เมื่อวันที่ 16 มี.ค. นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อร่วมโครงการสัมมนานักบริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 15 -17 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ พร้อมบรรยายพิเศษใน หัวข้อ การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2570 และมี นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเครือโภคภัณฑ์ จำกัด ให้เกียรติบรรยายพิเศษ หัวข้อ มุมมองต่อการศึกษาในมุมมองของภาคเอกชน ทั้งยังมี ผู้บริหารบริษัท โตโยต้าฯ จำกัด ผู้บริหารบริษัท ยามาฮ่าฯ จำกัด ผู้บริหารบริษัท ฮอนด้าฯ จำกัด ร่วมบรรยายพิเศษ หัวข้อ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งมีนักบริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

นายสุรศักดิ์ กล่าวบรรยายพิเศษ หัวข้อ แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ว่า การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายการศึกษากำหนดทิศทาง/แนวทางการดําเนินงานด้านการศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการดําเนินงาน ร่วมกันบูรณาการและสร้างภาคีเครือข่ายการบริหารจัดการศึกษา ตามนโยบายของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” ภายใต้แนวทางการทำงาน “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก ทั้งนี้ ศธ.ได้แบ่งโครงสร้างส่วนราชการออกเป็น 4 องค์กรหลัก เพื่อขับเคลื่อน ภารกิจที่สำคัญ ได้แก่ สำนักงานปลัด ศธ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมถึงองค์กรในกำกับ ทั้ง 4 องค์กรหลัก และหน่วยงานในกำกับ

“กิจกรรมสัมมนาแบบนี้ จะทำให้ผู้บริหารของ ศธ.ได้มีโอกาสในการพบปะ หารือ ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน เกี่ยวกับแนวทางการทำงาน การตัดสินใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา สร้างความไว้วางใจ เพื่อประสานความร่วมมือในการจัด การศึกษาให้มีคุณภาพ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อวางเป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา การศึกษาร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อคุณภาพการศึกษา คุณภาพของเด็กไทยในภาพรวมของประเทศต่อไป” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคต หลาย ๆ ประเทศจะเน้นที่รูปแบบการจัด การศึกษาเพื่อสร้างคนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ การแข่งขันเป็นผู้นําทางเศรษฐกิจโลก เน้นวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ใช้ทักษะกระบวนการคิด วุฒิทางอารมณ์ สังคม เพื่อความอยู่รอด ระบบการศึกษาตามอัธยาศัย จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ประกอบอาชีพที่มีอยู่อย่างหลากหลายดังนั้นขอฝากทุกท่านร่วมกันกำหนดทิศทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายเรียนดี มีความสุข เพราะการจัดการศึกษาจําเป็นต้องเริ่มจากความสุข ทั้ง ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อทุกคนมีความสุขจะทำให้การเรียนดีขึ้น การพัฒนา ศักยภาพด้านต่างๆดีขึ้น ส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนายิ่งขึ้น