ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 .. 2568 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (...) การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) ฉบับใหม่ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยแก้ไขพ...การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.. 2494เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและและพัฒนากิจการ จะเกิดประโยชน์ต่อการท่าเรือและภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ

โดยให้อำนาจบริหารกิจการท่าเรือโดยตรงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ สามารถจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งในและนอกราชอาณาจักร เพื่อประกอบธุรกิจหรือที่เกี่ยวเนื่องในกิจการ สามารถลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดทั้งในและนอกราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์กิจการ สามารถทำนิติกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีทรัพยสิทธิ หรือก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ รวมทั้งสามารถออกพันธบัตรหรือตราสารเพื่อใช้ประโยชน์แก่กิจการ เป็นต้น

ผลประกอบการปี 2567 กทท.กวาดรายได้กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท โกยกำไรเกือบ 8พันล้านบาท นำรายได้ส่งแผ่นดิน 70% ของกำไร ติดอันดับ 1 ใน 3 ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด….มีขุมทรัพย์สำคัญคือที่ดิน”ท่าเรือกรุงเทพ” หรือที่เรียกกันติดปากและคุ้นหูว่า”ท่าเรือคลองเตย” ด้วยเนื้อที่ผืนใหญ่ 2,353 ไร่ ติดแม่นํ้าเจ้าพระยาใจกลางเมือง มูลค่ากว่าแสนล้านบาท

กทท.อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บท(Master plan) พัฒนาท่าเรือกรุงเทพ ให้กลายเป็น “City Port” เมืองท่าทันสมัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผสมผสานการใช้ประโยชน์สูงสุดทั้งระบบโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ดูแลสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน และพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์…ไม่ใช่แค่ท่าเรือขนส่งสินค้าอย่างเดียวเหมือนในปัจจุบัน ตามนโยบาย “คมนาคมเปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว สร้างการเป็น HUB เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางทุกมิติ” โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เร่งรัดทำแผนให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนหรือไม่เกินกลางปี 2568

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวย กทท. บอกว่า จะใช้ท่าเรือโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้นแบบการพัฒนา เนื่องจากก่อตั้งมาแล้ว 146 ปี แม้จะเป็นท่าเรือขนส่งตู้สินค้าอันดับ 2 ของญี่ปุ่น เป็นรองท่าเรือโตเกียว แต่เป็นท่าเรืออันดับ 1 ด้านการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นรองรับเรือท่องเที่ยวได้ถึง 171 ลำ สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ 30% ของรายได้เมืองโยโกฮาม่าทั้งหมด สอดคล้องกับเป้าหมายกระทรวงคมนาคม และ กทท. ที่ต้องการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพให้รองรับทั้งเรือขนส่งสินค้า และเรือท่องเที่ยวควบคู่กัน เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของไทย

โจทย์ยากคือท่าเรือกรุงเทพ มีพื้นที่ 2,353 ไร่ มีปัญหาเรื่องชุมชน ท่าเรือโยโกฮาม่า มีพื้นที่ 18,350 ไร่ ใหญ่กว่าเกือบ 8 เท่า รัฐบาลท้องถิ่นเป็นเจ้าของที่ดินจัดโซนนิ่งพื้นที่ไว้ชัดเจนตั้งแต่ต้นไม่มีปัญหาชุมชนและขยายท่าเรือด้วยการถมทะเล

ขณะที่2ฝั่งของท่าเรือกรุงเทพ ฝั่งตะวันออกเป็นท่าเทียบเรือ ส่วนฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใช้เป็นคลังสินค้าวางตู้คอนเทนเนอร์แนวราบเต็มพื้นที่ ไม่เป็นระเบียบ ประสิทธิภาพไม่สมบูรณ์ กทท. มีแนวคิดนำรูปแบบจัดเก็บสินค้าของโยโกฮาม่ามาปรับใช้คลังสินค้าแนวราบที่วางตู้คอนเทนเนอร์เรียงรายบางส่วนเป็นอาคารแนวดิ่ง ลดการใช้พื้นที่ลง รถบรรทุกสามารถเข้าพื้นที่คลังสินค้าแต่ละชั้นได้โดยตรง โดยจัดพื้นที่รอรถบรรทุกและที่จอดรถบนดาดฟ้าด้วย

เบื้องต้นจัดผังพัฒนาท่าเรือกรุงเทพเป็น 4 โซน 1.พื้นที่ Smart City กว่า 1 พันไร่ 2.พื้นที่ Smart Port เกือบ 1 พันไร่ อาทิ ท่าเทียบเรือ 3. พื้นที่ Smart Community กว่า 100 ไร่ และ4.พื้นที่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เช่าใช้อยู่เดิม กว่า 100 ไร่ มีโครงการสำคัญๆ อาทิ พัฒนาศูนย์กระจายสินค้า อาคารอยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า การบริหารจัดการพื้นที่หลังท่า โดยเฉพาะทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพ และทางพิเศษสายบางนาอาจณรงค์(S1) ในลักษณะเดียวกับท่าเรือโยโกฮาม่า ที่ตัดถนน และสร้างสะพานเชื่อมท่าเรือเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดภายในท่าเรือและรอบพื้นที่ท่าเรือ รองรับการขยายตัวของท่าเรือ

นอกจากนี้จะสร้างท่าเทียบเรือสำราญ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก รับเรือครุยส์ และเรือยอร์ช เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาโครงการ Bangkok Port Passenger Cruise Terminal บนพื้นที่ 67.41 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่ง และการท่องเที่ยวทางน้ำ เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่มีท่าเรือท่องเที่ยวอยู่ด้วยกัน เป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันท่าเรือสิงคโปร์ เน้นขนส่งสินค้าแบบถ่ายลำ (Transshipment) ประมาณ 90% ติดอันดับ 2 ท่าเรือที่มีปริมาณขนส่งตู้สินค้ามากที่สุดในโลก แต่ไม่ได้เน้นเรื่องเรือท่องเที่ยว….นายเกรียงไกร บอกคีย์เวิร์ดสำคัญที่ท่าเรือของไทยจะยืน1ของอาเซียน

เมื่อตั้งคำถาม??ว่า….นอกจากที่ประชุมครม.จะเพิ่มอำนาจให้ทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้แล้ว ในเวลาไล่เลี่ยกันครม.ยังมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ ขณะที่กทท.กำลังเร่งจัดผังท่าเรือคลองเตย ในจังหวะเดียวกัน เป็นการเปิดพื้นที่ให้เอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ อยู่ใน ซิตี้ พอร์ต” ให้ยิ่งใหญ่กว่าที่สิงคโปร์หรือไม่???…..

ผู้อำนวยการท่าเรือฯ ยืนยันหนักแน่นว่า ไม่ย้ายท่าเรือกรุงเทพแต่จะพลิกโฉมใหม่ในรอบ 73ปีของท่าเรือแห่งนี้ ส่วนจะใช้เป็นพื้นที่สร้างเอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ หรือไม่… ต้องตีความให้ชัดเจนก่อนว่ามีธุรกิจใดบ้างและต้องเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การท่าเรือฯ …เรื่องนี้รัฐบาล และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันพิจารณา แต่ในแผนพัฒนาพื้นที่ฯ ยังไม่มีเอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์.

……………………………………………………
นายสปีด

***ห้ามคัดลอกเนื้อหาและภาพในบทความนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

คลิกอ่านบทความทั้งหมดที่นี่…