แรงดึงดูดทางเพศกับการเร้าอารมณ์ทางเพศ มีหลายคนมักจะเข้าใจผิดในความแตกต่างระหว่างแรงขับทางเพศ แรงดึงดูดทางเพศ และการเร้าอารมณ์ทางเพศ จากบทความของมิเชล ฮีการ์ด (Michelle Heegaard) ในเรื่องเพศและความสัมพันธ์ เผยแพร่เมื่อ 21 พฤษภาคม 2021 จะอธิบายความแตกต่างและพูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุที่ความแตกต่างนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะในคดีของการข่มขืนว่า ผู้หญิงถูกข่มขืนจะมีสารหล่อลื่นบริเวณอวัยวะหรือองคชาตของผู้ชายแข็งตัวระหว่างการถูกข่มขืน เหยื่อทั้งชายและหญิงสามารถสัมผัสถึงจุดสุดยอดขณะถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ ซึ่งอาจเป็นหัวข้อที่เข้าใจยากที่ผู้ข่มขืนพยายามอ้างว่าเป็นหลักฐานการสมยอม

แรงขับทางเพศ คนทั่วไปมักพูดถึงการมีแรงขับทางเพศ และทำให้ทุกคนต้องมีความต้องการทางเพศ และถ้าไม่มีความต้องการทางเพศเป็นเรื่องผิดปกติของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่จึงมักให้นิยามของแรงขับทางเพศหมายถึงบางสิ่งบางอย่างในแนวของ “ความปรารถนาอย่างลึกซึ้งหรือความจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์” บางครั้งสิ่งนี้สามารถมุ่งไปที่บุคคลอื่นหรือกลุ่มคนที่บุคคลนั้นสนใจทางเพศ บางครั้งความต้องการนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีเป้าหมายดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การเรียก “แรงขับทางเพศ” ว่าเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการมีเพศสัมพันธ์เป็น “แรงผลักดัน” เป็นสิ่งที่เข้าใจผิด เมื่อท่านได้ยินคำว่า “ขับรถ” ท่านควรคิดว่า การขับรถ เพื่อให้เราเอาตัวรอดมีชีวิตได้ และการเรียกความปรารถนานี้ว่า “แรงขับทางเพศ” เป็นการบ่งชี้ถึงความต้องการทางเพศอย่างลึกซึ้งและโดยธรรมชาติหากต้องการจะอยู่รอด ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่มีใครเคยตายเพราะขาดเซ็กซ์ แบบที่คนจะตายเพราะขาดอาหารหรือน้ำ การสัมผัสทางกายของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับสุขภาพจิตและร่างกายที่ดี-การมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่

เมื่อเทียบความต้องการทางเพศกับแรงขับดันอื่น ๆ ของมนุษย์ เช่น แรงผลักดันด้านอาหารอาจส่งผลให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศเป็นแนวคิดที่เข้าใจผิด ทำนองเดียวกันว่า “เด็กผู้ชายจะเป็นเด็กผู้ชาย” จะอาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศของมนุษย์โดยทั่วไปและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีความต้องการทางเพศต่ำหรือไม่มีความต้องการทางเพศ ในทำนองเดียงกันการอ้างว่าต้องมีเพศสัมพันธ์ในทางที่ไม่เหมาะสม เพราะมีแรงขับทางเพศ จึงเป็นเพียงข้ออ้างของผู้กระทำผิดทางเพศ

————————-
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล