@@@ ยอดผู้ติดเชื้อในรัฐวิคตอเรียยังคงพุ่งลิ่ว ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงตามที่นักระบาดวิยาคาดการณ์เอาไว้ หลังจากที่รัฐรายงานผู้ป่วย COVID รายใหม่ 1,965 รายและผู้เสียชีวิต 5 ราย ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564 เป็นผู้หญิงในวัย 90 ปีและชายในวัย 70 ปี ทั้งสองจาก Moreland ชายในวัย 60 ปี จาก Banyule ผู้ชายวัย 60 ปี จาก Hobsons Bay และชายวัย 50 ปี จาก Hume เสียชีวิต ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่ active อยู่ทั้งหมดในรัฐอยู่ที่ 17,199 ราย และยอดผู้เสียชีวิตจากการระบาดในปัจจุบันอยู่ที่ 80 ราย ขณะนี้มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 578 ราย โดยแบ่งเป็นห้องไอซียู 117 ราย และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 83 ราย

หน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐวิกตอเรียกำลังเปลี่ยนกฎเกี่ยวกับผู้ติดต่อที่ใกล้ชิดรอง secondary close contacts และจะปล่อยตัวคนหลายพันคนออกจากการกักกันเพื่อตอบสนองต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ผู้ติดต่อรองประมาณ 16,000 รายจะได้รับข้อความในสุดสัปดาห์นี้เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงและปล่อยพวกเขาออกจากการกักกัน Kate Matson รองเลขาธิการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐวิกตอเรีย กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนถึงสถานะที่เปลี่ยนแปลงของการระบาดใหญ่ในรัฐวิกตอเรีย “เราไม่ได้ไล่ตาม COVID Zero ในรัฐวิกตอเรียแล้ว และขณะนี้เรามีผู้ป่วย 17,000 รายในรัฐวิกตอเรีย ณ จุดนี้ ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขไม่ได้อยู่ที่นั่นในแง่ของการติดต่ออย่างใกล้ชิดรอง เมื่อคุณลองชั่งน้ำหนักกับผลกระทบในการดำเนินงาน” นาง Matson กล่าว รัฐวิคตอเรียกำลังจะไปถึงร้อยละ 70 ของประชากรที่ฉีดวัคซีนครบโดส ก่อนเป้าหมายสามวันก่อนวันที่ 23 ตุลาคม ในขณะที่รัฐบาลวิกตอเรียให้ความหวังว่า ข้อจำกัดที่สำคัญจะยังคงอยู่ ผู้อยู่อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินกับเสรีภาพมากขึ้น แต่ด้วยการฉีดวัคซีนสองครั้งที่ร้อยละ 80 จะอนุญาตให้มีเสรีภาพมากขึ้น รวมถึงการเข้าร่วมได้มากขึ้นในเหตุการณ์สำคัญ อย่างเช่น Melbourne Cup Day

ลูกเรือของสายการบิน Virgin Australia มีผลตรวจเป็นบวก โดยขณะนี้มี 6 เที่ยวบินระหว่างเมลเบิร์นและแอดิเลด ซิดนีย์ และนิวคาสเซิล เที่ยวบินดังกล่าวรวมถึง VA219 จากเมลเบิร์นไปยังแอดิเลดและ VA218 แอดิเลดไปยังเมลเบิร์นในวันที่ 4 ตุลาคม, VA827 เมลเบิร์นไปยังซิดนีย์และ VA808 ซิดนีย์ไปเมลเบิร์นในวันที่ 5 ตุลาคมและ VA1593 เมลเบิร์นไปยังนิวคาสเซิลและ VA1594 นิวคาสเซิลไปยังเมลเบิร์นในวันที่ 6 ตุลาคม ผู้โดยสารบนเที่ยวบินได้รับการติดต่อจากหน่วยงานด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องแล้ว

