มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม และพฤติกรรมของสัตว์สังคมที่เลี่ยงไม่ได้คือ “การพูด” ในชีวิตประจำวันของคนเราจะมีสิ่งนี้เกี่ยวข้องเสมอไม่ว่าจะทำสิ่งไหนก็ตามหรือจะพูดภาษาไหนก็ตาม มนุษย์ทุกคนที่ไม่เป็นใบ้ก็สามารถพูดได้ทั้งนั้น
 
และรู้กันหรือไม่ว่าวันที่ 27 มิถุนายน ในทุกๆปีเป็น “วันแห่งการพูด”  (演説の日, Enzetsu no Hi) วันนี้ในปี 1874 การประชุมการพูดได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ณ พิพิธภัณฑ์ แห่ง Keio University
 
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพูดกันก่อน การพูดจะมี 2 แบบด้วยกัน 
แบบที่1 จะมีวิธีการพูด 4 ประเภท คือ 

  1. การพูดโดยฉับพลันหรือกระทันหัน เป็นการพูดที่ผู้พูดจะไม่รู้ตัวมาก่อนไม่ต้องเตรียมคำพูดมาล่วงหน้าทั้งด้านเนื้อเรื่องจะพูดหรือการถูกให้มอบหมายให้พูด เช่น การกล่าวอวยพรวันเกิด
  2. การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า  วิธีการพูดแบบนี้นั้นจะต่างกับข้อที่1 ซึ่งผู้พูดจะเตรียมตัวมาก่อนว่าจะกล่าวถึงเรื่องอะไร รู้ว่าตนเองได้รับเชิญไปพูดที่ไหนต้องกล่าวว่าอะไรบ้าง
    3.การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ จะเป็นการพูดที่พูดตามต้นฉบับที่ได้เขียนไว้เป้นการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี ส่วนใหญ่จะถูกพูดในทางพิธีการต่างๆ อาทิ การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวเปิดต้อนรับพิธีสำคัญ
    4.การพูดโดยวิธีท่องจำ การพูดในลักษณะนี้จะคล้ายๆกับการพูดจากต้นฉบับแต่จะละเอียดและต้องรอบครอบมากกว่าเพราะต้องจำอย่างแม่นยำ เช่น เทศน์ของพระสงฆ์
     
    แบบที่2 จะมีวิธีการพูด 2 ประเภท
    1.การพูดรายบุคคล จะเป็นการพูดแบบตัวต่อตัว เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ เป็นต้น
    2.การพูดในที่ชุมนุมชน คือเป็นการพูดต่อหน้าผู้รับฟังจำนวนมาก และเป็นการพูดที่ต้องมีการเตรียมตัวแบบแผนที่ดี ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เช่น การบรรยาย การอภิปราย เป็นต้น 
     
    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการพูดมีความหลากหลายแต่อย่างไรก็ตามการที่เราพูดอะไรออกไปควรต้องคิดไตร่ตรองให้ดีว่าสิ่งที่เราได้กล่าวออกไปนั้นเป็นสิ่งดีหรือไม่ถ้าหากพูดแล้วจะเกิดความผิดใจกันหรือไม่ก็ควรคิดก่อนพูดก่อนที่จะพูดก่อนคิด
     
    ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.marumura.com/japan-special-days-june/ 
    https://sites.google.com/site/phasathiypheuxkarsuxsar83/bth-thi-2-radab-phasa-laea-kar-chi-phasa-thi-thuk-txng/prapheth-kar-phud