ความน่าสนใจของงานแสดงศิลปะครั้งนี้ อยู่ที่เบื้องหลังที่สะท้อนออกมาทางงานเบื้องหน้าได้สวยเด่น เพราะวัตถุดิบชิ้นสำคัญคือ “นํ้าปลา” นำมาผสมผสานกับงานเซรามิกจนได้ลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นลวดลายที่คิดว่าไม่น่าจะมีใครทำ เกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย และ “นํ้าปลา” เป็นภูมิปัญญาทางการทำเครื่องปรุงรสของคนไทย

ชื่องาน Hidden gems สะท้อนได้ว่า นํ้าปลาคืออัญมณีของครัวไทย ชี้ให้เห็นความสลักสำคัญที่คนยังมองไม่เห็น อีกทั้งชิ้นงานเซรามิก และยังมีลูกเล่นที่ผลงานแต่ละชิ้นมีเครื่องประดับ อย่างแหวน กำไล เข็มกลัด ที่ใช้งานได้จริง วางหรือหลบซ่อนตาอยู่เมื่อเดินเข้าไปใกล้จึงได้รู้ว่าคือเครื่องประดับ สามารถหยิบฉวยเครื่องประดับมาใส่ได้ ชิ้นงานยังคงเป็นรูปทรงเป็นงานองค์ประกอบศิลปะแบบพื้นฐาน ทั้งรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย มีช่องว่าง มีความสมดุล มีจังหวะ และมีความเป็นเอกภาพ จึงเป็นงานประติมากรรมกับเครื่องประดับที่มาอยู่ด้วยกัน

รศ.สุขุมาล เล่าถึงที่มาของงานศิลปะ “Hidden gems” ว่าเริ่มมาจากความสนใจ งานมอคคาแวร์ (Mochaware) ซึ่งเป็นภาชนะของอังกฤษ เป็นแก้วมัค แล้วหยดนํ้าดินเปียก หรือนํ้าสลิปลงบนดินปั้นเซรามิกปรากฏเป็นลวดลายต้นไม้ต่าง ๆ ซึ่งการสร้างสรรค์งานลักษณะนี้มีอายุประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว เราสนใจเพราะใช้เทคนิคนํ้ำเคี่ยวกับยาสูบ เอาเหล็กออกไซด์ใส่ลงไปจะเป็นสีนํ้าตาล หยดไปนํ้าดินที่เปียก แล้วจะกระจาย จึงสนใจว่ามีความแปลกและเมืองไทยยังไม่มีใครทำ จึงเขียนเป็นตำราขึ้นมา ชื่อ “เครื่องปั้นดินเผา : การตกแต่งแบบมอคคาแวร์”

เนื้อหาของตำราแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่ไปหาประวัติมีลายกี่แบบและใช้อะไรได้บ้าง ทดลองใช้นํ้าสลัด หยด นํ้าส้มสายชู หรือกระทั่งซีอิ๊ว เพราะในสมัยโบราณมีบันทึกว่านํ้าที่หยดลงในสลิปมีความเป็นกรดอ่อน ซึ่งมีการบันทึกในต่างประเทศเคยใช้เบียร์ หรือนํ้าปัสสาวะของวัว

ดังนั้น เมื่อมาทำงานวิจัยจึงทดลองใช้นํ้าปลา และปรากฏว่าเกิดลวดลายแขนงที่ชัด จึงเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เลือกยี่ห้อนํ้าปลา ที่มีทั้งนํ้าปลาในท้องตลาดทั่วไป และนํ้าปลาระดับพรีเมียมจนถึงนํ้าปลาท้องถิ่น แต่ผลที่ได้ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปริมาณที่ใช้ จะใช้เป็นกรัมตั้งแต่ 10 กรัมผสมลงในนํ้าสลิป เทราดลงไป และช่วงที่ทำงานวิจัยเป็นช่วงการระบาดของโควิด-19 จึงได้ทดลองใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ลงบนชิ้นงานหลังจากเทนํ้าสลิปปรากฏว่าได้ลวดลาย คล้ายกับแสงที่ลอดลงมาตามยอดไม้ เมื่อเราเงยหน้ามองขึ้นไปเป็นแสงระยิบ อันเป็นความตั้งใจของศิลปินที่ตั้งใจให้เกิดลวยลายนี้ขึ้นบนพื้นผิวเซรามิก

จุดมุ่งหมายประการสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ คือต้อง ประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา และประหยัดพลังงาน เมื่อได้ถอดโจทย์ว่านํ้าปลาช่วยเรื่องต้นทุนแล้วซึ่งคนที่อ่านตำรานี้สามารถทำตามได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และใช้นํ้าปลาที่มีขายอยู่ในท้องตลาด โดยระบุไว้ในตำราว่าจะใช้หยดในนํ้าสลิปกี่กรัม จนถึงชื่อดินที่ใช้ ขั้นต่อมาเรื่องการสร้างสรรค์ชิ้นงานตามโจทย์คือ “อัญมณี” ไม่ว่าจะเป็น มรกต ไพลิน ทับทิม ซึ่งมีสีสันสวยงามอยู่แล้ว แต่ ไม่ได้หมายความว่าต้องทำสีสันของเซรามิกให้เหมือนกับเครื่องประดับจริง แต่สีที่ได้เกิดจากแรงบันดาลใจล้วน ๆ ซึ่งงานเซรามิกเป็นงานสามมิติ มีชิ้นงานออกมาเป็นชื่อต่าง ๆ เช่น “นิล” มีโทนของสีดำแสดงถึงความลึกลับ โชว์เครื่องประดับด้วยแหวน ซึ่งสามารถถอดออกมาสวมใส่ได้ หรือชิ้นงาน “บุษราคัม” มีการใช้สีเทาเพื่อชูให้สีเหลืองโดดเด่นขึ้นมา

