ทองม้วนเป็นผลิตภัณฑ์หลักของร้าน ต่อมาได้กลายเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ จึงเริ่มคิดที่ขยายโรงงาน เพื่อผลิตทองม้วนส่งออกโดยเฉพาะ”เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ “แวนวิวรรณ ล้อศิริ” ทายาทธุรกิจรุ่นที่ 2 ของร้านแก้วของฝาก ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ได้บอกเล่าถึงที่มาของการตัดสินใจ “ขยายธุรกิจ” โดยผู้ประกอบการรายนี้ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจาก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) ซึ่งเบื้องหลังการขยายธุรกิจของเธอก็มีแนวคิดน่าสนใจ ที่วันนี้คอลัมน์นี้มีข้อมูลนำมาให้พิจารณากัน

แวน-วิวรรณ ผู้ประกอบการคนเดิมเล่าว่า มีดี 8 จำกัดเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกิจผลิตขนมท้องม้วนส่งออก ภายใต้ชื่อแบรนด์แก้ว โดยนอกจากธุรกิจนี้แล้ว เธอยังทำธุรกิจร้านของฝากควบคู่ไปด้วย โดยร้านของฝากเกิดขึ้นจากสินค้าแรกที่ทำขาย ได้แก่ “มะขามกวนแก้ว” ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวที่ทำมานานกว่า 30 ปีแล้วต่อมามีอยู่ช่วงหนึ่งครอบครัว (เมธา ชัยมงคลานนทน์) มองว่า ในขณะนั้นยังไม่มีร้านขายของฝากรองรับนักท่องเที่ยว จึงตัดสินใจเปิดร้านของฝากขึ้น โดยสินค้าหลักที่ขายตอนนั้นมี 2 ชนิด คือ มะขามกวนแก้ว กับทองม้วน แต่ที่เป็นสินค้าเด่นและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็คือ “ขนมท้องม้วน” เนื่องจากเป็นสูตรที่ทางร้านพัฒนาขึ้นเอง ซึ่งขายดีจนกลายเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และจีน ทำให้ผ่านไปสักพักหนึ่ง ครอบครัวจึงตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตทองม้วนกรอบ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่จะขยายธุรกิจ ก็มีปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ “กำลังคน” โดยได้มีการการดึงพี่น้องลูกหลานเข้ามาช่วยกันบริหาร ขณะที่อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องคิดเช่นกัน คือ “กำลังทรัพย์” ที่แม้จะมีเงินทุนจากการทำธุริจส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ โชคดีที่ได้รับสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากSME D Bankทำให้ซื้อเครื่องจักรเพื่อมาใช้เพิ่มกำลังผลิตได้ในที่สุด ส่วนปัจจัยที่ต้องพิจารณาอีกก็คือการ “ระบบกับมาตรฐาน” เพราะเป้าหมายธุรกิจคือการส่งออก จึงต้องศึกษาเรื่องมาตรฐานต่าง ๆ อาทิ ฮาลาล, GMP, HACCP รวมถึงBRC ที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อที่จะส่งสินค้าไปขายตลาดอเมริกาและยุโรปได้ โดยการทำให้ได้มาตรฐานตามระบบ BRC นี้เอง ที่ทำให้ตัดสินใจขอทุนสนับสนุนสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะทำให้ได้เปรียบทั้งในแง่การส่งออก อีกทั้งเมื่อได้มาตรฐานดีขึ้น ก็ทำให้สามารถเข้าไปจับตลาดใหม่ ๆ ที่อยู่ในระดับสูงขึ้นได้เพิ่มทำให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้นจากตลาดเดิมนอกจากนั้น ทุนที่ได้มานั้นยังนำมาทำเรื่อง “แพคเกจจิ้ง” เพราะการส่งออกต้องพัฒนาแพคเกจจิ้หรือต้องปรับตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำตลาดส่งออกทองม้วนอีกด้วย เพราะแพคเกจจิ้งนั้นสำคัญต่อการเก็บรักษาความกรอบ กับคุณภาพทองม้วน รวมไปถึงความสะดวกในการขนส่งอีกด้วย …นี่เป็นวิธีคิดของผู้ประกอบการรายนี้ กับผลลัพธ์ที่ได้หลังตัดสินใจเพิ่มทุนขยายธุรกิจ ที่เอสเอ็มอีอื่น ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้.

บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ [email protected]