รัฐนิวเซาท์เวลส์ยอดผู้ติดเชื้อลดลงไปเรื่อยๆ แต่มียังมีข้อโต้แย้งในการที่รัฐบาลจะผ่อนคลายข้อจำกัดในการล็อกดาวน์สำหรับชาวนิวเซาท์เวลส์ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ รัฐนิวเซาท์เวลส์มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในพื้นที่ 580 รายและผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 11 ราย ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564 เป็นผู้หญิง 3 คน และผู้ชาย 8 คน อยู่ในวัย 50 ปี หนึ่งคน คนหนึ่งวัย 60 ปี 4 คนในวัย 70 ปี สองคนวัย 80 ปี และสามคนในวัย 90 ปี ดร. เคอร์รี แชนท์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐกล่าวว่า NSW Health กำลังดำเนินการตรวจสอบสายพันธุ์เดลต้าใหม่ที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่อง “เราตรวจพบจีโนม genome ของสายพันธุ์เดลต้าซึ่งแตกต่างจากที่เคยถ่ายทอดในชุมชนของเรา เราได้เชื่อมโยงกลับไปที่บุคคลที่กลับมาจากต่างประเทศแล้ว แต่กลไกที่แน่นอนของการพัฒนาของสายพันธุ์เดลต้าใหม่ที่เกิดขึ้นและเข้าสู่ชุมชนในซิดนีย์ตะวันตกยังอยู่ภายใต้การสอบสวน” อย่างไรก็ตาม ดร.ชานท์ เน้นว่าการวิจัยในช่วงต้นแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์เดลต้าใหม่ไม่ได้แสดงความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น “ดิฉันต้องการให้ความมั่นใจกับคุณว่าไม่มีอะไรเกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้านี้จากการดูจีโนมที่แนะนำว่าสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่านี้ จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยหรือปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมจากสายพันธุ์เดลต้าในปัจจุบัน” ดร.ชานท์ กล่าวกับนักข่าวว่า นักเดินทางที่กลับมาซึ่งเชื่อมโยงกับสายพันธุ์เดลต้าใหม่ กลับมายังออสเตรเลียเมื่อเดือนที่แล้ว

ด้านมุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์คนใหม่ นายโดมินิก เพอร์รอตเตต์ ยืนยันว่าเขาไม่ได้เพิกเฉยต่อคำแนะนำด้านสุขภาพของหน่วยงานด้านสาธารณสุขในแผนการผ่อนคลายข้อจำกัดของรัฐบาล มุขมนตรีคนใหม่เมื่อต้นสัปดาห์นี้ได้ปรับเปลี่ยนแผนการผ่อนปรนตามแผนซึ่งกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลของนาง Gladys Berejiklian อดีตมุขมนตรีรัฐ “มีคำแนะนำและความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่เสมอ…นี่คือความสมดุลและนั่นคือแนวทางที่รัฐบาลนิวเซาธ์เวลส์ประสบความสำเร็จในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา รัฐจะเปิดด้วยวิธีการที่ปลอดภัย ในวันจันทร์นี้ ท่ามกลางความกังวลว่ารัฐกำลังผ่อนคลายข้อจำกัดเร็วเกินไป ” นายเพอร์รอตเตต์ กล่าว “เราทราบดีว่าเมื่อเราเปิด จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยของผู้คนคืออัตราการฉีดวัคซีนที่สูงของเรา การฉีดวัคซีนเป็นกุญแจสู่อิสรภาพของเรา เรามีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุดในประเทศ และที่สำคัญเรากำลังเข้าใกล้เป้าหมาย ประชากรที่ได้รับเข็มแรกนั้นถึงร้อยละ 90 เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่เคียงข้างไวรัส แผนงานของเราเป็นแบบอนุรักษ์นิยมมากกว่าแผนงานของรัฐบาลกลาง federal road map ที่กำหนดโดยรัฐบาลออสเตรเลีย เราเชื่อว่าแนวทางอนุรักษ์นิยมของเราในที่นี้ช่วยให้แน่ใจว่าเรารักษาผู้คนให้ปลอดภัย แต่ที่สำคัญคือ ให้คนกลับมาทำงานได้โดยเร็วที่สุด วิกฤตครั้งนี้มีหลายแง่มุม ตั้งแต่ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ ไปจนถึงสุขภาพจิต” เขากล่าว

ยอดผู้ติดเชื้อในรัฐวิคตอเรียยังคงพุ่งลิ่ว ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงตามที่นักระบาดวิยาคาดการณ์เอาไว้ หลังจากที่รัฐรายงานผู้ป่วย COVID รายใหม่ 1,965 ราย รัฐบาลวิกตอเรียให้ความหวังว่า ยอดการฉีดวัคซีนหากตรงตามเป้าหมายจะอนุญาตให้มีเสรีภาพมากขึ้นเร็วขึ้น

