เมื่อต้นปี 2564 นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ประสานงานและเรียนเชิญสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ไปศึกษาดูงานการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี พร้อมนำเสนอแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่แห้งแล้งและอยู่นอกเขตชลประทานโดยใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก

ต่อมากรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลให้ดำเนินโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง จำนวน 6 โครงการ มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย. 2564 และอยู่ระหว่างการนำเสนอแผนงานโครงการอีกจำนวน 9 โครงการ ซึ่งในระหว่างนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กปร. ว่า ได้มีหนังสือถึงสำนักพระราชวัง เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับ 15 โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้ว และจากผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2564 ได้อนุมัติโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 9 โครงการ วงเงินงบประมาณ490 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.  2565

นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 15 โครงการ ในพื้นที่ 11 จังหวัด  ประกอบด้วย 1.พื้นที่ตำบลหนองฝ้าย .เลาขวัญ .กาญจนบุรี ประชาชนได้รับประโยชน์ 5,786 คน พื้นที่เกษตร 3,000 ไร่ ปริมาณน้ำที่ได้ 1.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี 2.พื้นที่ตำบลดงเค็ง .หนองสองห้อง .ขอนแก่น ประชาชนได้รับประโยชน์ 11,000 คนปริมาณน้ำที่ได้ 438,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 3.พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา .ห้วยกระเจา .กาญจนบุรี (จุดที่ 1) ประชาชนได้รับประโยชน์ 4,989 คน พื้นที่เกษตร 3,000 ไร่ ปริมาณน้ำที่ได้ 1.0 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี 4.พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา .ห้วยกระเจา .กาญจนบุรี (จุดที่ 2) ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,369 คน พื้นที่เกษตร 3,000 ไร่ ปริมาณน้ำที่ได้ 700,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี 5.พื้นที่ตำบลด่านทับตะโก .จอมบึง .ราชบุรี ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,400 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 700,800 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

6.พื้นที่ตำบลบางแก้ว .เมืองฉะเชิงเทรา .ฉะเชิงเทรา ประชาชนได้รับประโยชน์ 6,198 คน ปริมาณน้ำที่ได้525,600 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 7.พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม .เมืองนครปฐม .นครปฐม ประชาชนได้รับประโยชน์3,600 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 584,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 8. พื้นที่ตำบลโพรงอากาศ .บางน้ำเปรี้ยว .ฉะเชิงเทราประชาชนได้รับประโยชน์ 5,000 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 292,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 9. เทศบาลตำบลศรีรัตนะ(ตำบลศรีแก้ว.ศรีรัตนะ และอ.พยุห์ .ศรีสะเกษ ประชาชนได้รับประโยชน์ 7,830 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 507,350 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 10.พื้นที่ตำบลนามะเขือ .ปลาปาก .นครพนม ประชาชนได้รับประโยชน์ 6,620 คนปริมาณน้ำที่ได้ 992,720 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

11. พื้นที่ตำบลโพธิ์ตากและตำบลนาทราย .เมืองนครพนม .นครพนม ประชาชนได้รับประโยชน์ 12,224 คนปริมาณน้ำที่ได้ 776,720 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 12.พื้นที่ตำบลสายนาวัง .นาคู .กาฬสินธุ์ ประชาชนได้รับประโยชน์ 7,200 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 420,480 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 13. พื้นที่ตำบลก้อ .ลี้ .ลำพูน ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,419 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 116,800 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 14.พื้นที่ตำบลบ้านกลาง .สันป่าตอง.เชียงใหม่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 10,343 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 700,800 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และ 15. พื้นที่ตำบลเกาะนางคำ .ปากพะยูน .พัทลุง ประชาชนได้รับประโยชน์ 4,125 คน ปริมาณน้ำที่ได้ 140,160 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

ทั้งนี้ โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 15 โครงการ มีบ่อน้ำบาดาลรวม 113 บ่อ มีประชาชนได้รับประโยชน์รวม 30,000 ครัวเรือน หรือ 100,000 คน พื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์ 9,000 ไร่ และมีปริมาณน้ำที่ได้รวม 11 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี น้ำบาดาลทุกบ่อ ที่สูบขึ้นมาใช้จากทั้ง15 โครงการ เป็นน้ำบาดาลคุณภาพดี

ประชาชนจากพื้นที่ 11 จังหวัด ได้ฝากคำขอบคุณถึงรัฐบาลพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) นายวราวุธ  ศิลปอาชา รมว.ทส.ที่กำกับดูแลกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่องทันต่อสถานการณ์ นายศักดิ์ดา กล่าว

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมที่จะขับเคลื่อนโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำกินน้ำใช้ อันจะนำมาซึ่งความสุขของประชาชน ความมั่นคงของชุมชน ตลอดจนสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป