การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ… เป็นพุทธภาษิต ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานานแสนนาน และก็เป็นเรื่องจริง!! แบบร้อยเปอร์เซนต์ พันเปอร์เซ็นต์

แต่ในเวลานี้ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแบบวิ่งตามไม่ทันกันในทุกด้าน พุทธภาษิตดั่งว่า… คงไม่เพียงพอแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกด้าน คนที่ตามไม่ทัน!! ก็จำเป็นต้องหันมาพึ่ง คำกล่าวที่ว่า…การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ พิ่มเข้าไปอีกด้วย

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน, ฝูงชน และ ข้อความ

เพราะเวลานี้ “ปัญหาหนี้สิน” กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่เข้ามาท้าทายฝีมือของรัฐบาล “เศรษฐา 1” อีก 1 เรื่อง ที่ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อปากท้องคนไทย

ทั้งนี้ทั้งนั้น จากการสำรวจข้อมูลได้พบว่า “หนี้เสีย” ของจริงล่าสุดได้พุ่งสูงขึ้นเป็น 9.8 แสนล้านบาท!! เข้าไปแล้ว เพราะบรรดาคนรุ่น “เจนวาย” อายุตั้งแต่ 23-28 ปี ต่างถือคติ “เพื่อนมีกูมี” จึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการก่อหนี้

เช่นเดียวกับเรื่องของ หนี้รถยนต์ กำลังเป็นหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะหนี้เสียและความเสี่ยงของการเป็นหนี้เสีย นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นสัญญาณสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง

Free photo closeup of man facing financial challenges comforted by his wife

หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานตัวเลขหนี้สินเชื่อรถยนต์ที่ค้างชำระตั้งแต่ 30 วันแต่ะไม่ถึง 90 วัน หรือสินเชื่อที่กลาวถึงเป็นพิเศษ ที่เรียกกันว่าหนี้เอสเอ็ม ในไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 13.9% ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้านั้นอยู่ที่ระดับ 13.7%

ไม่ใช่แค่นี้!! หนี้เน่าของสินเชื่อรถยนต์ยังมีมากถึง 23,000 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 30.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และยังเป็นอัตราที่สูงขึ้นในรอบ 3 ปีครึ่ง หรือ 14 ไตรมาส

ขณะที่สภาพัฒน์ บอกว่า ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้ จำเป็นอย่างที่สุด ที่ต้องหันมา ปรับโครงสร้างหนี้ นั่นหมายถึงลูกหนี้ยังคงต้องจ่ายหนี้ต่อไป จะลดน้อยถอยลงไปเท่าไหร่ ค่อยว่ากัน

แต่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่จะให้เกิด การพักหนี้พราะไม่เช่นนั้นวัฒนธรรมการจงใจผิดนัดชำระหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดต่อไปเรื่อย ๆ

Photo asian woman feeling headache and thinking how to find money to pay all bills.

ขณะเดียวกันการที่แบงก์ชาติออกมาปรับคำนิยามของหนี้ครัวเรือนใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้มุลหนี้เพิ่มขึ้นอีก 7 แสนล้านบาท จนทะลุไปอยู่ที่ 15.96 ล้านล้านบาทกันทีเดียว

อย่างไรก็ตาม มูลหนี้ที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี้ ก็ใช่ว่าจะเป็นจริงเสียทั้งหมด เพราะ ยังมีหนี้อีกจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่ระบบข้อมูล ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

ว่ากันว่า… มูลหนี้ที่เป็นหนี้ในระบบธนาคารพาณิชย์นั้น น้อยกว่า สัดส่วนหนี้ที่มาจากสินเชื่ออื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ถึง 3 เท่ากันทีเดียว

แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่า …จากข้อมูลทั้งหมด กลับพบว่า กลุ่มลูกหนี้ที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ กลุ่มวัยแรงงานตอนต้น และกลุ่มผู้สูงอายุ!!

เพราะอะไร? เพราะกลุ่มวัยแรงงานตอนต้น หรือกลุ่มเจนวาย กลับมีพฤติกรรมใช้จ่ายไปกับทัศนคติว่า “ของมันต้องมี” ในส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า มีหนี้เสียมีการขยายตัวสูงกว่ากลุ่มอื่น ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีทักษะทางการเงินต่ำ

ขณะเดียวกันยังพบว่า หนี้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน มีหนี้เฉลี่ยถึงคนละ 2.72 แสนบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 14 ปี โดยสูงกว่าปีก่อนถึง 25%

สาเหตุสำคัญ… มาจากมีรายได้ไม่พอจ่าย ค่าครองชีพสูง นั่นเอง ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ และที่ปฎิเสธไม่ได้ หลายคนยังมีปัญหาว่างงาน ไม่มีเงินออม ไม่มีอาชีพเสริม

ค่าครองชีพที่แพงแสนแพง เวลานี้ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ยากลำบาก ลำพังมีอาชีพเดียวอาจไม่พอกิน ไม่เพียงแค่บรรดาผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

แต่!! ยังมี บรรดาชาวไร่ ชาวนา เกษตรกร อีกเกือบแตะ 30 ล้านคน ที่ยังมีปัญหารายได้ เพราะจากการสำรวจพบว่า ยังมีเกษตรกรถึง 11 % ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน

นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เป็นข้อมูลหนี้ของคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่แค่นี้ ก็ถือเป็นโจทย์ยาก ที่กำลังท้าทายความสามารถของรับบาลชุดใหม่ไม่น้อยทีเดียว เรื่องนี้… คงต้องจับตากันต่อไป!!

……………………………………….
คอลัมน์ : เศรษฐกิจจานร้อน
โดย “ช่อชมพู”