ปัจจุบันพลังงานไฮโดรเจน เป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และมีหลายประเทศเริ่มใช้เป็นเชื้อเพลิงผสมเพื่อผลิตไฟฟ้า รวมถึงนำมาใช้เป็นเซลล์เชื้อเพลิง เนื่องจากการเผาไหม้สะอาด ปราศจากการปล่อยมลพิษ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้

ทั้งนี้ พลังงานไฮโดรเจนแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและสารตั้งต้นที่นำมาผลิต โดยจำแนกจากชนิดของแหล่งพลังงานและวิธีในการผลิตไฮโดรเจน ดังนี้

  • ไฮโดรเจนสีเทา (Grey hydrogen)
    คือไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน คิดเป็นประมาณ 95% ของไฮโดรเจนที่ผลิตได้ในโลกในปัจจุบัน กระบวนผลิตยังมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ จึงไม่ถือเป็นเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ
  • ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน (Blue hydrogen)
    คล้ายกับไฮโดรเจนสีเทา ยกเว้นว่าการปล่อย CO2 ส่วนใหญ่จะถูกกักเก็บในพื้นดิน โดยใช้การดักจับและกักเก็บคาร์บอน(CCS: Carbon Capture and Storage) แทนที่จะปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจึงทำให้ไฮโดรเจนสีน้ำเงินเป็นเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ และเป็นทางเลือกที่สะอาดกว่าไฮโดรเจนสีเทาแต่มีราคาสูงกว่าเช่นกัน
  • ไฮโดรเจนสีเขียว (Green hydrogen)
    คือไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด ถือเป็นไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ หรือเป็นศูนย์ เนื่องจากใช้แหล่งพลังงานสะอาด เช่น ลมและแสงอาทิตย์ ซึ่งไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไฮโดรเจนสีเขียวเกิดขึ้นเมื่อน้ำ (H2O) ถูกแบ่งออกเป็นไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) การแยกน้ำเรียกอีกอย่างว่าอิเล็กโทรไลซิส อย่างไรก็ตามวิธีการจ่ายไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำเป็นกระบวนการที่มีราคาแพง แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ไฮโดรเจนสีอื่น ๆ
    ในอุตสาหกรรมพลังงานอาจใช้สีอื่น ๆ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างชนิดของไฮโดรเจน แม้ว่าสีเทา สีฟ้า และสีเขียวเป็นสีทั่วไป แต่มีสีดำ สีน้ำตาล สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีเขียวขุ่น และสีขาว เป็นสีสำหรับ Molecular Hydrogen (H2) ที่ผลิตจากแหล่งพลังงานและกระบวนการผลิต

ที่มา:
https://www.erc.or.th/th/energy-articles/2691
https://www.eppo.go.th/images/encon/menuImage/PDF/hydrogen_01.pdf
https://www.eppo.go.th/images/encon/menuImage/PDF/hydrogen_02.pdf

#สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ
#เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy
#กระทรวงพลังงาน #พลังงานไฮโดรเจน