จากกรณี แท่งกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” หายไปจากโรงงานไฟฟ้าจังหวัดปราจีนบุรี จึงมีประกาศปิดโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรมย่านกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่เข้าตรวจพบซีเซียม-137 ในโรงหลอมเหล็กใหญ่ที่สุด ถึงแม้จะได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าไม่พบการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม แต่ประชาชนก็ยังไม่ไว้วางใจ

หากย้อนไปในปี ค.ศ. 1988 ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นที่ทางตอนใต้ของประเทศสเปน เมื่อบริษัท Acerinox ซึ่งดำเนินกิจการรีไซเคิลแปรรูปของเก่า ได้พลาดทำการหลอมซีเซียม-137 ที่มาจากเครื่องกำเนิดรังสีแกมมา ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี ในรูปของ “radioactive cloud เมฆกัมมันตรังสี” 

โดยในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1998 เกิดเหตุการณ์ที่สาร cesium-137 ได้หลุดปนเข้าไปอยู่ในโรงงานแปรรูปเศษเหล็ก ที่อยู่ในเมือง Los Barrios ทั้งที่โรงงานดังกล่าวมีเครื่องมือในการตรวจจับวัตถุที่อาจเป็นอันตราย แต่ก็ยังมีสารซีเซียม-137 ผ่านเข้าไปได้และถูกหลอมในเตาเผาหนึ่งของโรงงาน

และได้เกิด “เมฆกัมมันตรังสี radioactive cloud” ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศทันที ซึ่งไม่โดนตรวจจับได้จากเครื่องตรวจวัดที่ปล่องไฟของโรงงานนั้น แต่ประเทศอื่น ๆ อย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี กลับตรวจพบได้ โดยขี้เถ้าที่โรงงานนี้สร้างขึ้น ถูกพบว่ามีระดับของกัมมันตภาพรังสีสูงเพียงพอที่จะเป็นอันตรายได้ โดยมีระบบความเข้มข้นของรังสีสูงขึ้นจากปกติถึง 1 พันเท่า

อุบัตเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี มากถึง 40 ลูกบาศก์เมตร มีเถ้ากัมมันตรังสีเกิดขึ้นถึง 2 พันตัน และมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ปนเปื้อนอีก 150 ตัน โดยมูลค่าของกระบวนการในการทำความสะอาด รวมถึงความสูญเสียการผลิตของโรงงานไปสูงถึง 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ นอกจากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ยังเคยมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก ซีเซียม-137 อีกหลายเหตุการณ์ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น

  • เมื่อปี 1987 อุบัติเหตุที่ Goiania accident ประเทศบราซิล มีการทิ้งสารกัมมันตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนมาก
  • เมื่อปี 2005 อุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ซีเซียม-137 เป็นต้นกำเนิดหลักอย่างหนึ่งที่อยู่ในเขตหวงห้ามรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ซีเซียม-134 (caesium-134) ไอโอดีน-131 (iodine-131) สตรอนเชียม-90 (strontium-90) และซีเซียม-137 (caesium-137) แพร่ออกมาจากการระเบิดของเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับสูง
  • เมื่อปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้ไปแล้ว โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี ทำให้ซีเซียม-137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์ ถูกส่งไปหลอมรวมกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก
  • เมื่อเดือนเมษายนปี 2011 ก็มีการพบไอโซโทปรังสีเหล่านี้ในฝุ่นควัน (plume) ที่รั่วไหลออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า Fukushima ประเทศญี่ปุ่น

ขอบคุณข้อมูลและภาพ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