@@@ รัฐบาล NSW ประกาศผ่อนคลายมาตรการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้ การรวมตัวที่บ้านและพื้นที่สาธารณะภายนอก อนุญาตให้มีแขกมาเยี่ยมที่บ้านได้ไม่เกิน 10 คน (ไม่รวมเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี) อนุญาตให้รวมตัวนอกบ้านได้ไม่เกิน 30 คน (ในกรณีที่มีผู้ฉีดวัคซีนไม่ครบสองโดส อนุญาตให้รวมกลุ่มได้ 2 คน) ร้านอาหารและสถานที่ให้บริการ สามารถเปิดให้บริการได้โดยจำกัดลูกค้าไม่เกิน 20 คน ต่อ 1 การจอง และใช้กฎ 1 คน ต่อ 4 ตร.ม. ภายในอาคาร และ 1 คน ต่อ 2 ตร.ม. ในพื้นที่ด้านนอก (สำหรับผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดสได้เฉพาะ takeaway เท่านั้น) ห้ามร้องเพลงและเต้นรำภายในอาคาร ยกเว้นการเต้นรำภายในงานแต่งงาน ยิม สถานที่ออกกำลังกายในร่ม ศูนย์กีฬา และสระว่ายน้ำในร่ม เปิดให้บริการได้โดยจำกัดผู้เข้าคลาสฟิตเนสไม่เกิน 20 คน ร้านบริการเสริมสวยเปิดให้บริการได้ โดยจำกัดไม่ให้มีลูกค้าเกินกว่า 5 คนในร้าน การสวมหน้ากาก และ QR code บังคับสวมใส่หน้ากากพื้นที่ปิดทุกประเภท รวมทั้งขนส่งมวลชนสาธารณะ เครื่องบิน และสนามบิน (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี) ไม่จำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากในที่โล่ง ยกเว้นพนักงานที่ต้องให้บริการลูกค้า พนักงานและลูกค้าต้องเช็คอินโดยใช้ QR code และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบโดส

การท่องเที่ยวและการเดินทาง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ Regional LGAs สามารถเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง Regional LGAs ได้ แต่ไม่สามารถเข้ามาในเขต Greater Sydney ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขต Greater Sydney สามารถเดินทางท่องเที่ยวในเขต Greater Sydney รวมถึง Central Coast Wollongong Shellharbour และ Blue Mountains ได้ แต่ไม่อนุญาตให้เดินทางไปท่องเที่ยวในเขต Regional NSW พื้นที่แคมปิ้งและคาราวานสามารถเปิดให้บริการได้ (รวมถึงผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส) อนุญาตให้นั่งรถ (carpooling) ด้วยกันได้ แต่หากมี ผดส. ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส อนุญาตให้ carpooling กับผู้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันเท่านั้น

งานแต่งงาน และการจัดพิธีทางศาสนา พิธีแต่งงานทางศาสนาจำกัดจำนวนแขกไม่เกิน 100 คน (จำกัดไม่เกิน 5 คน สำหรับผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส) งานเลี้ยงฉลองแต่งงานจำกัดจำนวนแขกไม่เกิน 100 คน (ไม่อนุญาตสำหรับผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส) โดยต้องนั่งกินและดื่มเท่านั้น และอนุญาตให้มีการเต้นรำได้ งานศพจำกัดจำนวนแขกไม่เกิน 100 คน (จำกัดไม่เกิน 10 คน สำหรับผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส) โดยต้องนั่งกินและดื่มเท่านั้น ศาสนสถานสามารถมีผู้ไปประกอบพิธีกรรมได้ และห้ามร้องเพลง สนามกีฬา โรงละคร และสถานที่สันทนาการกลางแจ้ง สถานที่สันทนาการกลางแจ้ง รวมถึงสเตเดียม สนามแข่งม้า และสวนสนุก เปิดให้บริการได้ โดยจำกัดผู้เข้าใช้สถานที่ไม่เกิน 5,000 คน การจัดงานกลางแจ้งแบบมีที่นั่งและขายบัตร จำกัดผู้เข้าร่วมได้ไม่เกิน 500 คน สถานบันเทิงในร่มและสถานที่ให้ความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ แกลอรี่ ห้องสมุด โรงหนัง โรงภาพยนตร์ สามารถเปิดให้บริการได้ โดยใช้กฎ 1 คน ต่อ 4 ตร.ม. หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด

ไนท์คลับ และศูนย์กิจกรรมเพื่อความบันเทิง (Amusement centre) เช่น game centre ยังไม่อนุญาตให้เปิดบริการ การทำงานที่บ้าน นายจ้างอนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านต่อได้ หากสามารถทำได้ (ถ้าพนักงานยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส นายจ้างต้องให้ทำงานที่บ้าน หากสามารถทำได้) * ทุกสถานที่ที่อนุญาตให้เปิดบริการ ต้องใช้กฎ 1 คน ต่อ 4 ตร.ม. ภายในอาคาร และ 1 คน ต่อ 2 ตร.ม. ในพื้นที่ด้านนอก สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี และยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส อนุญาตให้ไปสถานที่ทำงานและสถานที่กลางแจ้งได้ด้วยตนเอง แต่หากไปสถานที่ให้บริการต่าง ๆ (ยกเว้นไปรับของ takeaway) สถานบันเทิง และศาสนสถานต้องไปกับสมาชิกในบ้านที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ท่านสามารถดูข้อมูลของทางการ NSW ได้ที่ http://www.nsw.gov.au/…/easing-covid-19…/70-percent มาตรการอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอโปรดติดตามจาก www.nsw.gov.au

@@@ ข่าวสารวัดไทยในออสเตรเลีย วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมดีๆ ที่ทางวัดศรีรัตนวนาราม (วัดบนเขา) ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย นำโดยท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์ไพฑูรย์ ชุติกาโม ได้ริเริ่มโครงการฝึกปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับบุคคลทั่วไปในช่วงวันหยุดยาว ในปีนี้แม้จะประสบปัญหาล็อคดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิท-19 ทางวัดได้อาศัยโอกาสในช่วงที่รัฐผ่อนคลายกฏข้อห้ามต่าง ๆ จัดกิจกรรมนี้มาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นในช่วงวันแรงงานแห่งชาติ (1-4 ตุลาคม) ที่เพิ่งผ่านพ้นไป โครงการได้รับเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดีจากคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่สนใจในเรื่องการนั่งสมาธิและวิปัสสนา สอดคล้องกับความประสงค์ของท่านเจ้าอาวาส ในการเปิดโอกาสให้ผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ รักในการพัฒนาจิต ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ ตามแนวทางของวัดป่า โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เพศ หรืออายุของผู้ปฏิบัติ

วัดศรีรัตนวนารามแห่งนี้เป็นวัดสาขาในสายหลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ แห่งวัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด พระเถระที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างสูง ผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดพร้อมใจกันรักษาศีล 8 มีการฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ตามแนวทางที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาวางไว้ อีกทั้งมีการฟังเทศน์ภาษาไทยสลับกับภาษาอังกฤษ จนครบ 3 วัน 3 คืน พระอาจารย์ไพฑูรย์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นวัตถุประสงค์ของหลวงปู่ทองอินทร์ ที่ต้องการให้วัดที่มีสถานที่ปฏิบัติธรรม เพราะท่านเป็นห่วงลูกหลาน การเรียนจากตำราอย่างเดียวมันไม่เห็นผล สู้เรามาทำความสงบให้เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละหัวใจของศาสนา” อย่างไรก็ตามโครงการอบรมสมาธินี้จะไม่สำเร็จลุล่วงด้วยดี หากไม่ได้พระวิชชากโร (พระคริส) พระนวกะชาวออสเตรเลีย ที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ ลดปัญหาและอุปสรรคความไม่เข้าใจกันเรื่องภาษาและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้วัดเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง อีกทั้งมีลูกศิษย์ลูกหาชาวต่างชาติมาที่วัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางวัดจึงวางแผนจัดปฏิบัติธรรมในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง หากผู้อ่านท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการในครั้งต่อไป สามารถสอบถามได้ที่อีเมลล์ [email protected]

ข่าวต่อมายังคงอยู่ที่วัดศรีรัตนวนาราม กับอีกหนึ่งกิจกรรมดีงาม สร้างกุศลบำเพ็ญประโยชน์ที่เพ่งผ่านไปสด ๆ ร้อน ๆ น้อง ๆ เยาวชน ลูกหลาน และนักกีฬาทีมฟุตบอลช้างศึกหนึ่งในโครงการของสมาคมคนไทยแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และจิตอาสาในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย มาร่วมกันทำความสะอาดและพัฒนาวัดในวันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2564 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต น้อง ๆ ซึ่งอยู่ในช่วงพักฤดูการแข่งขันพร้อมใจกันมาที่วัดในช่วงเช้าเพื่อไว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมและถวายภัตราหารแด่พระภิกษุตามปกติ ในช่วงบ่ายได้ช่วยกันพัฒนาวัด โดยการตัดหญ้า กำจัดวัชพืช ทำความสะอาดภายในและภายนอกศาลา ที่จะใช้เป็นสถานที่จัดงานผ้าป่าหลังออกพรรษา ช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้