“อย่าง “นพเก้า” คือพลอย 9 ชนิด เมื่อเราทำสีจึงหยดหลาย ๆ สีแต่นพเก้าจริงต้องมี 9 อีกอันเป็นเพชรจะใสและมีไพฑูรย์ เมื่อดีไซน์งานที่ลงตัวกรวย 7 สีจึงไม่ได้ใส่กรวยครบ 9 แต่ว่าด้วยแรงบันดาลใจมาจากตัวสีที่หยดนับไปได้ 9 สี”  รศ.สุขุมาล เล่าถึงแรงบันดาลใจ

สำหรับชิ้นงานที่เป็นนางเอกของนิทรรศการคือ “นิหร่า” คือ พลอยพม่า มีสีนํ้าเงินอมม่วง มีสาแหรกเส้นข้างในเนื้อพลอย มีเหลือบเป็นพลอยสีทึบ ที่ข้างในมีตุ้มหูและกำไลเก็บไว้ ซึ่งชิ้นงานนี้ได้รับเลือกมาตีพิมพ์เป็นรูปในโบรชัวร์แสดงงาน

ขั้นตอนสำคัญของงานเซรามิก คือการเผา ซึ่งต้องเผาถึง 2 ครั้ง ก่อนที่จะเคลือบสีลงไป งานวิจัยเซรามิกจากนํ้าปลาได้ทดสอบออกมาแล้วว่าเผาในอุณหภูมิความร้อนที่ 800-900 องศาเซลเซียส แล้วจุ่มตัวเคลือบปรากฏว่าลวดลายที่ปรากฏนั้น ไม่ได้แย่และลายจะคมชัดเหมือนเดิม แต่บางชิ้นมีรายละเอียดต้องเผามากกว่าสองครั้งเช่นชิ้นงานที่เป็นเครื่องประดับ

ในงานวิจัยค้นพบว่านอกจากประหยัดต้นทุนแล้วยังช่วยประหยัดพลังงานในการเผา ซึ่งเทคนิคเหล่านี้นำไปประยุกต์ทำเป็นงานเซรามิกชนิดอื่น เช่น แจกัน แก้ว ถ้วย ชาม และ งานเครื่องประดับ การเผาที่อุณหภูมิสูงทำให้เนื้อเซรามิกมีความแกร่ง ดังนั้น การใช้งานจึงไม่ต้องกังวลเรื่องความแตกหักมากนัก

นอกจากนี้ยังให้ เทคนิคเรื่องการกั้นสี โดยใช้วิธีการฉีกกระดาษมากั้นแล้วราดนํ้าสลิป จะออกมาเป็นลวดลายได้เช่นกัน วิธีนี้แก้ปัญหาเรื่องดินทรุดตัว ซึ่งการปั้นเซรามิกมีดินบางชนิดที่หนักเมื่อเทนํ้าสลิปลงไป ดินจะทรุดตัวทำให้ไม่เกิดลาย วิธีกั้นสีแก้ปัญหาได้

การเกิดลาย อธิบายได้ด้วยทฤษฎี Marangoni effect แรงตึงผิวของสลิปและส่วนผสมจากสารที่ต่างกันทำให้การกระจายลายต่างกัน การสร้างสรรค์ลาย การพ่นแอลกอฮอล์ทับบนลายขณะที่สลิปยังเปียกทำให้เกิดลายร่างแหหรือร่มไม้ที่มีความแปลกและสวยงาม เมื่อสลิปยังเปียกและเหลวสามารถหมุนหรือเขย่าชิ้นงานให้ลายไหลไปรวมกันเกิดเป็นลักษณะแนวนามธรรม การใช้เทคนิคสเตนซิลร่วมด้วยทำให้ออกแบบได้หลากหลายและสะดวกต่อการทำงานชิ้นใหญ่ และสามารถควบคุมการหยดให้เป็นรูปทรงสัตว์ต่าง ๆ ได้การหยดลายแล้วพ่นแอลกอฮอล์ทับการหยดลาย พ่นแอลกอฮอล์ทับแล้วหมุนแผ่นทดลองเทคนิคสเตนซิลโดยการฉีกกระดาษกั้นการหยดเป็นตัวสัตว์บทสรุปสำคัญของงานเซรามิกนํ้าปลา

อย่างไรก็ตาม การแสดงงานนิทรรศการเซรามิกงดการสัมผัสเพื่อป้องกันการแตกหัก แต่มีการทำชิ้นเซรามิกชิ้นเล็ก ๆ ที่มีลายแล้ว ผู้เข้าชมนิทรรศการสามารถสัมผัสได้

“สิ่งที่ง่ายสุด คือสิ่งที่คิดยากสุดแล้วในความคิดของเรารศ.สุขุมาล สาระเกษตริน ผู้สร้างสรรค์เซรามิกนํ้าปลา ให้คำนิยามกับงานวิจัยทางศิลปะเซรามิกจากนํ้าปลา.

พรประไพ เสือเขียว