จากกรณี “สารซีเซียม-137” (Cs-137) ที่ใช้กับเครื่องเลเซอร์ เพื่อใช้จับฝุ่นขี้เถ้า ในโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ พื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ได้หายไปจากพื้นที่ โดยเบื้องต้นทราบว่า ตัวเก็บสารดังกล่าวหลุดออกมาจากจุดติดตั้ง เพราะใช้งานมานาน เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า อาจมีชาวบ้านหรือคนเก็บของเก่ามาเจอคิดว่าเป็นเศษเหล็กจึงเก็บเอาไปขาย โดยไม่ทราบว่าวัตถุดังกล่าวเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ จนเกิดการวิตกกังวลงชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงความกังวลถึงอันตรายของชาวเน็ตที่ทราบข่าวนี้นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร เคยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “สารซีเซียม-137” ว่า Cesium-137 (ซีเซียม-137, Cs-37) คือ ไอโซโทปของซีเซียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต (half-life) 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส พบในฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกค้างจากการทดลองลูกระเบิดอะตอม และจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ใช้เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสี (activity of a radionuclide) ในอาหารที่ผ่านการฉายรังสี (food irradiation) หรือการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่เกิดการปนเปื้อนในอาหารจากสิ่งแวดล้อมโดยไม่เจตนา

การปนเปื้อนของซีเซียม-137 ในอาหาร

การปนเปื้อนของซีเซี่ยม-137 ในสิ่งแวดล้อม เกิดจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ มีโอกาสได้โดยตกค้างในสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำพืช สัตว์ จะแพร่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ได้ทางห่วงโซ่อาหาร ด้วยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน

โดยองค์การอาหารและยา กำหนดให้ตรวจปริมาณการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหาร 3 ชนิด คือ ไอโอดีน-131 (Iodine-131) ซีเซียม-137 (Cesium-137) และซีเซียม-134 (Cesium-134) หน่วยวัดปริมาสารกัมมันตรังสีในเครื่องดื่มหรือของเหลวจะใช้หน่วย “เบคเคอเรลต่อลิตร” ส่วนอาหารหรือของแข็งจะมีหน่วยเป็น “เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม”

เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ อาหาร ต้องมี Iodine-131 ไม่เกิน 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ซีเซียม-134 และซีเซียม-137 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม

ซีเซียม-137 เป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เมื่อได้รับเข้าไปในร่างกาย จะกระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ และส่วยน้อยอยู่ในตับและไขกระดูก แต่จะถูกขับออกโดยกระบวนการทางชีวภาพ ทางเหงื่อ และปัสสาวะ

ซึเซียม-137 เป็นสารก่อมะเร็ง โอกาสที่จะเป็นมะเร็งคือต้องกินสารปนเปื้อนนั้น เป็นระยะเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน พิษของ Cesium-137 ให้ผลรุนแรงน้อยกว่าไอโอดีน-131 (Iodine-131)”

ขณะที่ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารกัมมันตรังสีซีเซียม โดยซีเซียมสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำ และกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์

ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

ผลของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต

รังสีทที่แผ่ออกจากธาตุกัมมันตรังสี คือ กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) เมื่อผ่านเข้าไปในสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะทําให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมตามแนวทางที่รังสีผ่านไปทําให้เกิดผลเสียต่อสงสิ่งมีชีวิต 2 แบบ

1.ผลของรังสีที่มีต่อร่างกาย คือ เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผมร่วง เซลล์ตาย เป็นแผลเปื่อย เกิดเนื้อเส้นใยจํานวนมากที่ปอด (fibrosis of the lung) เกิดโรคเม็ดโลหิตขาวมาก (leukemia) เกิดต้อกระจก (cataracts) ขึ้นนัยน์ตา เป็นต้น ซึ่งร่างกายจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับ ส่วนของร่างกายที่ได้ และอายุของผู้ได้รับรังสี

2.ผลของรังสีที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์คือ ทําให้โครโมโซม (chromosome) เกิดการเปลี่ยนแปลง มีผลทําให้ลูกหลานเกิดเปลี่ยนลักษณะได้ โดยหลักการการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเล จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ทะเลได้ โดยเฉพาะที่กลุ่มสารกัมมันตรังสีที่ให้เบต้า จะมีผลต่อการกลายพันธุ์ ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับปริมาณการรับและการสะสม เช่น หากสารกัมมันรังสีลงไปในน้ำ และแพลงก์ตอนรับสารรังสีเข้าไป เมื่อหอย ปลา กินแพลงก์ตอน เป็นล้านตัว จะเพิ่มความเข้มข้นไปเรื่อย ๆ สะสมในห่วงโซ่อาหาร

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีผลการยืนยันที่ ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้ทะเลหรือไม่แต่มีความเสี่ยงต่อการทําให้สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์มากกว่า

  • อาการที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับกัมมันตรังสีโดยไม่มีการควบคุม
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • เม็ดเลือดขาวถูกทําลายอย่างรุนแรง
  • ระบบการสร้างโลหิตจากที่ไขกระดูกบกพร่อง
  • ร่างกายความต้านทานโรคต่ำ
  • เกิดความผิดปกติบริเวณที่ถูกรังสีเช่น ผิวหนังไหม้พุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เป็นต้น