วัดศรีรัตนวนาราม (วัดบนเขา) ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย นำโดย พระอาจารย์ไพฑูรย์ ชุติกาโม เจ้าอาวาส ได้ริเริ่มโครงการฝึกปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับบุคคลทั่วไปในช่วงวันหยุดยาว ในปีนี้

@@@ กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์คนใหม่ นางหัทยา คูสกุล จะเดินทางมารับหน้าที่ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 นี้อย่างแน่นอน มาทำความรู้จักกับกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ คนใหม่กันหน่อย ประวัติการศึกษา จบการศึกษาจากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขา International Policy Studies จาก Monterey Institute of International Studies แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ประวัติการทำงาน เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศในปี 2537 ที่กรมสารนิเทศ จากนั้นย้ายไปปฏิบัติราชการที่กรมเอเชียตะวันออก ก่อนออกประจำการในตำแหน่งเลขานุการเอกที่สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ กลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงฯ ที่สำนักบริหารการคลังและสำนักนโยบายและแผน ก่อนออกประจำการในตำแหน่งรองกงสุลใหญ่ ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว กลับมาดำรงตำแหน่งเลขานุการกรมอาเซียน ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงก่อนได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์

ด้านครอบครัว สมรสกับนายวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตประจำราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน สปป. ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน มีบุตรธิดา 2 คน บุตรสาวรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ และบุตรชายศึกษาอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์คนใหม่ นางหัทยา คูสกุล จะเดินทางมารับหน้าที่ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 เคย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงก่อนได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์

@@@ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้พบและหารือกับนางสาว Simone Spencer, Deputy Director General, Strategy and International Engagement, Department of Jobs, Tourism, Science and Innovation (JSTI) นาย Kristian Dawson, Executive Director, Invest and Trade Western Australia (ITWA) และนางสาว Krista Dunstan, Investment and Trade Commissioner for ASEAN ซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีผู้แทนหน่วยงานทีมประเทศไทยในออสเตรเลีย ได้แก่ นางสาวภมรพรรณ วงศ์เงิน อัครราชทูตที่ปรึกษา สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา นางสาวศิถี ตันบุนเต็ก ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครซิดนีย์ นางสาวกนกทิพย์ วัชรเลขะกุล ที่ปรึกษา สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงแคนเบอร์รา นายพชระ สินธุรักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ และนายรูเบน คูเปอร์แมน กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเพิร์ท เข้าร่วมหารือด้วยทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยเฉพาะการส่งเสรริมความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุนและการศึกษา โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสและการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าและการลงทุนของไทยกับรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยเห็นพ้องกันว่า ไทยและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียสามารถส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาพลังงาน การเกษตร การศึกษาและเทคโนโลยีการแพทย์ และหารือถึงลู่ทางการเปิดเส้นทางการบินโดยตรงระหว่างไทยกับรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียซึ่งน่าจะได้รับการพิจารณาต่อไปในบริบทของการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศ ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 8 ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยในปี 2563 มีมูลค่าการค้ารวม 4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของมูลค่าการรวมของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและร้อยละ 25 ของมูลค่าการค้าไทย-ออสเตรเลียในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ มีชุมชนคนไทย นักธุรกิจไทยและนักศึกษาไทยพำนักอาศัยในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียจำนวนประมาณ 7,800 คน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญอีกประการหนึ่งในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนกับประชาชนระหว่างทั้งสองฝ่าย

นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา และผู้แทนสำนักงานทีมประเทศไทยที่เกี่ยวข้องพบหารือกับหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

@@@ แสนเสียดายคนขยันมีฝีมือ ขอ Early retire ไปแล้ว น้องอ้อ วัสวดี สรรประดิษฐ์ ช่วยเผยแพร่เมืองไทยในแง่มุมที่ดีให้ต่างชาติมาถึง 22 ปีที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานซิดนีย์ เริ่มต้นตั้งแต่ทำงานตำแหน่งเลขานุการผู้อำนวยการสำนักงาน ในปี 2542 กับเจ้านายคนนแรกและเป็นผู้รับเข้าทำงานคือ ผอ. พรศิริ มโนหาญ ซึ่งภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ต่อมาลุยงานทุกที่กับ ผอ. น้ำฝน บุณยะวัฒน์ ผอ. จอมลุยคนซื่อสัตย์ วัสวดีได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาด ในสมัย ผอ. เล็ก รุจิรัศมิ์ ฉัตรเฉลิมกิจ และปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการทำงาน วัสวดีลาออกจาก ททท. เพื่อไปดูแลคุณแม่ซึ่งอยู่ในวัยชรา ซึ่งเจ้าตัวบอก ถ้าไม่ใช้เวลาดูแลคุณแม่ในช่วงนี้จะรู้สึกแย่เอามากๆ และจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ Central Coast รัฐควีนส์แลนด์ ซึงคุณแม่ย้ายไปอยู่กับน้องชายก่อนหน้านี้แล้ว Farewell party ไม่มี ด้วยสถานการณ์โควิด ฉลองกันสองคนตายายที่บ้านจุดเทียนดินเนอร์กันสองคน ส่วนสามีจะย้ายติดตามภรรยาไปหลังรีไทร์เพราะยังสนุกกับงานประจำอยู่

