โซเดียมไม่ใช่เรื่องไกลตัว และบางครั้งเราอาจได้รับมันมากเกินไป…โดยไม่รู้เลยว่ามาจากไหน

7 ข้อนี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณ “รู้ทัน” ก่อนจะสะสมโซเดียมเกินโดยไม่ตั้งใจ

1. จำเป็นต่อร่างกาย แต่ใช้แค่นิดเดียว
ร่างกายต้องการโซเดียมเฉลี่ยเพียง 400 – 1475 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ แต่คนส่วนใหญ่กินเกิน 2-3 เท่าต่อวัน ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพ WHO แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

2. เกลือไม่ใช่แหล่งเดียวของโซเดียม
โซเดียมในอาหารไม่ได้มาจากเกลืออย่างเดียว แต่ยังมีในผงชูรส (MSG), โซเดียมไนเตรทในเนื้อแปรรูป และแม้กระทั่งยาบางชนิด ดังนั้นควรตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารอย่างระมัดระวัง

3. ซ่อนอยู่ในอาหารหวาน
ขนมปัง ซีเรียล หรือเค้กบางชนิดมีโซเดียมสูงจากผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) แม้จะไม่รู้สึกเค็ม แต่ปริมาณโซเดียมอาจสูงเกินคาด ควรตรวจสอบฉลากโภชนาการก่อนบริโภค

4. น้ำจิ้มตัวร้ายโซเดียมสูง
ภายใต้ความอร่อยของน้ำปลา ซีอิ๊วขาว หรือเกลือ มีการรวมตัวของโซเดียมที่สูงมาก การปรุงรสอาหารด้วยเครื่องปรุงเหล่านี้อย่างพอดีจะช่วยควบคุมปริมาณโซเดียมได้

5. หน้าบวมตอนเช้า ไม่ใช่อ้วนเพราะกินเยอะ
มื้อเย็นที่มีโซเดียมสูง เช่น ปิ้งย่าง สุกี้ ชาบู หมูกระทะ ทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำ ส่งผลให้ตื่นเช้ามามีอาการหน้าบวม ไม่ใช่การอ้วนขึ้น แต่เป็นผลจากการสะสมโซเดียม

6. อาหารแปรรูป: โซเดียมทวีคูณจากอาหารสด
โซเดียมถูกใช้เป็นสารถนอมอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่เนื้อเค็ม ไส้กรอก จนถึงอาหารแปรรูปสมัยใหม่ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูงเกินความจำเป็นต่อร่างกาย

7. ซุปสำเร็จรูปโซเดียมพุ่ง
ซุปก้อนหรือน้ำซุปก้อนสำเร็จรูป 1 ซองเล็ก อาจมีโซเดียมสูงถึง 1,000-2,500  มก. เนื่องจากมีทั้งเกลือและผงปรุงรส แม้รสชาติจะไม่จัดจ้าน แต่ปริมาณโซเดียมอาจเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ

#ยิ่งจิ้มโซเดียมยิ่งทำร้ายสุขภาพ #จิ้มน้อยๆปลอดภัยกว่า #ลดจิ้ม #มื้อละไม่เกิน1ช้อนโต๊ะ
#ลดโซเดียม #ลดเค็มลดโรค #สสส

กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส  เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.[C(E1] 
Line : @thaihealththailand[C(E2] 
Tiktok: @thaihealth[C(E3] 
Youtube: SocialMarketingTH[C(E4] 
Website : Social Marketing Thaihealth[C(E5]