ปัญจธาตุ 5“ (อู่สิง) เป็นทฤษฎีเก่าแก่ของจีน บรรยายถึงวัตถุทั้งหลายในจักรวาล ประกอบด้วยลักษณะของ “ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ” เป็นพื้นฐาน มีการให้กำเนิดเกื้อกูล ข่มยับยั้งระหว่างลักษณะทั้งห้า เพื่อให้ระบบภายในหรือระหว่างระบบอยู่ได้อย่างสมดุล ทฤษฎีปัญจธาตุภายหลังได้แพร่หลายเข้าสู่การแพทย์แผนจีน ใช้ในการอธิบายถึงสรีรวิทยาอวัยวะภายใน คือไต (เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน) ตับ (โดยเฉพาะผู้หญิง) ม้าม รวมถึง ปอด หัวใจ (ตามหลักปัญจธาตุ) ชาวจีนโบราณค้นพบว่าร่างกายของเรามีเส้นลมปราณหลัก 12 เส้นเชื่อมต่อกับอวัยวะหลัก 12 ชิ้น (ตามทฤษฎีของแพทย์จีน) ซึ่งประกอบด้วย เส้นลมปราณมือไท่ยินปอด เส้นลมปราณมือหยางหมิงลำไส้ใหญ่ เส้นลมปราณเท้าหยางหมิงกระเพาะ

ระบบเส้นลมปราณ (จิงลั่วซี่ถ่ง) เป็นทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญของการฝังเข็มและรมยา และการแพทย์แผนจีนทุกสาขา เส้นลมปราณเป็นเส้นทางไหลเวียนของเลือดและชี่ โดยจะแตกแขนงเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหไป แพทย์จีนเรียกภาวะนี้ว่า “ซวี่เหล่า” อวัยวะที่มีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์คือ ตับและไต ในมุมมองของแพทย์จีนกับภาวะพร่องฮอร์โมนคือ ตำราโบราณกล่าวไว้ว่า ในเพศชายมีการเปลี่ยนแปลงทุก 8 ปี

ภายในศาสตร์การแพทย์ไทยประยุกต์ในทางการแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงภาวะ “เลือดจะไป ลมจะมา” หรือระดูมาไม่ปกตินั้น ตรงกับช่วงปัจฉิมวัยหรืออายุมากกว่า 30 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยที่ธาตุลมมีอิทธิพลต่อร่างกายมากขึ้น และอิทธิพลของธาตุไฟที่ลดลง เกิดภาวะเสียสมดุลของธาตุในร่างกาย อย่างไรก็ตามสำหรับชายวัยทองจะพูดถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงและเสียสมดุลของธาตุทั้งสี่ในร่างกาย

ระยะของวัยทองในผู้ชายภายในศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันเมื่ออายุย่างเข้าวัย 40 ปีขึ้นไป การสร้างฮอร์โมนเพศชายจะลดลงอย่างสม่ำเสมอทุกปี เมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลงถึงระดับหนึ่งจะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายไปบางส่วน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ คล้ายกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยส่วนใหญ่ชายวัยทองจึงจะเกิดขึ้นกับผู้ชายที่อายุมากกว่าสี่สิบปีขึ้นไป แล้วแต่บุคคลว่ามีพื้นฐานระดับฮอร์โมนเพศชายสูงหรือต่ำก่อนฮอร์โมนลดลง บางคนเริ่มเกิดตอนสี่สิบสอง สี่สิบห้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีอาการข้างต้นตั้งแต่สี่สิบปีขึ้นไป แต่ก็มีไม่น้อยที่ผู้ชายอายุเพียงแค่สามสิบปี ก็เริ่มมีปัญหาหรือเริ่มมีอาการของวัยทองได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชายจะค่อย ๆ ลด อาการไม่เด่นชัดเหมือนผู้หญิง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การวินิจฉัยชายวัยทองเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว.

…………………………………………..
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…