22 ปี กับการทำงานที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานซิดนีย์ ตั้งแต่ปี 2542 วัสวดี สรรประดิษฐ์ ขอ Early retire ไปแล้ว และจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ Central Coast รัฐควีนส์แลนด์ เพื่อไปดูแลคุณแม่ซึ่งอยู่ในวัยชรา

@@@ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์รา ได้เข้าร่วมการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร ไทย – ออสเตรเลีย ครั้งที่ 17 ภายใต้พันธกรณีความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย (The 17th Meeting of Expert Group on Sanitary and Phytosanitary Measures and Food Standards (SPS Expert Group) under Thailand – Australia Free Trade Agreement (TAFTA)) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประชุมหารือร่วมกับ Mr. Chris Tinning, First Assistant Secretary, หน่วยงาน Trade, Market Access and International Division กระทรวงเกษตร น้ำ และสิ่งแวดล้อม เครือรัฐออสเตรเลีย หัวหน้าคณะผู้แทนออสเตรเลีย เพื่อหารือในประเด็นต่างๆ อาทิ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยไทยเจรจาขอเปิดตลาดเป็ดปรุงสุก ในขณะเดียวกันออสเตรเลียก็เจรจาขอเปิดตลาดอะโวกาโดพันธ์ Hass จากรัฐ Western Australia นอกจากนี้ยังได้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น การแลกเปลี่ยนใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto Certificate) การขอจัดทำความเท่าเทียมห้องปฏิบัติการตรวจสอบโรคกุ้ง รวมทั้งหารือโครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความปลอดภัยการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย เช่น โครงการพัฒนาสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินความเสี่ยงสารชีวพิษในหอยสองฝาตามข้อกำหนดของออสเตรเลีย ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนบเอร์รา Office of Agricultural Affairs – Royal Thai Embassy – Canberra และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหาร ไทย – ออสเตรเลีย ครั้งที่ 17 ภายใต้พันธกรณีความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย (The 17th Meeting of SPS Expert Group under TAFTA Agreement)

@@@ ข่าวสุดท้ายสัปดาห์นี้สำหรับมิตรรักแฟนเพลงทั่วประเทศของนักร้องเสียงน้ำมนต์ในขันทองและอดีตผู้ช่วยทูตทหารอากาศ แคนเบอร์รา เวลลิงตัน ขอแสดงความยินดีกับ นายพลด๋อนของพวกเราได้เลื่อนยศเป็น พลอากาศโท อดิศร อุณหเลขกะ ตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร กองบัญชาการกองไทย มาหมาดๆ เจ้าตัวบอกว่า แม้เวลาผ่านไปก็ยังคิดถึงพี่ๆ ที่ออสเตรเลียเสมอ กลับไปเยี่ยมเมื่อไหร่จะตระเวนกินเป็นบ้านๆ ส่วน หนูจ๋า ภรรยานายหลรูปหล่อเสียงหวาน ปัจจุบันเป็น นาวาอากาศตรีหญิง อรริญ อุณหเลขกะ อยู่ที่กองทัพอากาศ ก็ยังคิดถึงพี่ๆ ที่ออสเตรเลียเช่นกัน ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนทายาทนั้น พี่น้องที่ออสเตรเลียไม่ต้องเป็นห่วง เลิกคิดไปนานแล้วควงแขนกันไปทำบุญอย่างเดียว

ขอแสดงความยินดีกับอดีตผู้ช่วยทูตทหารอากาศ แคนเบอร์รา เวลลิงตัน ได้เลื่อนยศเป็น พลอากาศโท อดิศร อุณหเลขกะ ตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร กองบัญชาการกองไทย และนาวาอากาศตรีหญิง อรริญ อุณหเลขกะ ที่กำลังเร่งปั่นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ม. รังสิต

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]