สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. ว่า บทความจากวารสารซิกแนล ทรานส์ดักชัน แอนด์ ทาร์เก็ต เธอราปี (Signal Transduction and Targeted Therapy) ระบุว่า แอนติบอดีดังกล่าว ซึ่งใช้ตำแหน่งตัวรับ-ตัวยึดเกาะในโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโคโรนา มีประสิทธิภาพในการต้านโรคโควิด-19 และเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดกลายพันธุ์ เช่น เบตา เดลตา และโอมิครอน


เหล่านักวิจัยจากสถาบันจุลชีววิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ใช้เชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ตั้งต้น และสายพันธุ์เบตา เป็นอิมมูโนเจน (immunogen) หรือสารกระตุ้น ให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ได้แอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ที่แข็งแกร่ง


ผู้เชี่ยวชาญให้แอนติบอดีกับหนูทดลองทางจมูก และตรวจไม่พบเชื้อไวรัสโคโรนามีชีวิต หรือความเสียหายในปอดของหนู ซึ่งบ่งชี้ว่าการรับแอนติบอดีทางจมูกเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันการติดเชื้อ


คณะนักวิจัยเผยด้วยว่า วัตถุที่พวกเขาพัฒนาขึ้น คือแอนติบอดี ชนิดอิมมูโนโกลบูลิน วาย (Immunoglobulin Y) สกัดมาจากไข่แดง ซึ่งมีข้อดีคือต้นทุนต่ำ และสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก


ทั้งนี้ แอนติบอดี ชนิดอิมมูโนโกลบูลิน วาย มีศักยภาพเป็นเครื่องมือเสริมทรงประสิทธิภาพสำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอยู่เดิม โดยอาจช่วยปิดกั้นเส้นทางการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ในสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่น ๆ ที่มีโอกาสรับเชื้อ.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA