เมื่อจ่ายเงินได้ย่อมมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา และกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งกรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังต่อไปนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คริตจักรนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบดังกล่าว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ดังนี้

ตามมาตรา 50 (1) เมื่อจ่ายเงินได้จากการจ้างแรงงาน หรือเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.1

ตามมาตรา 50 (2) เมื่อจ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร คำนวณหักตามอัตราก้าวหน้า และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.2

ตามมาตรา 50 (5) เมื่อจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมตามกฎหมายที่ดิน ตาม มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร     

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ให้คริตจักรนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปดังนี้

สำหรับค่าเช่าทรัพย์สิน ในอัตรา 5% ของเงินได้  

สำหรับเงินได้จากวิชาชีพอิสระ  ในอัตรา 3% ของเงินได้

สำหรับค่าจ้างทำของ ในอัตรา 3% ของเงินได้  

สำหรับรางวัลจากการประกวด แข่งขัน ในอัตรา 5% ของเงินได้  

สำหรับค่าโฆษณา ในอัตรา 2% ของเงินได้

สำหรับค่าบริการอื่น แต่ไม่รวมถึงการจ่าย ค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ในอัตรา 3% ของเงินได้

สำหรับค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงค่าขนส่งคนโดยสารสาธารณะ ในอัตรา 1% ของเงินได้.