ยังคงเป็นประดราม่าที่ชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ หลังจากเกิดกระแสแบนลาซาด้าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง เนื่องจากลาซาด้าได้มีแคมเปญลดราคาสินค้าพิเศษ แต่พบว่า เน็ตไอดอลชื่อดัง นารา-อนิวัติ ประทุมถิ่น หรือ นารา เครปกะเทย และ “หนูรัตน์” (นู๋รัตน์) ธิดาพร ชาวคูเวียง เป็นผู้แสดงโปรโมตแคมเปญดังกล่าว แต่ทั้งคลิปวิดีโอและภาพนิ่ง กลับมีเนื้อหาที่คล้ายพาดพิงล้อเลียนสถาบัน โดยภายหลัง ทางด้าน “ลาซาด้า” ออกเอกสารชี้แจง รับโพสต์คลิปไม่เหมาะสม ไม่รอบคอบ ไม่ตรวจสอบถี่ถ้วน ขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จากนี้จะปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ระบุว่า “วันนี้เห็นประเด็นโฆษณาที่ไม่เหมาะสมถึงขั้นทำร้ายจิตใจของคนไทยโดย Lazada แล้วทำให้ผมนึกถึงกฎหมาย Digital Services Act (DSA) ที่ทาง EU ได้เพิ่งผ่านขั้นตอนพิจารณาสำคัญ เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา”

กฎหมาย DSA มีเป้าหมายสำคัญที่จะให้ทาง platform ต่างๆ เช่น Facebook (และ Lazada) รับผิดชอบข้อความและโฆษณาที่ปรากฏในพื้นที่ของตน กฎหมายนี้เข้มงวดกว่าของสหรัฐ ที่มีจุดยืนกว้างๆ ว่า platform ไม่ต้องรับผิดชอบ content โดยหลักสำคัญคือภายใต้ DSA นั้น platform ต้องรับผิดชอบต่อข้อความที่เป็นข้อความเท็จ ขัดต่อกฎหมาย หรือผิดจริยธรรม

“ภายใต้ DSA นั้น platform ต่างๆ อาจถูกสั่งให้เปิดเผย algorithm ที่ใช้ในการคัดกรองและเผยแพร่ข้อมูลด้วย” ถึงเวลาที่สังคมเราควรต้องพิจารณากฎหมายลักษณะเดียวกัน ที่ผ่านมากฎหมายยังตามเทคโนโลยีไม่ทัน ซึ่งทาง EU วันนี้มองว่า สิทธิส่วนบุคคลและความเป็นประชาธิปไตยควรได้รับการปกป้องด้วยกฎหมาย สิทธิในการแสดงออก และหลักการ free speech ยังต้องมี

ซึ่ง EU มองว่า ‘free’ ต้องไม่ใช่เท็จ ต้องไม่มีการกีดกันอย่างไม่ยุติธรรม หรือไม่โปร่งใส และต้องไม่ใช่การแสดงออกที่ขัดต่อกฎหมาย หรือทำร้ายสิทธิของผู้อื่นและสังคมโดยรวม “ถึงเวลาของไทยต้องมีกฎหมายลักษณะนี้แล้วยังครับ!?”..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กรณ์ จาติกวณิช – Korn Chatikavanij