สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ว่าผลการศึกษาจากสถาบันความเสี่ยงและการรับมือสภาพภูมิอากาศ ของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ในออสเตรเลีย ท้าทายโมเดลเศรษฐกิจที่มีมานาน และมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสภาพภูมิอากาศทั่วโลก พร้อมทั้งกระตุ้นการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง และเร่งด่วนยิ่งขึ้น


นายทิโมธี นีล นักวิจัยหลัก กล่าวว่า หลายโมเดลเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ไม่ได้พิจารณาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เหล่านักเศรษฐศาสตร์มักประเมินความเสียหายทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยการเปรียบเทียบเหตุการณ์สภาพอากาศในอดีต กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมองข้ามความเชื่อมโยงระดับโลกของกลุ่มเศรษฐกิจสมัยใหม่


เมื่อไม่มีการพิจารณาความเสียหายทางสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ หลายโมเดลเศรษฐกิจก่อนหน้าจึงเผลอสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขั้นรุนแรงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ต่อเศรษฐกิจ พร้อมเสริมว่าการหยุดชะงักในภูมิภาคหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ รวมถึงประเทศหนาวเย็นอย่างแคนาดาและรัสเซีย


การปรับตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าว สนับสนุนการจำกัดอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.7 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับเป้าหมายลดปล่อยคาร์บอนเร็วขึ้น เช่น ความตกลงปารีส และต่ำกว่าเกณฑ์ 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับกันก่อนหน้านี้ โดยโมเดลเศรษฐกิจต้องปรับตามผลกระทบจริง จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ราคาอาหารซึ่งเพิ่มขึ้น ไปจนถึงต้นทุนประกันที่พุ่งสูง.

ข้อมูล : XINHUA

เครดิตภาพ : AFP