ซึ่งกับกลุ่ม “สตรีกลุ่มชาติพันธุ์ก็มีการดำเนินการในเรื่องนี้ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็ได้ไปดู “โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์แม่สะเรียง” ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกันดำเนินการ และวันนี้ก็มีข้อมูลมาเล่าสู่กัน ณ ที่นี้ กับการ…

“คัดกรองมะเร็งปากมดลูก” ใน “สตรีกลุ่มชาติพันธุ์”

อีก “กลุ่มสตรีในไทยที่มีปัญหาสาธารณสุขด้านนี้สูง”

ทั้งนี้ กับ “โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์แม่สะเรียง”นี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู รอง ผอ.สปสช. เขต 1 เชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เยี่ยมชมโครงการฯ โดยมี ดำรงค์ นันยบุตร สาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง นพ.บัณฑิต ดวงดี ผอ.โรงพยาบาลแม่สะเรียง จักรพงษ์ ศรีเมือง ผอ.รพ.สต.แม่เหาะ และ วิชา ประเสริฐศรี นายก อบต.แม่เหาะ ร่วมให้ข้อมูลและข้อคิดเห็น

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ระบุว่า… แม้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง จะครอบคลุม “มะเร็งปากมดลูก” แต่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาทันท่วงทีและมีโอกาสหายได้ “การตรวจคัดกรองเป็นมาตรการที่สำคัญ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย” โดยเฉพาะจาก อปท. หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมดำเนินงานกับ กปท. เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการตรวจคัดกรองโรคในแต่ละพื้นที่ได้ทั่วถึง รวมถึง “มะเร็งปากมดลูก” ที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของสตรีไทย

“ทาง อบต.แม่เหาะ เป็น อปท. ที่ใส่ใจสุขภาพประชากร ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง กปท. ขับเคลื่อนการสร้างสุขภาพที่ดี ลดภาวะเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ร่วมกับ รพ.สต.แม่เหาะ และภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุ เป็นโครงการหนึ่งของการขับเคลื่อนโครงการสุขภาพในพื้นที่” …รองเลขาฯ สปสช. ระบุ 

ด้าน วิชา ประเสริฐศรี นายก อบต.แม่เหาะ เผยว่า… ในพื้นที่มี รพ.สต. 2 แห่ง คือ รพ.สต.แม่เหาะ และ รพ.สต.แม่ลิดป่าแก่ ซึ่งปี 2565 นี้มีประชากรผู้มีสิทธิบัตรทอง 7,168 คน โดยทาง อบต. ตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จึงได้ร่วมจัดตั้งเพื่อการดำเนินงาน กปท. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในพื้นที่แม่เหาะ มาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะแรกนั้น…

“ถ้าพบภาวะมะเร็งระยะแรกก็จะเข้าสู่การรักษาทันที

เพราะการรักษาทันท่วงทีเป็น “กุญแจ“ สู่การ “มีโอกาสหาย”

สำหรับ ผอ.รพ.สต.แม่เหาะ จักรพงษ์ ศรีเมือง ได้เสริมว่า… ประชากรในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีการคัดกรองสุขภาพให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ อย่าง “มะเร็งปากมดลูก” ในกลุ่มสตรีและกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม จากการที่พบว่าประชาชนบางส่วนไม่ยอมเข้าตรวจคัดกรอง เนื่องจากไม่ค่อยเห็นความสำคัญ ดังนั้น ทาง อปท. หน่วยงานสาธารณสุข และ รพ.สต. จึงได้จัดกิจกรรม “คัดกรองมะเร็งปากมดลูก” ขึ้น

กับการลงพื้นที่ดูการดำเนินงาน “โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์แม่สะเรียง” นั้น ในส่วนของการลงพื้นที่ รพ.สต.แม่เหาะ ก็พบชาวบ้านในพื้นที่ที่เดินทางเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เช่น ชุลีพร อัศดงแดนไพร อาชีพทำไร่ ที่มีลูก 1 คน อายุ 4 ขวบ ซึ่งบอกว่า… รู้สึกตื่นเต้นมากกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นครั้งแรก “ที่มาตรวจเพราะมีหมอเป็นผู้หญิงตรวจให้ก็สบายใจ จึงมาตรวจ เจ้าหน้าที่ก็แนะนำดีมาก

ส่วนชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อีกคนที่เข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต.แม่เหาะ คือ มาลี ทุ่งเมืองทอง อายุ 51 ปี อาชีพปลูกกาแฟ มีลูก 2 คน รายนี้บอกว่า… มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากมีประจำเดือนมาแต่ละครั้งมากผิดปกติ ประกอบกับหมอแนะนำให้ตรวจ… “ตอนแรกก็กลัว แต่พอมาตรวจจริง ๆ แล้วไม่น่ากลัวเลย” เพื่อความปลอดภัยของตัวเองจึงมาตรวจต่อเนื่อง หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติเร็วก็จะรักษาได้ง่ายและหายไวด้วย

กับผู้เข้าตรวจรายหลังนี่ถือว่า “เป็นตัวอย่างที่ดีมาก”

เห็นได้ชัดว่า “มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของสุขภาพ”

ทั้งนี้… “มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในสตรีอายุ 30-60 ปี มีอุบัติการณ์ผู้ป่วยมะเร็งสูง และเพิ่มมากขึ้นทุกปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเมื่ออาการอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และบางรายต้องเสียชีวิตลง ทั้งที่เป็นโรคที่รักษาได้หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก โดยที่ผ่านมานั้นยังมีสตรีจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ในเรื่องมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะสตรีในเขตชนบทและพื้นที่บนดอยสูง” …เป็นการระบุโดย ดำรงค์ นันยบุตร สาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง

นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ “คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

“กิจกรรมสุขภาพ” กิจกรรมนี้ “สำคัญต่อสตรี

ไม่เพียงพื้นที่สูง…แต่ “สำคัญในทุก ๆ พื้นที่“.