมต่างจับจ้องมองว่าหน่วยงานภาครัฐ ทั้งกรมธนารักษ์ และ ทหารกองพลพัฒนาที่1 จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร ?

นอกจากนี้ยังเป็นที่แปลกใจว่า มีการก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมใหญ่โต ในพื้นที่กว่า 38 ไร่ มานานกว่า 14 ปีแล้ว แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่งจะตื่นตัวเข้าไปตรวจสอบ เมื่อเรื่องแดงทางเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯเพิ่งจะไปขอยื่นเอกสารเช่าพื้นที่เมื่อวันที่21มี.ค.65 ทั้งที่ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงานพยายามเข้าไปจัดระเบียบแก้ปัญหา นายทุนอิทธิพลกลุ่มเศรษฐี บิ๊กข้าราชการ รวมไปถึงศิลปินดารา แทบจะทุกวงการ ฯลฯ หลั่งไหลกันเข้าบุกรุกที่ดินราชพัสดุ ในพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จนเกิดการจัดระเบียบ ยกให้เป็น “สวนผึ้งโมเดล” เหมือนทำท่าจะเป็นรูปเป็นร่าง แต่สุดท้ายปัญหาก็หมุนวนกลับมาแทบจะเหมือนเดิม ขณะ ทีมข่าวเฉพาะกิจส่วนกลาง เดลินิวส์ ลงพื้นที่ไปทำข่าวรอบนี้ในอ.สวนผึ้ง ขับรถผ่านยังพบมี ปักป้ายประกาศติดขาย-ให้เช่าที่ดินทั้งแปลงใหญ่ แปลงเล็กกันอย่างโจ่งครึ่ม แม้กระทั่งที่ดินไม่ห่างไกลกับสำนักปฏิบัติธรรมฯเท่าไรนักก็มีป้ายประกาศขายเช่นกัน พอสื่อไปเห็นก็รีบมาเก็บออกทันที

ทีมข่าวเฉพาะกิจฯ มีโอกาสได้พูดคุยกับ อดีตนายทหาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการจัดระเบียบสวนผึ้งโมเดล กว่า10 ปีที่ผ่านมา เล่าให้ฟังถึงปูมหลังที่มาของ ที่ราชพัสดุ แปลงพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ว่า ในอดีตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ราชพัสดุ อ.สวนผึ้ง เป็น พื้นที่หวงห้ามตามพระร าชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี,อ.วังขนาย ,อ.บ้านทวนและอ.วังกะ จ.กาญจนบุรี พ.ศ.2481เป็นพื้นที่สงวนหวงห้าม ตาม มาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วย การหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน พ .ศ.2478 เนื้อที่ประมาณ 5 แสนไร่ ปรากฏตามแผนที่แนบท้ายพ ระราชกฤษฎีกา เป็นพื้นที่ “ ที่ราชพัสดุ ” ประเภทอสังหาริมทรัพ ย์อัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ .ศ. 2518กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนพื้นที่ 2 เป็นแปลงหมายเลขที่ รบ .553

ต่อมากองทัพบกอนุมัติให้หน่วยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เป็นผู้ดูแลและใช้ ประโยชน์ ดังนี้ กรมการทหารช่าง (หน่วยขึ้นตรงกับกองทัพบก ) รับผิดชอบดูแลและใช้ประโยชน์ พื้นที่239,000ไร่ พล.พัฒนา1 (หน่วยรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 1) รับผิดชอบดูแลและใช้ประโยชน์ พื้นที่ 261,000ไร่ รวมเนื้อที่ 500,000ไร่ คลอมคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ 5 ตำบล คือ ต.ตะนาวศรี ต.สวนผึ้ง ต.ชัฏป่าหวาย อ.สว นผึ้ง และต.แก้มอ้น ต.ด่านตะโก อ.จอมบึง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายลูกติดต่อกัน มีพื้นที่ราบเชิงเขาและ พื้นที่ราบ ประปราย เป็นแหล่งต้นน้ าลำธารของแม่น้ าภาชี และแม่น้ำแม่กลอง ปกคลุมด้วยป่าไผ่ และไม้เบญจพรรณ มีเขตชายแดนติดต่อประเทศพม่าระยะทางประมาณ 50-60กิโลเมตร

