วันที่ 15 กรกฎาคม การประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 20 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 เป็นต้นมา จีนได้กลายมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โลกภายนอกยังยอมรับด้วยว่าทุกการประชุมเต็มคณะ ของคณะกรรมการกลางจะมีประเด็นด้านเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก จึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกเป็นอย่างมาก
และอย่างที่คาดไว้ ย่อมเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนาๆขึ้นก่อนการประชุม แต่กระผมคิดว่าการที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ,นักลงทุน ,นักวิเคราะห์ ที่มีความสนใจและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างแม่นยำเป็นคุณค่าและประโยชน์ต่อประชากนจีนทั้งในและนอกประเทศและเป็นหลักธรรมที่ถูกต้อง
อย่างที่สำนวนจีนได้กล่าวไว้ว่า “ปลูกแตงได้แตง ปลูกถั่วได้ถั่ว” รัฐบาลจีนได้ลงทุนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยิ่งหลังจากสถานะการณ์โควิด-19 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถูกโลกภายนอกตีตราว่า “ไม่เคยมีมาก่อน” หลายประการ ถูกดำเนินการและเกิดขึ้นจริงมาแล้ว นโยบายจีนระดับมหภาคตอนนี้ได้เริ่มเห็นผล แรงผลักดันมหาศาลจะทำให้เกิดความสำเร็จตามที่ต้องการอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ผมยังมองจีนในแง่ดีสำหรับเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสันติ การพัฒนาเศรษฐกิจต้องพึ่งพานโยบายของประเทศ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการค้า เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่ยังตกอยู่ในความวุ่นวายแล้ว จีนถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่สภาพเศษฐกิจมีความมั่นคงและน่าไว้วางใจมากที่สุดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากต่างแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่พวกเขาเห็นและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจีนมีความปลอดภัยและความสงบสูง
ในเส้นทางการพัฒนาของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง จีนและญี่ปุ่นมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง เมื่อบางคนเห็นเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ก็จะนึกถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยของญี่ปุ่นที่เริ่มขึ้นในปี 1990
“30 ปีที่หายไป” ของญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรุ่งโรจน์และการล่มสลายของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอารยธรรมมนุษย์ในโลกยุคใหม่ ซึ่งเป็นที่จดจำของผู้คนอย่างมาก
แต่โบราณจีนได้กล่าวว่า “ทุกเรื่องไม่ควรตัดสินจากผีสางเทวดา ,ไม่ควรตัดสินจากการทำนาย ,ไม่ควรตัดสินจากการคาดเดา ,ต้องตัดสินจากคนเท่านั้น” หมายความว่า การตัดสินในเรื่องบางอย่างไม่อาจตัดสินด้วยประสบการณ์ แต่จำเป็นต้องได้รับข้อมูลโดยตรงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่าจริงๆแล้วประวัติศาสตร์ไม่มีทางซ้ำรอย จึงไม่มีนักทำนายอะไรทั้งสิ้น มีแต่การวิเคราะห์อย่างชาญฉลาดเท่านั้นที่เป็นวิธีตามหลักความเป็นจริงมากที่สุด
กระผมคิดว่าปัจจุบันจีนและญี่ปุ่นมีความเหมือนกันอยู่สิ่งหนึ่งคือ เมื่อกลายมาเป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับสองแล้ว ล้วนถูกปิดกั้นโดยประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก – สหรัฐอเมริกา เพียงแต่สหรัฐใช้เวลาปิดกั้นญี่ปุ่นมา 22 ปี แต่สำหรับจีนในครั้งนี้สหรัฐอาจไม่ชนะ
เหตุผลคือ จีนมีข้อได้เปรียบที่ญี่ปุ่นไม่มี ประการแรกคือจีนมีตลาดในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีตลาดยานยนต์ ,เชื้อเพลิง ,ท่องเที่ยว ,ยา และอื่นๆที่เป็นอันดับหนึ่งของโลกหรือของเอเชีย รวมถึงจีนมีอุตสาหกรรมขนาดกลางกว่า 300 ล้านแห่ง ตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่และมีความยืดหยุ่นสูง รากที่หยั่งลึกนำมาซึ่งผล ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับรากฐาน
ประการที่สอง ระดับทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเส้นทางการพัฒนาของจีนนั้นมีรากฐานที่มั่นคง จีนค่อนข้างมีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น การบินและอวกาศ รถไฟความเร็วสูง พลังงานใหม่ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ การสื่อสารควอนตัม ปัญญาประดิษฐ์ การสื่อสาร 5G และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งล้วนเป็นเสาหลักที่จะค้ำยันความเป็นอยู่ของประชากรและเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ แตกต่างจากการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่รากฐานค่อนข้างไม่มั่นคง จึงแพ้ให้กับสหรัฐในที่สุด
ประการที่สามคือ จีนเป็นประเทศการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก สหรัฐฯกำลังปิดกั้นและทำลายการเชื่อมโยงกับจีน มันคล้ายกับนโยบายปิดล้อมภาคพื้นทวีปของนโปเลียน ซึ่งเป็นวิธีที่เจ็บทั้งสองฝ่าย อนาคตจะเป็นไปทางไหนไม่สามารถคาดเดาได้เลย ข้อมูลศุลกากรแสดงให้เห็นว่าในไตรมาสแรก ปริมาณการนำเข้าและส่งออกสินค้าของจีนเกิน 10 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพิ่มขึ้น 5% โดยมีมูลค่าการส่งออก 5.74 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.9% การนำเข้าอยู่ที่ 4.43 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 5% การนำเข้าและส่งออกเติบโตสูงสุดใหม่ในรอบหกไตรมาส ล้วนเป็นผลจากนโยบายมหภาคของจีนที่ก่อตัวและสัมฤทธิ์ผลมาเรื่อยๆ
อนาคตเป็นสิ่งเดียวที่ไม่สามารถคาดหวังได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีนหรือเรา เราก็ทำได้แต่ “ทำเต็มที่ในวันนี้ และไม่ต้องถามถึงวันพรุ่งนี้” จริงๆ แล้วการพึ่งพาตนเองเป็นพลังขับเคลื่อนพื้นฐานที่ดีสุดสำหรับการเติบโต และการพัฒนาของกลุ่ม ประเทศ หรือชาติใดๆ กระผมถือทัศนคติที่เป็นกลางในการเฝ้ามองสถานะการณ์ของจีนต่อไป
ผู้เขียน : Old tang