สถาปนิก น.: คุณอาหมอมาร์คคะ นักออกแบบสมัยนี้ต้องรู้เรื่องความยั่งยืนของอสังหาริมทรัพย์ด้วยหรือคะ มันคืออะไร

คุณหมอมาร์ค: ใช่คะ เรื่องนี้สำคัญมากต่อวงการก่อสร้าง และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน สถาปนิก วิศวกร มีบทบาทสำคัญ ที่จะนำความรู้ที่เรียมมาไปใช้ แต่น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สอนสาขาเหล่านี้ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ มีหลักสูตรเรื่องนี้น้อย จำนวนอาจารย์ที่เข้าใจ และมีประสบการณ์เรื่องความยั่งยืนมีไม่มากนัก

ตอนนี้ผู้ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมาก โครงการที่รักษ์โลก จะดึงดูดนักลงทุน ธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยตํ่ากว่าปกติ บริษัทชั้นนำก็สนใจเช่าพื้นที่ และมีแนวโน้มว่าค่าเช่าต่อตารางเมตรจะสูงกว่าปกติได้ถึง 20-40%

แล้วความยั่งยืนของโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดห่วงโซ่ก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

1. การออกแบบ และการเลือกวัสดุก่อสร้าง : การออกแบบด้วยความเข้าใจความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญต้นทางการออกแบบด้วยมาตรฐานอาคารเขียว คำนึงถึงระบบนิเวศ ดูทิศทางของแดด ลม และความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเลือกวัสดุก่อสร้างรักษ์โลก และมีนวัตกรรมรีไซเคิล คาร์บอนตํ่า

2. ขบวนการก่อสร้าง: ถ้าออกแบบไม่รักษ์โลก ถือว่าติดกระดุมเม็ดแรกผิดแล้ว ถ้าออกแบบถูกต้องขั้นตอนต่อไปก็ดูวิธีการก่อสร้าง เลือกเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนตํ่า วัสดุก่อสร้างที่มีในท้องถิ่น ดูเรื่องการขนส่ง และการจัดการเศษวัสดุต่าง ๆ ให้ความเป็นธรรม เท่าทียมกับแรงงานก่อสร้าง และต้องไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง

3. การบริหารจัดการโครงการ และบำรุงรักษา: เมื่ออาคารสร้างเสร็จ ก็ต้องดูแลเรื่องการประหยัดพลังงาน นํ้า การจัดการขยะและของเสียประเภทต่าง ๆ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน รวมถึงการบำรุงรักษาให้ได้มาตรฐาน ทั้งหมดจะมีประสิทธิภาพได้ต้องคิดมาตั้งแต่การออกแบบ และนำมาบริหารให้มีประสิทธิภาพ

4. เมื่ออาคารนั้นหมดอายุการใช้งาน: ปกติอาคารจะมีอายุใช้งานหลายสิบปี หรือกว่าร้อยปี ด้วยการบำรุงรักษาที่ดี ถ้าต้องทุบทำลาย ก็ต้องดูวิธีการทีมีผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และดูปลายทางว่าวัสดุที่เลิกใช้เหล่านั้นไปไหนต่อ ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใครบ้าง หรือนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้

5. การแปรรูปเป็นสิ่งใหม่: ตัวอาคาร และชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาปรับปรุงใช้ใหม่ให้ต่างออกไปได้ หรืออาจคิดนวัตกรรมว่าสิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรได้บ้าง ไม่เป็นขยะถมดิน

น้องสถาปนิก น. ลองหาความรู้ความยั่งยืนจาก เดลินิวส์ Sustainable Daily ได้ หรือถ้าที่ทำงานมีสถาปนิก วิศวกรที่ต้องการ Reskill Upskill ในเรื่องนี้ ลองติดต่อ คณะสถาปัตย์ ธรรมศาสตร์ดู เค้ามีหลักสูตรสั้น ๆ เกี่ยวกับ “Scenario Planning for Sustainability Leadership” ที่พัฒนาร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญจาก SCG.