ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2565 นิทรรศการ What’s The Hex โดยคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานครีเอทีฟอาร์ตของ 6 นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการออกแบบนำมาจัดแสดง ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและงานวิจัย ตอบโจทย์ที่จะนำพาธุรกิจสร้างสรรค์ไทยก้าวไปข้างหน้า สร้างสีสันและชีวิตชีวาให้กับเมืองและผู้คน

What’s The Hex นิทรรศการแสดงผลงานครีเอทีฟอาร์ต 6 งานวิจัย จาก เอก ทองประเสริฐ, จิราพรรณ วงศ์ทองสงวน, ธนัช จิววารศิริกุล , ญาฐณา ภควัตธนโกศล, ราชา ธงภักดิ์ และ ภณสุทธิ์ สุทธิประการ ส่วนหนึ่งจากนิทรรศการผลงาน “Mom & Me “ นวัตกรรมการออกแบบหมุนเวียน “ขยะแฟชั่น” ให้มีอายุยืนยาว ด้วยการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ผ่านสิ่งของเครื่องใช้ โดยเจ้าของผลงาน จิราพรรณ วงศ์ทองสงวน ให้มุมมอง เล่าถึงการสร้างสรรค์ว่า “เรามีเสื้อผ้าที่ไม่ใช้ แต่ไม่ทิ้งมากมาย เช่นเดียวกับชุดของคุณแม่ที่ไม่ใช้

แต่เรามีความรู้สึกร่วมและรุนแรงต่อใจมากจึงลองหากระบวน การจัดการ เพื่อจับความรู้สึกนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความหมายสำคัญ และ นำความหมายนั้นกลับมาสร้างความสุข ความอิ่มเอมใจ นำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีความ

หมายสร้างคุณค่าการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการหมุนเวียนในอีกรูปแบบหนึ่ง ฯลฯ”

ISAN Story เล่าอีสานผ่านดินเผา” โดย ราชา ธงภักดิ์ นำแนวคิดท้องถิ่นนิยม แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลงาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ได้แรงบันดาลใจจากลายผ้าอีสาน รูปแบบ ลวดลายของสัตว์มงคลบนผืนผ้าแสดงออกผ่านเครื่องปั้นดินเผา โดยนำเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักเสียหายจากกระบวนการผลิตในชุมชน กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง เพื่อนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์

นำไปเผาที่อุณหภูมิต่ำเพื่อลดใช้พลังงานในการเผาไหม้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นแนวทางสร้างสรรค์งานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนผสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เป็นโอกาสสำคัญในการนำพาชุมชนไปสู่ยั่งยืน” ส่วนหนึ่งในผลงานบอกเล่าการสร้างสรรค์ การออกแบบ เรียนรู้ร่วมกัน.