ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ภัยไซเบอร์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ (เช่น เลขบัตรประชาชน รหัสผ่านต่าง ๆ เลขที่บัญชีธนาคาร รูปภาพส่วนตัว เป็นต้น) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.85 ระบุว่า กังวลมาก รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล ร้อยละ 17.10 ระบุว่า ไม่กังวลเลย และร้อยละ 11.53 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล

ด้านรูปแบบของภัยไซเบอร์ที่ประชาชนกังวล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.20 ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รองลงมา ร้อยละ 45.57 ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 45.11 ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website ร้อยละ 24.20 ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย ร้อยละ 17.48 ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 16.72 ระบุว่า ไม่กังวลใด ๆ เลย ร้อยละ 16.26 ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล และร้อยละ 14.66 ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล

สำหรับความเสียหายจากภัยไซเบอร์ที่ประชาชนเคยได้รับ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 80.76 ระบุว่า ไม่เคยได้รับความเสียหายใด ๆ เลย รองลงมา ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ถูกหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ร้อยละ 4.66 ระบุว่า ถูกแฮ็กข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 4.20 ระบุว่า ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญผ่าน Social Media, SMS, Website ร้อยละ 3.21 ระบุว่า ถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น รหัส ATM บัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ เลขบัตรประชาชน ร้อยละ 1.53 ระบุว่า คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือถูกโจมตีด้วยไวรัสหรือมัลแวร์ชนิดอื่น ๆ จนเกิดความเสียหาย ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ถูกสอดส่องพฤติกรรมการใช้ Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 0.31 ระบุว่า โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูล และร้อยละ 0.23 ระบุว่า โดนดักฟังข้อมูล

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.31 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 35.19 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.49 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 6.79 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