“กรมอุตุนิยมวิทยา” รายงานการพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวันในประเทศไทย โดยเผยว่า วันที่ 6 เมษายน 2566 ค่าดัชนีความร้อนจะสูงที่สุดในบางจังหวัด ซึ่งอยู่ในระดับสีส้มร้อนอันตรายโปรดระวังสุขภาพ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่

สีเขียว : ระดับเฝ้าระวัง 27-32 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน เฝ้าระวัง ออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน
สีเหลือง : ระดับเตือนภัย 32-41 องศาเซลเซียส เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
สีส้ม : ระดับเตือนภัย 41-54 องศาเซลเซียส มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดอันตรายภาวะลมแดดได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานมากกว่า 54 องศาเซลเซียส เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)
สีแดง : ระดับเตือนภัย มากกว่า 54 องศาเซลเซียส เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก อันตรายมาก

ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน 6 เมษายน
ภาคเหนือ : เพชรบูรณ์ อุณหภูมิสูงสุด 41 ดัชนีความร้อน 40.6
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศรีสะเกษ อุณหภูมิสูงสุด 39 ดัชนีความร้อน 41.5
ภาคกลาง : บางนา กรุงเทพมหานคร อุณหภูมิสูงสุด 36 ดัชนีความร้อน 50.2
ภาคตะวันออก : แหลมฉบัง จ.ชลบุรี อุณหภูมิสูงสุด 36 ดัชนีความร้อน 49.4
ภาคใต้ : ภูเก็ต อุณหภูมิสูงสุด 36 ดัชนีความร้อน 47.9

ดัชนีความร้อน คืออุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับ ผลกระทบจากความร้อนได้

คำแนะนำสุขภาพ
สังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรลดเลิกกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม หลีกเลี่ยงดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ …

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @กรมอุตุนิยมวิทยา