แฉปัญหายื้ดเยื้อหาทางแก้มาตลอด

ระหว่างปี 2535-2538 กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ร่วมกับส่วนราชการผู้ใช้ประโยชน์ คือ หน่วยทหารที่ได้รับมอบพื้นที่ ได้เข้าไปสำรวจการครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่ และ ฝ่ายปกครอง ในท้องที่ ด้วยการเดินสำรวจเข้าไป ในพื้นที่จริงเพื่อจัดทำแผนที่กายภาพ จากการสำรวจ พบว่ามีผู้บุกรุก พื้นที่ประมาณ 6 พันแปลง เนื้อที่กว่า 1.4 แสนไร่ จึงได้จัดทำแผนที่การครอบครองและใช้ประโยชน์ดังกล่าว เรียกว่า แผนที่กายภาพ ส่วนพื้นที่ที่ประชาชนไม่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ เรียกว่า พื้นที่นอกแผนที่กายภาพ ด้วยสภาพพื้นที่นอกจากจะทำเกษตรได้แล้ว บางจุดมีทั้งแหล่งลำธาร เนินเขา ป่าไม้ นายทุนเริ่มขยับมาทำสวนเกษตรแปลงใหญ่และบ้านพักตากอากาศท่องเที่ยวได้รับความนิยม ทำให้ต้องหาแนวทางการแก้ปัญหามาตลอด

กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 ตุลาคม 2546 แนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุก การใช้พื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์กับกองทัพบก จึงร่วมพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการจัดให้ ผู้บุกรุกเช่า โดย จังหวัดราชบุรีได้ออกเป็นประกาศ เรื่อง การจัดให้ราษฎรที่อยู่อาศัยทํากินในที่ดินราชพัสดุแปลงพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินฯ พ.. 2481 ในเขต อ.สวนผึ้ง และอ.จอมบึง เช่าที่ดินราชพัสดุ นอกจากนี้ธนารักษ์ราชบุรียังดำเนินโครงการรัฐ เอื้อ ราษฎร เพื่อที่จะรับรองสิทธิ์ ให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ราชพัสดุ โดยมีการให้เช่าพื้นที่ราชพัสดุ มีเงื่อนไข 5 ข้อ ตามประกาศจังหวัดราชบุรี

1.กรณีการจัดให้ราษฎรเช่าให้พิจารณาจากผู้ที่บุกรุกอยู่ในช่วงเวลาไม่เกินปี พ.ศ. 2538 ซึ่งได้มีการจัดทําแผนที่กายภาพไว้แล้ว (ปี พ.ศ. 2535-2538)  2.กรณีการตกสํารวจจากข้อ (1) ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าอยู่อาศัยและทําประโยชน์ อยู่จริง แต่ในขณะสํารวจรังวัดไม่ได้อยู่ในพื้นที่ จึงไม่ได้นําทําการสํารวจรังวัด ก็สามารถจัดให้เช่าได้ แต่ต้องให้สํานักงานธนารักษ์พื้นที่ราชบุรีและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์พิจารณาร่วมกัน  3.ต้องเป็นผู้ถือครองที่ดินราชพัสดุ ก่อนวันที่ 4 ต.ค.2546 หากถือครองที่ดินราชพัสดุ หลังปี พ.ศ.2538 แต่ก่อนวันที่ 4 ต.ค.2546 ให้สํานักงานธนารักษ์พื้นที่ราชบุรีและหน่วยงาน  ผู้ใช้ประโยชน์พิจารณาร่วมกัน  4.พื้นที่ต้องมีความลาดชัน ไม่เกิน 35 % และ5. ต้องไม่อยู่ในพื้นที่ต้องห้ามตามมาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำลําภาชี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2538 เรื่อง การกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก


กระทั่งช่วงปี 2553-54 เริ่มมีการเปิดยุทธการ “กระชับพื้นที่ ขอพื้นที่คืนจากนายทุน”อีกครั้ง สามารถจับกุมไปทั้งหมด 85 คดี รวมเนื้อที่กว่า 25,000 ไร่ มีคดีถึงที่สุดที่มีผลคำพิพากษาไปแล้ว 83 คดี โดยศาลพิพากษาว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 ผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อหาบุกรุกที่ดินราชพัสดุ โดยให้ออกจากพื้นที่ทุกราย พร้อมทั้งริบของกลาง อุปกรณ์การแผ้วถาง บุกรุก ทั้งโทษจำคุก และรอลงอาญา  พร้อมกับฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อผู้บุกรุก จนถูกหยิบยกให้เป็น สวนผึ้งโมเดล ตั้งแต่นั้นจึงได้ยึดหลักการนี้ ให้ประชาชนดำเนินการ ขอเช่าพื้นที่ราชพัสดุเป็นหลัก

ฉะนั้นการกระทำการใดๆในที่ดินราชพัสดุในอำเภอสวนผึ้งจะต้องได้รับความยินยอม เห็นชอบ จากกองทัพบก เสียก่อน การใช้พื้นที่ราชพัสดุในสวนผึ้งจำเป็นต้อง ยึดหลักเกณฑ์ของ สวนผึ้งโมเดล เพื่อแก้ปัญหาให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนก่อนหน้านี้.

ทีมข่าวเฉพาะกิจ : รายงาน

ย้อนปูมหลัง “สวนผึ้งโมเดล” แก้รุกที่ราชพัสดุ