กลุ่มอาการระบบเลือด อาการแบ่งได้ 4 ระยะ

  • ระยะแรก (Prodromal stage) : คลื่นส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 2 วันหลังโดนรังสี อาการเป็นได้นานเป็นนาทีถึงหลาย ๆ วัน
  • ระยะสอง (Latent stage) : เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกตายไปเรื่อย ๆ ระยะนี้จะเป็นอยู่ตั้งแต่ สัปดาห์แรกถึง 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจดูปกติหรือไม่มีอาการ
  • ระยะสาม (Manijfest illness stage) : เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดทั้งหมดลดระดับลงเรื่อยๆ ในเวลาหลาย ๆ สัปดาห์ และจะเสียชีวิตในเวลา 2-3 เดือน ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดได้
  • ระยะพื้นตัว (Recovey) : ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากภาวะที่ไขกระดูกโดนกด โดยจะดีขึ้นได้จากตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ถึง 2 ปี (ผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตที่ 60 วัน หากได้รับรังสี 2.5-5 Gray – LD s0/60 = 2.5-5 Gray)

กลุ่มอาการทางเดินอาหาร

  • ระยะแรก (Prodromal stage) : คลื่นส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย เริ่มมีอาการภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังโดนรังสี
  • ระยะสอง (Latent stage) : เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกและเยื่อบุทางเดินอาหารตายไปเรื่อย ๆ ระยะนี้ผู้ป่วยอาจดูปกติ หรือไม่มีอาการ ระยะนี้จะไม่เกิน 1 สัปดาห์
  • ระยะสาม (Manjfest illness stage) : เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ขาดน้ำ เกลือแร่ต่าง ๆ ผิดปกติ มักเสียชีวิต ในเวลา 2 สัปดาห์ จากการติดเชื้อ ขาดน้ำ เกลือแร่ผิดปกติ
  • ระยะพื้นตัว (Recovery) : เสียชีวิตทั้งหมดหากได้รังสีเกิน 10 Gray (LD 100 = 10 Gray)

กลุ่มอาการทางระบบหัวใจหลอดเลือดหรือระบบประสาท

  • ระยะแรก (Prodromal stage) : วุ่นวายไม่ค่อยรู้ตัว คลื่นส้อาเจียนถ่ายเหลวอย่างมาก ผิวไหม้ เกิดในเวลาเป็นนาที
  • ระยะสอง (Latent stage) : กลับมามีอาการปกติได้ แต่มักไม่กี่ชั่วโมง
  • ระยะสาม (Manifest illness stage) : อาเจียนท้องเสียมาก ๆ อีกครั้ง ร่วมกับมีซัก โคม่า มักเกิดภายใน 5-6 ชั่วโมง หลังโดนรังสี และมักเสียชีวิตใน 3 วัน

กลุ่มอาการด้านผิวหนังจากรังสี

มักเกิดจากการปนปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผิวหนังหรือเสื้อผ้า บริเวณที่โดนรังสี จะเกิดการอักเสบ แดง มีการหลุดลอก ผมหรือขนจะหลุดร่วง อาการแดงของผิวหนังอาจเกิดได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงหลังโดนรังสี แล้วอาจเข้าสู่ช่วงที่ผิวหนังดูค่อนข้างปกติจากนั้นผิวจะกลับมาแดงขึ้นมาก ๆ อีก ร่วมกับมีถุงน้ำและแผลอักเสบ (ulcer) ต่อมาอาจจะดีขึ้น หรืออาจนำไปสู่ผิวหนังเสียหายถาวร เช่น ต่อมเหงื่อโดนทำลาย ผิวหนังตาย มีการอักเสบเรื้อรัง เกิดพังผืด หรือผิวหนังฝ่อ

ซึ่งถ้าหากมีอาการตามข้างต้นหรือสัมผัสสารปนเปื้อนดังกล่าว ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเองและคนรอบข้าง

การป้องกันอนตรายจากสารกัมมันตรังสี รังสีทุกชนิดมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งนั้น จึงต้องทําการป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับรังสีหรือได้รับแต่เพียง ปริมาณน้อยที่สุด ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากต้องทํางานเกี่ยวข้องกับรังสีแล้ว ควรมีหลักยึดถือเพื่อปฏิบัติดังนี้

1.เวลาของการเผย (time of exposure) โดยใช้เวลาในการทํางานในบริเวณที่มีรังสีให้สั้นที่สุด

2.ระยะทาง (Distance) การทํางานเกี่ยวกับรังสีควรอยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดรังสีมาก ๆ ทั้งนี้ เพราะความเข้มของรังสีจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทาง

3.เครื่องกำบัง (Shielding) เครื่องกําบังที่วางกั้นระหว่างคนกับแหล่งกําเนิดรังสี จะดูดกลืนบางส่วนของรังสีหรืออาจจะทั้งหมดเลยก็ได้ดังนั้น ในกรณีที่ต้องทำงานใกล้กับสารกัมมันตรังสีและต้อง ใช้เวลานานในการปฏิบัติงาน เราจําเป็นต้องใช้เครื่องกําบังช่วยเครื่องกําบังที่ดีควรเป็นพวกโลหะหนัก..